Pseudobulbar Affect จากหนัง Joker กับอาการหัวเราะ-ร้องไห้โดยควบคุมไม่ได้

Pseudobulbar Affect จากหนัง Joker กับอาการหัวเราะ-ร้องไห้โดยควบคุมไม่ได้

Pseudobulbar Affect จากหนัง Joker กับอาการหัวเราะ-ร้องไห้โดยควบคุมไม่ได้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ภาพยนตร์ซูเปอร์ฮีโร่เรื่อง Batman มีตัวละครฝั่งตัวร้ายอยู่ตัวหนึ่งที่ได้รับการพูดถึงเป็นอย่างมากว่าเป็นวายร้ายที๋โรคจิตสุด ๆ และได้รับความนิยมมากจนมีภาคแยกเป็นของตัวเอง และมีนักแสดงฮอลลีวูดหลายคนสลับสับเปลี่ยนมาเล่นบทนี้กันมากมายหลายเวอร์ชั่น ล่าสุดกับเวอร์ชั่นของ วาคิน ฟินิกซ์ ที่ได้รับการขนานนามว่าเป็นโจ๊กเกอร์ที่สวมบทบาทได้ดีจนน่าขนลุก

>> [รีวิว] JOKER หนังคุณภาพระดับออสการ์ ที่มาร์เวลไม่มีวันทำได้

>> อาถรรพ์ Joker ตัวละครอันน่าหลงใหล ที่จะเปลี่ยนชีวิตนักแสดงไปตลอดกาล

>> 15 เหตุผลสุดประหลาดที่ยืนยันว่า "โจ๊กเกอร์" คือวายร้ายอันดับ 1 ตลอดกาลจากโลกคอมิกส์

ล่าสุด จ่าพิชิต จากเพจ Drama-Addict ออกโรงเตือนว่า ผู้ที่มีอาการเป็นโรคซึมเศร้า หรืออยู่ในระหว่างการรักษาโรคซึมเศร้าไม่ควรไปดูภาพยนตร์เรื่องนี้ เพราะอาจทำให้จิตตก และอาจทำให้มีอาการหนักกว่าเดิม ด้วยบทที่ค่อนข้างหดหู่ เศร้าหมอง และยังพูดถึงอาการทางจิตที่ตัวละครโจ๊กเกอร์เป็นอยู่ นั่นคือ Pseudobulbar Affect 


Pseudobulbar Affect คืออะไร ?

Pseudobulbar Affect (ซูโดบัลบาร์พัลซี) คืออาการทางจิตที่ผู้ป่วยมีอาจมีอาการร้องไห้ หรือหัวเราะออกมาโดยไม่สามารถควบคุมอาการเหล่านี้ได้ โดยอาจเป็นการแสดงอารมณ์ออกมาในสถานการณ์ที่ไม่เหมาะสมโดยที่ผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมการแสดงอารมณ์ของตัวเองได้ เช่น หัวเราะให้กับเรื่องเศร้า ร้องไห้ให้กับเรื่องตลก หัวเราะ หรือร้องไห้ตลอดเวลาโดยที่ไม่มีเรื่องน่าขำ หรือเรื่องน่าเศร้าโดยที่ภายในใจอาจตรงข้ามกับการกระทำที่แสดงออกไป จึงทำให้ดูเหมือนเป็นคนแปลกแยกในสังคม และอาจทำให้หลายคนเข้าใจผิดได้ รวมถึงการแสดงอารมณ์ที่มากเกินกว่าที่คนปกติทั่วไปทำกัน และการเปลี่ยนอารมณ์จากร้องไห้ไปหัวเราะ หรือหัวเราะอยู่ดี ๆ ก็ร้องไห้ได้เช่นกัน

นอกเหนือจากนี้ยังอาจพบอาการอื่น ๆ ได้แก่ กล้ามเนื้อบนใบหน้าอ่อนแรงจนไม่สามารถควบคุมการทำงานของอวัยวะบนใบหน้าได้ เช่ มีอาการน้ำลายไหล แลบลิ้นไม่ได้ สำลักอาหาร เป็นต้น


สาเหตุของอาการ
Pseudobulbar Affect 

สาเหตุของอาการ Pseudobulbar Affect อาจเกิดขึ้นจากการถูกกระทบกระเทือนทางสมองจากอุบัติเหตุ และความผิดปกติของประสาทในสมองที่อาจเป็นผลข้างเคียงจากโรคทางสมองต่าง ๆ เช่น เส้นเลือดในสมองตีบ หรือแตก เนื้องอก ติดเชื้อในสมอง โรคที่เกี่ยวกับปลอกประสาท และอื่น ๆ


ความแตกต่างระหว่าง
Pseudobulbar Affect กับ Depression

เพราะอาการ Pseudobulbar Affect มีอาการร้องไห้โดยควบคุมไม่ได้รวมอยู่ด้วย จึงอาจถูกเข้าใจผิดว่าเป็นอาการของโรคซึมเศร้า แต่อันที่จริงแล้วอาการ Pseudobulbar Affect จะเกิดขึ้นในระยะสั้น ๆ เป็นช่วง ๆ ไม่เหมือนโรคซึมเศร้าที่จะกินเวลาอาการเศร้ายาวนานมากกว่า รวมถึงอาการของ Pseudobulbar Affect จะไม่กระทบกระเทือนต่อสติปัญญา ในขณะที่ผู้ป่วยซึมเศร้าการมีมุมมองต่อโลกที่ผิดเพี้ยนไป และหากเกิดอาการของโรคเป็นเวลานาน อาจส่งผลต่อสติปัญญาได้ แต่ผู้ที่มีอาการ Pseudobulbar Affect อาจมีอาการของโรคซึมเศร้า รวมถึงอาการที่ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเป็น เช่น นอนไม่หลับ ไม่อยากอาหาร รวมอยู่ด้วยได้


การรักษาอาการ Pseudobulbar Affect 

ปัจจุบันอาการ Pseudobulbar Affect รักษาได้ด้วยการใช้ยา รวมถึงการควบคุมโรคที่ก่อให้เกิดการแข็งตัวของผนังหลอดเลือดให้ดี เช่น อาการของโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง และระมัดระวังไม่ให้เกิดอุบัติเหตุที่ส่งผลกระทบกระเทือนถึงสมอง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook