5 สาเหตุของอาการ “ปวดข้อเท้า” ที่คุณอาจไม่รู้

5 สาเหตุของอาการ “ปวดข้อเท้า” ที่คุณอาจไม่รู้

5 สาเหตุของอาการ “ปวดข้อเท้า” ที่คุณอาจไม่รู้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เคยไหมที่อยู่ๆ ก็มีอาการปวดข้อเท้า ทั้งๆ ที่ไม่ได้เดินเยอะ ไม่ได้วิ่ง หรือแม้กระทั่งไม่ได้ออกกำลังกาย หรือทำกิจกรรมหนักๆ ใดๆ เลย หากเคย คุณอาจกำลังมีปัญหาปวดข้อเท้าจากสาเหตุอื่นที่คุณอาจไม่เคยทราบมาก่อน

5 สาเหตุของอาการปวดข้อเท้าที่คุณอาจไม่รู้

  1. น้ำหนักเกิน

หากคุณเป็นโรคอ้วน มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน น้ำหนักตัวของคุณอาจเป็นการเพิ่มภาระให้กับข้อเท้าที่ต้องแบกรับน้ำหนักเอาไว้ตลอดทั้งวันโดยไม่รู้ตัว ดังนั้นควรควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม เพื่อไม่ให้ข้อเท้าต้องรับน้ำหนักระหว่างเดิน วิ่ง หรือกระโดด ทุกครั้ง

  1. เปลี่ยนอิริยาบถเร็วเกินไป

ไม่ว่าคุณจะกำลังเดินเฉยๆ แล้วเผลอวิ่งข้ามถนน วิ่งขึ้นรถเมล์ เดินๆ อยู่ก็กระโดดข้ามแอ่งหน้า หากเอ็นกล้ามเนื้อรอบข้อเท้าของคุณไม่มีความยืดหยุ่นมากพอ (อาจเกิดจากการขาดการออกกำลังกาย หรืออายุที่มากขึ้น) ก็อาจทำให้เอ็นกล้ามเนื้อผิดรูป เกิดอาการปวดเมื่อยเฉียบพลันได้เช่นกัน แก้ไขง่ายๆ ด้วยการพยายามขยับข้อเท้าให้ช้าลง และเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับกล้ามเนื้อข้อเท้าด้วยการทำกายบริหารหมุนข้อเท้าช้าๆ เป็นประจำ รวมถึงเหยียดข้อเท้าก่อนออกกำลังกายด้วย

  1. เอ็นข้อเท้าหลวม

คุณอาจเป็นหนึ่งในคนที่มีปัญหาเอ็นข้อเท้าหลวม โดยเฉพาะช่วงที่ใช้ข้อเท้าหนักๆ เช่น เดินเร็ว วิ่ง กระโดด เล่นกีฬา จะเห็นได้ชัด จึงอาจต้องตรวจกับแพทย์เพื่อเช็กให้แน่ใจ และอาจต้องสวมอุปกรณ์ช่วยรัดพยุงข้อเท้า ติดเทปกาวล็อกข้อเท้า และใส่รองเท้าที่เหมาะสมทุกครั้งก่อนออกกำลังกาย หรือทำกิจกรรมต่างๆ

  1. กระดูกอ่อนข้อเท้าบาดเจ็บ

คุณอาจมีอาการบาดเจ็บที่กระดูกข้อเท้ามาก่อนหน้านี้ จากการออกกำลังกาย หรือล้มจนข้อเท้าพลิก แล้วยังไม่หายดี ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงการใช้งานข้อเท้าหนักๆ เป็นเวลาอย่างต่ำ 1 อาทิตย์หลังเกิดอุบัติเหตุขึ้นกับข้อเท้า

  1. สวมรองเท้าส้นสูงมาก-นานเกินไป

สำหรับคุณผู้หญิงที่สวมรองเท้าส้นสูงมากๆ เป็นเวลานานๆ อาจทำให้เกิดอาการปวดข้อเท้าได้เช่นกัน วิธีหลีกเลี่ยงคือ การลดเวลาในการสวมรองเท้าส้นสูงลง ไม่เกิน 30 นาที- 1 ชั่วโมง หากมีความจำเป็นต้องสวมรองเท้าส้นสูง ควรเลือกส้นที่มีขนาดสูงไม่เกิน 2 นิ้ว และควรเปลี่ยนอิริยาบถระหว่างการสวมรองเท้า เช่น เปลี่ยนจากยืนเฉยๆ เป็นเดินเล็กน้อย หรือหาจังหวะนั่งทุกครั้งที่มีโอกาส เพื่อลดภาระของข้อเท้าที่ต้องรับน้ำหนักทั้งร่างกายเป็นเวลานานๆ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook