4 สัญญาณอันตราย "วัณโรค"

4 สัญญาณอันตราย "วัณโรค"

4 สัญญาณอันตราย "วัณโรค"
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

"วัณโรค" เป็นชื่อโรคที่คนไทยหลายคนรู้จักกันเป็นอย่างดีว่ามีอาการไอออกมาเป็นโรค แต่ที่เคยคิดว่าเป็นโรคโบราณที่น่าจะหมดไปจากประเทศไทยแล้ว อันที่จริงยังคงเป็นโรคที่ยังพบได้เรื่อยๆ ในประเทศไทยตั้งแต่อดีตจวบจนถึงปัจจุบัน และยังคร่าชีวิตคนไทยไปไม่น้อย จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขพบว่า สถานการณ์วัณโรคในประเทศไทย พบผู้ป่วยมากถึง 108,000 รายต่อปี เสียชีวิต 12,000 ราย และในปี 2560-2561 มีผู้ป่วยวัณโรคในประเทศไทย 22,784 ราย

นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรคกล่าวว่า วัณโรค เป็นโรคติดต่อระบบทางเดินหายใจ เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชื่อว่า ไมโคแบคทีเรียม ทูเบอร์คูโลซิส (Mycobacterium tuberculosis) ส่วนใหญ่ร้อยละ 80 เกิดที่ปอด สามารถแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น เช่น เยื่อหุ้มสมอง ต่อมน้ำเหลือง กระดูก

>> “วัณโรคหลังโพรงจมูก” โรคหายาก ไม่มีอาการเตือนชัดเจน เสี่ยงได้ทุกเพศทุกวัย


กลุ่มเสี่ยงโรควัณโรค

กลุ่มที่รับเชื้อได้ง่ายคือ เด็กจะรับเชื้อจากผู้ใหญ่ที่เป็นวัณโรคระยะแพร่เชื้อ โดยเชื้อจะออกมากับการไอ จาม ในห้องที่ทึบอับแสง เชื้อวัณโรคอาจมีชีวิตอยู่ได้ถึง 1 สัปดาห์ ถ้าเสมหะที่มีเชื้อลงสู่พื้นที่ไม่มีแสงแดด เชื้ออาจอยู่ในเสมหะแห้งได้นานถึง 6 เดือน แพร่กระจายอยู่ในอากาศและเข้าสู่ร่างกายทางการหายใจ ผู้ที่ติดเชื้อส่วนใหญ่มักไม่มีอาการ จะทราบว่าติดเชื้อวัณโรคได้จากการตรวจเสมหะ โดยการทดสอบทูเบอร์คิวลินจะให้ผลบวก ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักเคยติดเชื้อตอนเป็นเด็ก


ปัจจัยเสี่ยงของวัณโรค

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ผู้ติดเชื้อมีอาการของโรค ได้แก่ สัมผัสผู้ติดเชื้อทำให้ได้รับเชื้อเพิ่มขึ้น ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง โดยเฉพาะการติดเชื้อ HIV ผู้ติดยาเสพติดและโรคขาดอาหาร

>> 7 พฤติกรรมเสี่ยง “วัณโรค” โรคเก่าแต่ยังระบาดไม่หยุด


สัญญาณอันตราย "วัณโรค"

  1. ไอเรื้อรังเกิน 2 สัปดาห์

  2. น้ำหนักลด 

  3. เบื่ออาหาร

  4. เหงื่อออกกลางคืน


วัณโรค พบเร็ว รักษาหายได้

วัณโรคมียารักษาหายขาด ที่สำคัญจะได้ผลดีถ้ารับการรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มแรก และต้องกินยาสม่ำเสมอติดต่อกันอย่างน้อย 6 เดือน ร่วมกับพักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีโปรตีนและวิตามิน เพิ่มภูมิต้านทานร่างกาย ดังนั้นสิ่งสำคัญคือการดูแลรักษาตัวเองให้แข็งแรงอยู่เสมอ เพื่อรักษาประสิทธิภาพในการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันโรค และตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี หากมีอาการตามสัญญาณอันตรายข้างต้น ให้รีบพบแพทย์โดยด่วน

>> วัคซีน “วัณโรค” เราฉีดกันหรือยัง? จำเป็นต้องฉีดไหม?

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook