วัคซีน “วัณโรค” เราฉีดกันหรือยัง? จำเป็นต้องฉีดไหม?

วัคซีน “วัณโรค” เราฉีดกันหรือยัง? จำเป็นต้องฉีดไหม?

วัคซีน “วัณโรค” เราฉีดกันหรือยัง? จำเป็นต้องฉีดไหม?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

จากข่าวการเสียชีวิตของ น้ำตาล-บุตรศรัณย์ ทองชิว หรือ น้ำตาล เดอะสตาร์ ที่เสียชีวิตเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2562 โดยคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลวินิจฉัยว่าอาจเกิดจากโรค “วัณโรคหลังโพรงจมูก” 

>> “วัณโรคหลังโพรงจมูก” โรคหายาก ไม่มีอาการเตือนชัดเจน เสี่ยงได้ทุกเพศทุกวัย


บางคนอาจสงสัยว่า “แล้วเราเสี่ยงที่จะเป็นวัณโรคด้วยไหม? จะป้องกันอย่างไร?”

หลักป้องกันวัณโรคง่ายๆ มีเพียงแค่รักษาร่างกายให้แข็งแรง เพื่อต่อสู้กับเชื้อวัณโรคที่พบได้ในอากาศทั่วไปตลอดเวลา หลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับผู้ป่วย หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่แออัด และการฉีดวัคซีนป้องกันวัณโรค

แต่เราจะทราบได้อย่างไรว่า เราเคยฉีดวัคซีนป้องกันวัณโรคมาแล้วหรือยัง หากฉีดแล้วจะยังคงมีฤทธฺ์ป้องกันอยู่จนถึงตอนนี้หรือไม่ ต้องฉีดซ้ำหรือเปล่า Sanook! Health รวบรวมข้อมูลของการฉีดวัคซีนป้องกันวัณโรคมาฝากกัน


เราเคยฉีดวัคซีนป้องกันวัณโรคกันมาแล้วหรือไม่?

ในประเทศไทย วัคซีนป้องกันวัณโรค จะเรียกว่า วัคซีนบีซีจี โดยจะฉีดให้กับเด็กแรกเกิดทุกคนที่สถานพยาบาลที่ทำคลอด ภูมิคุ้มกันจะเกิดภายหลังฉีด 4-6 สัปดาห์ และอยู่ไปได้นานประมาณ 10 ปี วัคซีนจะให้ผลในการป้องกันวัณโรคได้ประมาณ 80% โดยเฉพาะวัณโรคเยื่อหุ้มสมองในเด็ก


วัยผู้ใหญ่ จำเป็นต้องฉีดวัคซีนป้องกันวัณโรคหรือไม่?

อย่างไรก็ตาม ไม่สามารถป้องกันวัณโรคปอดในผู้ใหญ่ ผู้ที่เคยฉีดบีซีจีมาแล้วก็ยังมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นวัณโรคปอดได้

ในผู้ใหญ่ วัคซีนบีซีจีจะใช้ในกลุ่มคนที่ทำงานในสถานพยาบาล ห้องปฏิบัติการที่ต้องทำงานกับเชื้อโรค ผู้ที่ต้องทำหน้าที่ในการดูแลผู้สูงอายุ และผู้ที่ต้องทำงานในพื้นที่ที่แออัด เช่น เรือนจำ ที่มีอายุต่ำกว่า 35 ปี เนื่องจากไม่มีการพบว่าวัคซีนจะได้ผลหรือไม่กับกลุ่มคนที่อายุมากกว่า 35 ปี

วัคซีนวัณโรคนี้จะได้ผลในการป้องกันวัณโรคเยื่อหุ้มสมอง และวัณโรคแบบกระจายทั่วร่างกาย แต่ไม่ป้องกันวัณโรคปอด


วัคซีนป้องกันวัณโรค ฉีดได้ทุกคนหรือไม่?

วัคซีนก็ไม่สามารถฉีดให้ได้กับทุกคน เพราะยังมีกลุ่มคนที่ไม่สามารถรับวัคซีนได้ เช่น

  • ผู้ที่เคยได้รับวัคซีนบีซีจีมาก่อน

  • ผู้ที่เคยมีประวัติการติดเชื้อวัณโรค

  • ผู้ที่มีผลการตรวจทางผิวหนังที่ค่อนข้างรุนแรง

  • ผู้ที่มีการตรวจพบว่ามีอาการแพ้ส่วนประกอบวัคซีนบีซีจีอย่างรุนแรง

  • เด็กแรกเกิดที่อาศัยอยู่กับผู้ที่มีการติดเชื้อวัณโรค

  • ผู้ที่มีระดับภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น ผู้ที่รับประทานยาสเตียรอยด์ ผู้ป่วยโรคเอดส์และโรคมะเร็ง

สตรีที่อยู่ในระหว่างตั้งครรภ์และอยู่ในช่วงให้นมบุตรก็สามารถฉีดวัคซีนได้ แต่ภูมิคุ้มกันจะทำงานได้ช้าโดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในระหว่างการตั้งครรภ์ในช่วงแรก


วิธีฉีดวัคซีนป้องกันวัณโรค

ทีมแพทย์จะใช้ฉีดเข้าผิวหนัง (intradermal) บริเวณต้นแขนสั้นจำนวน 0.1 มล. หลังจากได้รับวัคซีนแล้ว ผู้ที่ได้รับวัคซีนอาจมีอุณภูมิร่างกายสูงขึ้น และรู้สึกไม่สบายเนื้อสบายตัว และอาจจะมีตุ่มนูน 6-8 มม. และหายไปในไม่ช้า แต่ราวสัปดาห์ที่ 2 หลังฉีดจะมีตุ่มนูนเกิดขึ้น และแตกออกเป็นแผลเล็กๆ มีหนอง ซี่งจะเป็นๆ หายๆ อยู่ประมาณ 6 สัปดาห์ ก็จะหายไปเหลือแต่รอยแผลเป็นขนาดเล็ก

หลังจากฉีดวัคซีนบีซีจีแล้ว จะต้องเว้นระยะการฉีดวัคซีนที่แขนข้างที่ฉีดอย่างน้อย 3 เดือน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook