"ท้องเสีย" ในเด็ก พบได้บ่อยแต่อย่านิ่งนอนใจ เสี่ยงอันตราย

"ท้องเสีย" ในเด็ก พบได้บ่อยแต่อย่านิ่งนอนใจ เสี่ยงอันตราย

"ท้องเสีย" ในเด็ก พบได้บ่อยแต่อย่านิ่งนอนใจ เสี่ยงอันตราย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ปัญหาท้องเสียในเด็กเป็นเรื่องที่พบเจอได้บ่อยแต่อย่านิ่งนอนใจควรสังเกตหากการขับถ่ายมีลักษณะที่ผิดปกติไปจากเดิม ให้รีบพาไปพบแพทย์


เด็กเล็กเสี่ยงท้องเสียจากมือไม่สะอาด-ความต้านทานโรคต่ำ

นายแพทย์ภาสกร ชัยวานิชศิริ รองอธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า ท้องเสียเป็นกลไกการกำจัดเชื้อโรคออกจากร่างกาย พบว่าประมาณ 70% ในเด็กเล็กอายุไม่เกิน 1 ปี เกิดจากการได้รับเชื้อโรคเข้าไปในร่างกาย ซึ่งมักจะเข้าทางปากโดยการกินอาหารหรือดื่มนมซึ่งปนเปื้อนเชื้อโรค แม้กระทั่งการหยิบจับสิ่งของ คลานเล่นรับเอาเชื้อโรคเข้าปากโดยยังไม่รู้จักวิธีป้องกันตัวเอง รวมทั้งเด็กมีภูมิต้านทานโรคต่ำ ซึ่งภูมิต้านทานโรคส่วนหนึ่งอาจได้รับมาจากการกินนมแม่และการได้รับวัคซีน อีกส่วนหนึ่งร่างกายสร้างขึ้นโดยการสัมผัสเชื้อโรคตามธรรมชาติและสร้างภูมิต้านทานจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ซึ่งต้องใช้ระยะเวลา


อาการท้องเสียของเด็กที่ควรสังเกต

หากเด็กมีอาการท้องเสีย พ่อแม่ผู้ปกครองสามารถดูความผิดปกติได้จากลักษณะและความถี่ของอุจจาระที่เปลี่ยนแปลงไปจากปกติ เช่น เป็นเนื้อเหลว ความถี่ 3 ครั้งขึ้นไป เป็นมูกเลือด 1 ครั้ง หรือเป็นน้ำปริมาณมาก 1 ครั้งขึ้นไป ภายในระยะเวลา 24 ชั่วโมง


วิธีป้องกันเด็กท้องเสีย

นายแพทย์วิบูลย์ กาญจนพัฒนกุล รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า วิธีป้องกันท้องเสียที่ดีที่สุดคือ การรักษาความสะอาดเพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโรคเข้าปากเด็ก

  1. เริ่มตั้งแต่ผู้เลี้ยงเด็กต้องหมั่นล้างมือทุกครั้ง
  2. ก่อนจะหยิบจับอาหารหรือชงนมให้เด็กที่กินนมผสม รวมทั้งขวดนม จุกนม ต้องล้างทำความสะอาดหลังการใช้ทันทีและฆ่าเชื้อโดยการต้มจนเดือดอย่างน้อย 10 – 15 นาที
  3. ควรชงนมในปริมาณที่กินหมดในครั้งเดียว ถ้ายังกินไม่หมดควรมีฝาครอบจุกให้มิดชิดและไม่ควรทิ้งไว้นานเกิน 2 ชม

  4. ถ้าเด็กมีอาการถ่ายอุจจาระเป็นมูกหรือมูกเลือด ไข้สูงหรือชัก อาเจียนบ่อย ท้องอืด หอบลึก ไม่ยอมดื่มสารละลายน้ำตาลเกลือแร่ทุกชนิด ไม่ยอมดื่มนมหรือกินอาหาร หรือหากดื่มสารละลายน้ำตาลเกลือแร่แล้วแต่เด็กยังดูเพลีย ซึม ถ่ายอุจจาระเป็นน้ำบ่อย (มากกว่า 10 ครั้งต่อวัน) ควรรีบพาเด็กไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาต่อไป

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook