อะนอเร็กเซีย-บูลิเมีย โรค “คลั่งผอม” ที่อันตรายถึงชีวิต

อะนอเร็กเซีย-บูลิเมีย โรค “คลั่งผอม” ที่อันตรายถึงชีวิต

อะนอเร็กเซีย-บูลิเมีย โรค “คลั่งผอม” ที่อันตรายถึงชีวิต
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

กินแล้วรู้สึกผิดจนต้องล้วงคอให้อาเจียน ออกกำลังกายหักโหมเกินไป ผอมจนไม่มีแรงแต่ยังคิดว่าตัวเองอ้วน อาการเหล่านี้เป็นสัญญาณอันตรายของโรคอะนอเร็กเซีย หรือบูลิเมีย


อะนอเร็กเซีย และบูลิเมีย จัดว่าเป็นอาการทางจิตที่ผิดปกติประเภทหนึ่ง ที่เกิดขึ้นกับผู้หญิง และผู้ชายที่อยากผอม อยากหุ่นดี พยายามลดน้ำหนักด้วยวิธีการผิด และแม้ว่าจะผอมแล้ว แต่ยังคงมองว่าตัวเองอ้วนอยู่ จึงตั้งหน้าตั้งตาลดน้ำหนักอย่างหักโหมจนทำให้ร่างกายเกิดความผิดปกติไปด้วย โดยยังไม่สามารถระบุสาเหตุได้อย่างแน่ชัดว่าเกิดขึ้นจากสิ่งใด แต่เชื่อว่าเป็นปัญหาทางด้านจิตใจ บวกกับความคลั่งผอมที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีค่านิยมชอบคนรูปร่างผอม


อะนอเร็กเซีย VS บูลิเมีย

ทั้งอะนอเร็กเซีย และบูลิเมียจัดว่าเป็นโรค “คลั่งผอม” ด้วยกันทั้งคู่ แต่จะมีความแตกต่างกัน ดังนี้


อะนอเร็กเซีย

อะนอเร็กเซีย ย่อมาจาก “อโนเร็กเซีย เนอร์โวซ่า” (Anorexia nervosa) จะเป็นอาการของผู้ป่วยคลั่งผอมที่จะเริ่มไม่อยากรับประทานอาหาร ออกกำลังกายอย่างหักโหม จนทำให้น้ำหนักลดลงมากจนถึงขั้นเสี่ยงขาดสารอาหาร

หลายคนใช้วิธีผิดๆ เข้าช่วยเพื่อให้ลดน้ำหนักได้มากขึ้น เช่น กินยาลดความอ้วน ยาระบาย ยาขับปัสสาวะ จนทำให้ร่างกายเริ่มมีอาการผิดปกติ เช่น

  • ซูบผอม

  • เรี่ยวแรงน้อย

  • กล้ามเนื้อลีบแบน

  • ประจำเดือนขาด

  • ผมร่วง

  • เล็บเปราะ

  • ท้องผูก

  • นอนไม่หลับ

  • ขาดน้ำ

  • ขาบวม

  • หน้ามืดง่าย

  • หัวใจเต้นช้า

  • หายใจช้า

  • อุณหภูมิร่างกายต่ำกว่าปกติ

อาการเหล่านี้ อาจเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะคนที่น้ำหนักตัวลดลงมากกว่า 35% ภายในเวลาไม่นาน


บูลิเมีย

บูลิเมีย ย่อมาจาก “บูลีเมีย เนอร์โวซ่า” (Bulemia nervosa) เป็นโรคที่ผู้ป่วยมีอาการกินอาหารแล้วรู้สึกผิด กลัวอ้วน จึงล้วงคอตัวเองให้อาเจียนเอาอาหารที่กินเข้าไปแล้วออกมา จนเมื่อทำไปสักระยะร่างกายเริ่มอาเจียนออกมาหลังกินอาหารเองโดยอัตโนมัติ อาจรวมถึงการใช้ยาขับถ่าย ขับปัสสาวะเหมือนผู้ป่วยอะนอเร็กเซียด้วย แต่รูปร่างอาจไม่ผอมซูบเท่าผู้ป่วยอะนอเร็กเซีย อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยบูลิเมียอาจมีพฤติกรรมต่อร้านสังคม ละคนรอบตัว และได้รับผลกระทบที่ร้ายแรงต่อร่างกายได้ เช่น

  • ร่างกายขาดสารอาหาร

  • เยื่อบุหลอดอาหาร กระเพาะอาหารฉีกขาดเนื่องจากอาเจียนมาก

  • เกิดอันตรายขณะสำลักหลังล้วงมือเอาอาหารออกมาทางคอ

  • มีเลือดออกทางเดินอาหาร

  • มีลมรั่วในช่องทรวงอก

  • ความสมดุล กรด-ด่าง ในร่างกายผิดปกติ

เมื่อมีอาการหนักเข้า อาจเสี่ยงต่อชีวิตได้เช่นเดียวกัน


วิธีรักษาโรคอะนอเร็กเซีย และบูลิเมีย

แม้ว่าทั้งโรคอะนอเร็กเซีย และบูลิเมียจะเป็นโรคที่รักษาได้ยาก เพราะผู้ป่วยมักไม่ยอมรับตัวเองว่ากำลังป่วยอยู่ แต่คนรอบตัวทั้งครอบครัว เพื่อน ญาติพี่น้อง สามารถทำความเข้าใจกับพวกเขา และดูแล ชักจูงให้ผู้ป่วยทราบว่าตัวเองมีความผิดปกติ และนำตัวส่งโรงพยาบาลเพื่อพบแพทย์ และรับการรักษาอย่างถูกวิธีได้ โดยแพทย์จะบำบัดด้วยการให้โภชนบำบัดร่วมกับการรักษาทางจิตเวช  ในรายที่อาการรุนแรงและมีความเสี่ยงที่จะเกิดหัวใจเต้นผิดปกติหรือหยุดเต้น อาจต้องรับไว้รักษาในโรงพยาบาล

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook