“สารให้ความหวานแทนน้ำตาล” ทานมาก ระวัง IQ ต่ำ จริงหรือ?

“สารให้ความหวานแทนน้ำตาล” ทานมาก ระวัง IQ ต่ำ จริงหรือ?

“สารให้ความหวานแทนน้ำตาล” ทานมาก ระวัง IQ ต่ำ จริงหรือ?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เพื่อสุขภาพที่ดี หลายคนเริ่มลดการปรุงอาหาร และเครื่องดื่มลง ลดทานเค็ม ลดทานหวาน ซึ่งเป็นเรื่องที่ควรทำ เพราะส่งผลดีต่อร่างกายได้อย่างแน่นอน แต่ล่าสุด คนที่กำลังทานอาหาร และเครื่องดื่มที่มีการปรุงรสหวาน ด้วยสารให้ความหวานแทนน้ำตาล น่าจะมีเสียงสันหลังอยู่บ้าง เพราะมีข่าวในโลกออนไลน์ว่า การทานสารให้ความหวานทานน้ำตาลมากๆ หรือเป็นเวลาติดต่อกันนานๆ จะทำให้ไอคิวต่ำลง แต่เรื่องนี้มีข้อเท็จจริงอย่างไร Sanook! Health มีคำตอบจาก สำนักงานคณะกรรมการอาหาร และยา หรือ อย. มาฝากกัน

 

สารให้ความหวานแทนน้ำตาล อันตราย?

อย. ระบุว่า โดยทั่วไปแล้วหากรับประทานสารให้ความหวานแทนน้ำตาลในปริมาณที่เหมาะสม เช่น

  • บริโภคแอสปาร์แตม (Aspartame) ไม่เกิน 50 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม/วัน

  • บริโภคแซคคาริน (Saccharin) ไม่เกิน 15 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม/วัน

หากบริโภคได้ตามนี้ ก็จะไม่เกิดปัญหาใดๆ ตามมา

 

อย่างไรก็ตาม หากจะบอกว่าสารให้ความหวานแทนน้ำตาล สามารถทานได้ทุกเพศทุกวัย ไม่มีอันตรายใดๆ เลย ก็คงจะไม่ใช่เรื่องจริง

เพราะผู้ที่มีภาวะโรค เช่น ผู้ป่วยที่มีภาวะฟีนิลคีโตนูเรีย ห้ามทานแอสปาร์แตมโดยเด็ดขาด เพราะอาจก็ให้เกิดอันตรายต่อระบบประสาทและสมองได้

นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่บ่งบอกว่า การทานสารให้ความหวานแทนน้ำตาล ประเภท แอสปาร์แตม ทำให้ร่างกายมีปริมาณการผลิตฮอร์โมนที่ผิดปกติ ส่งผลให้ร่างกายยิ่งโหยหาความหวานจากน้ำตาลมากยิ่งขึ้น จึงเป็นเหตุที่ท้ายที่สุดแล้วเราก็ยังวนเวียนกลับไปหาน้ำตาลแท้เหมือนเดิม แถมยังอยากอาหารมากขึ้นกว่าเดิมอีกด้วย

 

ดังนั้น แม้ว่าสารให้ความหวานแทนน้ำตาลจะดีต่อสุขภาพ ช่วยให้ลดการบริโภคน้ำตาลลงได้ แต่หากเราลดการทานหวานลงด้วยตัวเอง ไม่ต้องพึ่งสารให้ความหวานอื่นใด ก็จะเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพในระยะยาวมากที่สุด

 

>> 5 อันตรายที่คาดไม่ถึงจาก “น้ำตาลเทียม”

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook