8 วิธีป้องกัน RSV โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ ในเด็กและผู้ใหญ่

8 วิธีป้องกัน RSV โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ ในเด็กและผู้ใหญ่

8 วิธีป้องกัน RSV โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ ในเด็กและผู้ใหญ่
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ตอนนี้หันไปทางไหนก็มีแต่คนติดเชื้อไวรัส RSV กันทั้งนั้น โดยเฉพาะเด็กเล็ก และผู้สูงอายุ โรคนี้เป็นอย่างไร อันตรายมากกว่าไข้หวัดธรรมดาหรือไม่ และมีวิธีป้องกัน RSV อย่างไร Sanook! Health มีคำตอบจากกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขมาฝาก

โรค RSV คืออะไร?

โรค RSV หรือโรคติดเชื้อทางเดินหายใจจากเชื้อไวรัส RSV เป็นโรคที่เกิดขึ้นจากเชื้อไวรัส Respiratory Syncytial Virus ที่ทำให้คนที่ติดเชื้อมีอาการคล้ายหวัด สามารถติดต่อได้จากการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อ โดยไวรัสเข้าสู่ร่างกายผ่านทางตา จมูก ปาก หรือสัมผัสเชื้อโดยตรงจากการจับมือ แพร่กระจายได้ง่ายผ่านการไอหรือจาม ในประเทศไทยพบเชื้อไวรัสอาร์เอสวีได้บ่อยในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว

กลุ่มเสี่ยงโรค RSV

การติดเชื้อทางเดินหายใจ RSV จะพบได้ในทุกกลุ่ม แต่อาการจะรุนแรงในกลุ่มคนต่อไปนี้

  • เด็กเล็ก

  • เด็กที่คลอดก่อนกำหนด

  • ผู้สูงอายุมากกว่า 65 ปี

  • ผู้ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง เช่น เบาหวาน โรคปอด โรคหัวใจ

  • ผู้มีปัญหาเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกันร่างกายผิดปกติ

อาการของโรค RSV

อาการของผู้ป่วยที่ติดเชื้อทางเดินหายใจ RSV ที่แสดงหลังสัมผัสถูกเชื้อไวรัสประมาณ 4-6 วัน ผู้ติดเชื้อจะมีอาการ ดังนี้

  • มีไข้

  • ไอ

  • มีน้ำมูก

  • เจ็บคอ

  • หากอาการรุนแรง จะหายใจเร็ว หอบเหนื่อยเนื่องจากปอดอักเสบ

  • รับประทานอาหารได้น้อย

  • ซึมลง

  • อาการจะรุนแรงมากยิ่งขึ้น หากผู้ป่วยเป็นเด็กเล็ก หรือคนชรา ที่ภูมิต้านทานต่ำกว่าปกติ

การรักษาโรค RSV

การรักษาส่วนใหญ่จะรักษาตามอาการ ส่วนยาสำหรับการรักษาเชื้อไวรัสโดยเฉพาะ ยังอยู่ระหว่างการศึกษาและยังไม่มีจำหน่ายอย่างเป็นทางการในประเทศไทย

การป้องกันโรค RSV

ในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัสอาร์เอสวี แต่เราสามารถป้องกันการติดเชื้อและลดการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสได้โดยวิธีต่อไปนี้

  1. หมั่นล้างมือให้สะอาดเป็นประจำ เช่น ก่อนรับประทานอาหาร เป็นต้น

  2. หลีกเลี่ยงการสัมผัสผู้ติดเชื้อ เช่น ผู้ที่เป็นไข้หวัดหรือปอดอักเสบ โดยเฉพาะเด็กที่คลอดก่อนกำหนด และทารกในช่วงอายุ 1-2 เดือน 

  3. ไม่ควรใช้มือที่ไม่สะอาดมาป้ายจมูกหรือตา

  4. ไม่ควรใช้แก้วน้ำร่วมกันและหลีกเลี่ยงใช้แก้วน้ำที่ผู้ป่วยใช้แล้ว

  5. ทำความสะอาดของเล่นเด็กเป็นประจำ โดยเฉพาะหลังพบว่าเด็กที่ป่วยมาสัมผัสหรือเล่นของเล่นนั้นๆ 

  6. สำหรับผู้ป่วย หากมีอาการป่วยควรหยุดพัก และปิดปาก จมูก เมื่อไอหรือจาม

  7. ทำความสะอาดบ้านอยู่เสมอ

  8. ดื่มน้ำมากๆ เพราะน้ำทำให้สารคัดหลั่ง เช่น เสมหะหรือน้ำมูก ไม่เหนียวจนเกินไป และไม่ไปขัดขวางการทำงานของระบบทางเดินทางหายใจ

ตามปกติแล้ว อาการของการติดเชื้อไวรัสอาร์เอสวีในเด็กโตและผู้ใหญ่จะดีขึ้น หลังได้รับการรักษาเป็นเวลา 1-2 สัปดาห์ หากผู้ป่วยอาการไม่ดีขึ้น เช่น หอบ เหนื่อย รับประทานอาหารได้น้อย ควรรีบพาไปพบแพทย์

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook