6 วิธีกายบริหาร สำหรับคนเป็นโรค “รองช้ำ”

6 วิธีกายบริหาร สำหรับคนเป็นโรค “รองช้ำ”

6 วิธีกายบริหาร สำหรับคนเป็นโรค “รองช้ำ”
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

โรครองช้ำ หรือโรคพังผืดบริเวณใต้ข้อเท้าอักเสบ เป็นโรคที่เกิดขึ้นได้บ่อย โดยมีสาเหตุหลายประการ ทั้งจากยืนทำงานบ่อยๆ หรือนานๆ มากกว่า 8 ชั่วโมงขึ้นไป รวมไปถึงการมีน้ำหนักตัวมาก มีเอ็นร้อยหวายตึง สวมรองเท้าที่ไม่พอดีกับเท้า หรือรูปเท้าของตัวเอง หรืออาจมาจากโครงสร้างทางร่างกายตั้งแต่กำเนิดที่ทำให้มีอุ้งเท้าที่แบน หรือโก่งจนเกินไป

 

อาการของโรครองช้ำ

อ. พญ. ทรงสุดา รุ่งใสวัฒนา ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า  อาการของโรครองช้ำ ได้แก่ รู้สึกปวดจี๊ดๆ บริเวณใต้ฝ่าเท้า โดยเฉพาะเวลาตื่นนอนตอนเช้า หรือก้าวแรกของวันเวลาเหยียบลงพื้นหลังจากตื่นนอน

>> โรครองช้ำ ปวดส้นเท้า ทรมานกว่าที่คุณคิด

 

การรักษาโรครองช้ำ

แพทย์อาจพิจารณายาต้านอาการอักเสบ และให้ใช้อุปกรณ์เสริมเกี่ยวกับกระดูกเท้า ที่ช่วยรักษากระดูกเท้าด้านใน เช่น อุปกรณ์เสริมอุ้งเท้าด้านใน อุปกรณ์รองรับส้นเท้า หรืออาจแนะนำให้ทำกายภาพบำบัด

 

ท่ากายบริหารสำหรับผู้ป่วยโรครองช้ำ

หากมีอาการรองช้ำอยู่ก่อนแล้ว การทำท่ากายบริหารเหล่านี้จะช่วยให้อาการของโรครองช้ำดีขึ้นได้

  1. ยืดเอ็นร้อยหวาย โดยการยืนหันหน้าเข้ากำแพง เลื่อนเท้าขวาไปด้านหลัง ให้เท้าซ้ายอยู่ด้านหน้า

  2. เอื้อมมือไปดันกำแพงตรงหน้า งอเท้าซ้ายไปด้านหน้า ส่วนเท้าขวาอย่าเพิ่งเปิด หรืออย่าเพิ่งยกส้นออกจากพื้น จะช่วยให้เอ็นร้อยหวายที่ด้านหลังของเท้าขวาได้ยืดออกมา

  3. ยืดข้อเท้าขวาค้างไว้ 1-10 วินาทีจนรู้สึกตึงๆ ค่อยเปลี่ยนเป็นเท้าซ้ายให้อยู่ด้านหลัง เท้าขวาอยู่ด้านหน้า แล้วทำเหมือนเดิม ทั้งหมดเท้าข้างละ 10 ครั้ง นับเป็น 1 เซ็ต ทำวันละ 1-2 เซ็ตทุกวัน

  4. ยืดฟังผืดใต้ฝ่าเท้า โดยหาอุปกรณ์ทรงกระบอก เช่น ขวดน้ำ ไม้กลึง ท่อพลาสติก ฯลฯ วางไว้บนพื้น แล้วใช้อุปกรณ์เหล่านั้นนวดฝ่าเท้าโดยการคลึงฝ่าเท้ากับอุปกรณ์นั้นๆ ไปมา

  5. นั่งกับพื้น ยืดขาตรง ยกขวาข้างขวามาพาดขาข้างซ้าย ให้ไขว้ขากันเป็นเลข 4 แล้วเอามือนวดคลึงฝ่าเท้าจากส้นเท้าไปยังปลายเท้าช้าๆ

  6. เหยียดนิ้วโป้งเท้าด้วยมือ โดยเหยียดนิ้วหัวแม่เท้าให้เอ็นบริเวณฝ่าเท้าไปจนถึงนิ้วได้ยืดอย่างเต็มที่

 

อย่างไรก็ตาม หากมีอาการปวดเท้า โดยเฉพาะหลังตื่นนอนตอนเช้าในทุกๆ วัน ควรรีบพบแพทย์เพื่อทำการรักษาอย่างทันท่วงทีก่อนที่จะมีอาการมากกว่าเดิมจนเริ่มส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook