อาการ "สำลัก" ภัยเงียบอันตรายของผู้สูงอายุ

อาการ "สำลัก" ภัยเงียบอันตรายของผู้สูงอายุ

อาการ "สำลัก" ภัยเงียบอันตรายของผู้สูงอายุ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ผู้สูงอายุมักมีปัญหาเกี่ยวกับระบบการกลืนอาหาร มีอาการสำลัก รวมถึงการมีเสมหะ เศษอาหาร หรือฟันปลอมที่ชำรุด เสี่ยงต่อการเกิดภาวะทางเดินหายใจอุดกั้น ทำให้เสียชีวิตได้

ทำไมผู้สูงอายุถึงมีปัญหาเรื่องการกลืนอาหาร?

นายแพทย์วีรวุฒิ อิ่มสำราญ รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า เมื่ออายุมากขึ้นการทำงานของระบบการกลืนอาหาร การทำงานของช่องปาก กลไกของระบบประสาทที่ควบคุมการกลืนลดลง ระบบอวัยวะต่างๆ จะเสื่อมลง อาจจะทำให้ผู้สูงอายุเสี่ยงต่อเกิดภาวะทางเดินหายใจอุดกั้น สำลัก ซึ่งเป็นภาวะฉุกเฉินพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ รวมถึงการมีเสมหะ เศษอาหาร หรือฟันปลอมที่ชำรุดไปอุดกั้นทางเดินหายใจ

อาการ "สำลัก" ภัยเงียบอันตรายของผู้สูงอายุ

นายแพทย์สกานต์ บุนนาค ผู้อำนวยการสถาบันเวชศาสตร์ สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ กล่าวว่า ผู้สูงอายุที่เกิดอาการสำลัก หรือมีภาวะทางเดินหายใจอุดกั้น จะมีอาการหายใจ ติดขัด มีเสียงคล้ายนกหวีดขณะหายใจ พยายามพูดแต่ไม่มีเสียง อาจหมดสติภายใน 4-5 นาที และอาจจะเสียชีวิตได้

วิธีช่วยเหลือผู้สูงอายุ เมื่อมีอาการสำลักอาหาร

การดูแลเบื้องต้นผู้สูงอายุ อาจไม่มีแรงในการไอ เพื่อขับสิ่งที่อุดกั้นทางเดินหายใจให้ออกมา ผู้ดูแลต้องช่วยโดยการยืนด้านหลังผู้สูงอายุ ใช้มืออ้อมจากด้านหลังมากำมือประสานไว้ที่หน้าท้องผู้สูงอายุ เหนือสะดือเล็กน้อย กระแทกมือขึ้นด้านบนบริเวณกะบังลมอย่างรวดเร็ว โดยใช้แรงพอสมควร ตามจังหวะที่ผู้สูงอายุพยายามหายใจเอาสิ่งที่อุดกั้นออก และผู้ดูแลสามารถบอกได้ว่า สิ่งใดที่อุดกั้นทางเดินหายใจ จะเป็นประโยชน์ในการช่วยเหลือต่อไป

การป้องกันอันตรายการจากสำลักอาหารในผู้สูงอายุ

การป้องกันอาการสำลัก หรือภาวะทางเดินหายใจอุดกั้น หากเป็นการเกิดภาวะฉุกเฉินในผู้สูงอายุ อาจทำได้ยาก เพราะอาการที่เกิดขึ้นสังเกตได้ยากและไม่ชัดเจน แต่สามารถทำได้โดย

  1. ดูแลสุขภาพเหงือกและฟันผู้สูงอายุ
  2. หลีกเลี่ยงอาหารที่อาจทำให้สำลักง่าย
  3. ผู้สูงอายุที่มีปัญหาการกลืน ควรปรึกษาแพทย์เพื่อฝึกการกลืน และรีบรักษาเมื่อมีปัญหาเรื่องไอหรือเสมหะ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook