4 สาเหตุเสี่ยง “นิ่วในไต” ทั้งจากพฤติกรรม และอาหาร

4 สาเหตุเสี่ยง “นิ่วในไต” ทั้งจากพฤติกรรม และอาหาร

4 สาเหตุเสี่ยง “นิ่วในไต” ทั้งจากพฤติกรรม และอาหาร
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

“นิ่วในไต” เกิดจากการตกตะกอนของแคลเซียม ออกซาเลต และสารต่างๆ ที่ขับออกมาในปัสสาวะ ตกค้างอัดแน่นจนกลายเป็นก้อนนิ่วก้อนเล็กๆ สีขาวอมเหลือง หรือสีน้ำตาล ขนาดเล็กเท่าเม็ดมะยม หรืออาจจะใหญ่เท่าลูกกอล์ฟ ก้อนนิ่วอาจเข้าไปขัดขวาง ปิดกั้นการทำงานของอวัยวะภายในบางส่วน จนทำให้เกิดอาการปวดท้อง ซึ่งเป็นอาการที่เป็นสัญญาณอันตรายถึงโรคนิ่วในไต

>> รู้ไว้! นิ่วในไต อาการโรคนิ่วในไต ใครๆ ก็อาจเป็นได้

>> 9 สัญญาณอันตราย โรค "นิ่วในไต"

 

4 สาเหตุ เสี่ยง “นิ่วในไต”

  1. ดื่มน้ำไม่เพียงพอ เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการตกตะกอนของแต่ธาตุต่างๆ เช่น แคลเซียม ออกซาเลต กรดยูริก และอื่นๆ ได้มากขึ้น

  2. ติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ สามารถทำให้เกิดการตกตะกอนของแร่ธาตุในปัสสาวะจนกลายเป็นก้อนนิ่วได้เช่นกัน

  3. บริโภคเกลือ (โซเดียม) หรือเนื้อสัตว์มากเกินไป โซเดียมในอาหารที่คุณรับประทานเข้าไป อาจจะกระตุ้นให้เกิดการก่อตัวของนิ่วในไตได้เนื่องจากไปเพิ่มปริมาณแคลเซียมในปัสสาวะ โดยโซเดียมมักพบในอาหารกระป๋อง อาหารจานด่วน และอาหารสำเร็จรูป หรือพบได้ในเนื้อ และเครื่องปรุงรส

  4. โรคทางพันธุกรรมบางอย่าง เช่น สมาชิกในครอบครัวมีคนเป็นนิ่วมาก่อน เราก็อาจมีความเสี่ยงที่จะเป็นนิ่วได้มากกว่าคนอื่น

>> จริงหรือไม่-ชาเย็น-ดื่มมากแล้วจะเป็นนิ่วในไต

 

อาการของโรคนิ่วในไต

ส่วนมากผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้องบริเวณบั้นเอว หรือท้องน้อยข้างใดข้างหนึ่งเพียงข้างเดียว ปวดบิดๆ เกร็งๆ เป็นพักๆ คล้ายท้องเดิน หรือปวดประจำเดือน อาจปวดเป็นชั่วโมงๆ หรือปวดทั้งวันก็ได้ ปวดๆ หายๆ และจะมีอาการปวดไปเรื่อยๆ หากก้อนนิ่วไม่หลุดออกมา นอกจากนี้อาจมีอาการใจหวิว ใจสั่น หรือคลื่นไส้ อาเจียน ร่วมด้วยได้

 

วิธีป้องกันโรคนิ่วในไต

ดื่มน้ำให้เพียงพอใจแต่ละวัน (ดื่มน้ำราว 1.5-2 ลิตรต่อวัน หรือจนกว่าปัสสาวะจะสีเหลืองอ่อนเกือบใส) ไม่กลั้นปัสสาวะนานเกินไป หลีกเลี่ยงอาหารออกซาเลตสูง เช่น ปวยเล้ง บีทรูท และอัลมอนด์ ดื่มน้ำมะนาวบ้างเป็นครั้งคราว เพราะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดก้อนนิ่วได้ ลดการทานโซเดียม และลดโปรตีนจากเนื้อสัตว์ โดยเสริมโปรตีนจากพืช เช่น ถั่ว นม แทน

 

>> อาหารเพิ่มความเสี่ยงของการเกิด "นิ่วในไต" ที่คุณควรหลีกเลี่ยง

>> 5 วิธีลดความเสี่ยงในการเป็น “นิ่วในไต”

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook