ปวดหลังบ่อย เช็คด่วน! ปัจจัยเหล่านี้อาจเป็นเหตุ

ปวดหลังบ่อย เช็คด่วน! ปัจจัยเหล่านี้อาจเป็นเหตุ

ปวดหลังบ่อย เช็คด่วน! ปัจจัยเหล่านี้อาจเป็นเหตุ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สาวบางคนอาจจะพบว่าตัวเองมีอาการปวดหลังบ่อย ๆ โดยที่ไม่รู้สาเหตุมาก่อน บางครั้งก็ปวดมาก บางครั้งก็ปวดน้อย บางครั้งก็ไม่สามารถเอี้ยวตัวได้เลย แต่จะให้ไปหาหมอนั้นก็ยากเหลือเกินที่จะปลีกตัวไป ทำได้แค่เพียงทานยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาเป็นครั้งคราวไปก่อนเท่านั้น รู้หรือไม่ว่าสาเหตุของการปวดหลัง อาจจะมาจากพฤติกรรมที่คุณทำอยู่ในแต่ละวันก็เป็นได้ มาดูกันว่าพฤติกรรมแบบไหนบ้าง ที่ทำให้เป็นโรคปวดหลังแบบไม่รู้ตัว

1.นั่งอ่านหนังสือ

บางคนนั่งอ่านหนังสือ ก็เอนหลังไปเสียสุด จนก้นติดอยู่กับปลายเก้าอี้หรือปลายเบาะ ส่วนไหลติดอยู่กับพนักเก้าอี้ ส่วนหลังนั้นไม่มีอะไรมารองรับเลย แต่บางคนก็โน้มตัวไปอ่านหนังสือ ซึ่งทั้งสองสาเหตุนี้มีส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดอาการปวดหลัง หากเป็นได้ควรนั่งหลังให้ตรง ๆ ชิดกับพนักเก้าอี้ไปเลย หรือหาหมอนมาวางรองสักใบจะช่วยได้มาก

2.การใช้คอมพิวเตอร์

เพราะคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือที่ต้องใช้ทำงานหลักในปัจจุบัน และสาว ๆ บางคนอาจจะต้องนั่งอยู่หน้าจอคอม เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ชั่วโมงในแต่ละวัน การนั่งค้อมหลังเพื่อเอาหัวเข้าไปใกล้จอมาก ๆ จึงเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการปวดหลังขึ้น และในระยะยาวอาจเกิดอาการปวดคอเพิ่มขึ้นมาอีกด้วย เพราะคอต้องรับน้ำหนักศีรษะในขณะที่ยื่นออกจากตัวไปนั่นเอง

3.การสะพายกระเป๋า

ไม่รู้ว่าเป็นเพราะความสะดวกหรืออย่างไร ทำให้สาว ๆ บางคนเลือกที่จะสะพายกระเป๋าด้วยมือและไหล่เพียงข้างเดียว แทนที่จะถ่วงน้ำหนักให้เท่ากันทั้งสองข้าง ผลก็คือน้ำหนักของกระเป๋า จะกดทับบริเวณบ่าหรือไหล่ ซึ่งจะส่งผลไปยังบริเวณกระดูกสันหลัง เป็นเหตุให้เกิดการปวดหลังเพียงข้างใดข้างหนึ่งอีกด้วย

4.การยกของ

การยกของก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ปวดหลัง เนื่องจากผู้หญิงบางคนอาจจะถนัดยกของด้วยการโน้มตัวไปข้างหน้าแล้วยกของขึ้นมาแบบไม่งอเข่าลง ผลก็คือหลังต้องแบกรับน้ำหนักเอาไว้จำนวนมาก ก่อนที่จะยืนทรงตัวให้ตรงได้ แต่ถ้าหากย่อตัวไปยกของขึ้นมา ส่วนที่รับน้ำหนักแทนจะเป็นเข่าและขา รวมถึงมีการถ่วงน้ำหนักที่ดีแล้วก่อนที่จะทำการยกขึ้นมา จึงทำให้ไม่ส่งผลถึงหลังแต่อย่างใด

ใครที่ชอบทำพฤติกรรมดังที่กล่าวมา ก็ควรปรับเปลี่ยนเพื่อให้อาการปวดหลังสามารถทุเลาลงได้เอง ซึ่งจะช่วยให้ไม่ต้องไปพบแพทย์ และไม่ต้องทานยาได้ แต่ถ้าหากเปลี่ยนพฤติกรรมแล้วยังไม่หายเป็นปกติ ก็ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงต่อไป

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook