เด็กนอนหายใจเสียงดัง นอนดิ้น จะเป็นอะไรไหม?

เด็กนอนหายใจเสียงดัง นอนดิ้น จะเป็นอะไรไหม?

เด็กนอนหายใจเสียงดัง นอนดิ้น จะเป็นอะไรไหม?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

 

"ทำอย่างไรดี ทำไมลูกนอนหายใจดัง แล้วยังดิ้นอีกด้วย ผิดปกติหรือเปล่านะ"

คำถามนี้คงค้างคาใจผู้ปกครองหลายๆท่าน แท้จริงแล้ว อาการนอนหายใจเสียงดังนั้น ส่วนใหญ่เกิดเพราะขณะนอนหลับมีความผิดปกติของการหายใจ (sleep-disordered breathing) เนื่องจากมีการอุดกั้นเป็นช่วงๆของทางเดินหายใจส่วนบนบริเวณจมูกและคอ (obstructive-sleep apnea) สามารถพบได้ในเด็กทุกอายุ อาจทำให้ขณะหลับมีระดับก๊าซออกซิเจนในเลือดต่ำลงและหลับอย่างไม่มี ประสิทธิภาพ ส่งผลทำให้นอนหลับไม่เต็มที่ พฤติกรรมรุนแรง ซนมาก สมาธิไม่ดี ผลการเรียนตก อาจทำให้หัวใจโต ความดันโลหิตสูงขึ้น มีอันตรายถึงแก่ชีวิตได้

 อาการที่สังเกตได้
ขณะ นอนหลับ มีอาการหายใจลำบากต้องใช้แรงในการหายใจมากกว่าปกติ นอนอ้าปากหายใจ นอนดิ้นกระสับกระส่ายพลิกตัวไปมา ชอบนอนคว่ำหรือนอนตะแคง อาจมีหายใจสะดุด หยุดหายใจ หายใจเฮือก หรืออาจรุนแรงถึงขั้นลุกขึ้นมานั่งหลับเป็นช่วงๆ บางคนปากซีดหรือเขียวคล้ำช่วงที่กรนมาก เด็กหลายคนยังมีปัสสาวะรดที่นอนแม้อายุมากกว่า 4-5 ปีแล้ว

ช่วง ตื่นนอนตอนเช้ามีอาการงัวเงียไม่อยากตื่น รู้สึกนอนไม่พอ อาจมีอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน ปวดท้องได้ ส่วนในช่วงกลางวันจะพบว่ามีอาการง่วงนอนที่โรงเรียน ผล็อยหลับง่าย ไม่สดชื่น ซนมาก ยุกยิกอยู่ไม่นิ่ง สมาธิค่อนข้างสั้น ขี้ลืม หงุดหงิดง่าย อารมณ์รุนแรงก้าวร้าวได้ เด็กบางคนผอมเพราะกินได้น้อย แต่บางคนก็มีปัญหาเรื่องอ้วนร่วมอยู่ด้วย

 

สาเหตุของการนอนหายใจเสียงดัง ที่มักพบได้บ่อย
• โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ อาการที่พบบ่อยคือ เป็นหวัดบ่อย มีอาการ คันจมูก จาม น้ำมูกไหล คัดจมูก เวลาเช้าหรือ เวลาอากาศเปลี่ยนหรือเวลาอยู่ในที่ฝุ่นควันมาก ส่งผลทำให้เยื่อบุจมูกบวม จึงหายใจไม่สะดวกขณะนอนหลับ
• ภาวะต่อมทอนซิลที่อยู่ข้างโคนลิ้นและต่อมอะดีนอยด์ที่หลังโพรงจมูกโต โดยปกติต่อมทอนซิลมักโตขึ้นบ้างในเด็กช่วงอายุประมาณ 2-8 ปี แต่หากเป็นภูมิแพ้ ต่อมทอนซิลอักเสบบ่อยครั้ง อาจทำให้โตมากผิดปกติจนอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนบนได้
• ภาวะโรคอ้วน พบว่าในคนอ้วนทางเดินหายใจส่วนบนจะถูกกดเบียดให้ตีบแคบจากไขมันส่วนเกิน ทำให้หายใจได้ลำบากขณะนอนหลับเกิดเป็นเสียงกรน ทั้งนี้ไขมันรอบทรองอกและในช่องท้องยังทำให้ปอดขยายตัวได้ลดลงอีกด้วย
• ความผิดปกติของโครงสร้างใบหน้า เช่น คางเล็ก ลิ้นโต แผ่นกั้นช่องจมูกคด เป็นต้น
• โรคระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ที่มีผลทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงโดยเฉพาะกล้ามเนื้อที่ช่วยในการหายใจ
• โรคประจำตัวบางอย่าง เช่น โรคกลุ่มอาการดาวน์ (Down's syndrome) เป็นต้น

 

การวินิจฉัยโรค
1. พบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ ภาวะต่อมทอนซิลโต ความผิดปกติของโครงสร้างใบหน้า
2. ตรวจวินิจฉัยโรคอ้วนและภาวะแทรกซ้อนจากความอ้วน เช่น เบาหวาน ไขมันสูง ความดันโลหิตสูง เป็นต้น
3. บันทึกเสียงหรือถ่ายภาพวีดีโอขณะนอนหายใจเสียงดังมาให้แพทย์ดูว่าผิดปกติหรือไม่
4. เอกซเรย์ดูขนาดต่อมอะดีนอยด์หลังโพรงจมูก หากมีปัญหาจมูกอักเสบจากภูมิแพ้
5. ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และเอกซเรย์ทรวงอก หากสงสัยมีหัวใจโตร่วมด้วย
6. ตรวจวัดระดับก๊าซออกซิเจนที่ปลายนิ้วขณะนอนหลับ และ/หรือ ตรวจการนอนหลับ (Polysomnography)

 

การรักษา
เริ่ม จากการรักษาสาเหตุที่ตรวจพบ เช่น รักษาโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้และโรคติดเชื้อที่พบร่วม หากอ้วน ให้ลดน้ำหนัก ควบคุมอาหาร และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ผ่าตัดแก้ไขต่อมทอนซิลและต่อมอะดีนอยด์ที่โต แก้ไขโครงสร้างใบหน้าและช่องคอที่ผิดปกติ หากยังแก้ไขสาเหตุไม่ได้ อาจต้องใช้เครื่อง CPAP หรือ BiPAP ในขณะนอนหลับ ซึ่งเป็นเครื่องสร้างแรงดันบวกส่งผ่านทางท่อสู่หน้ากากที่วางครอบจมูก เพื่อช่วยให้ทางเดินหายใจเปิดโล่งและหายใจได้ดีขึ้น โดยให้ใช้จนกว่าจะแก้ไขสาเหตุได้

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook