@@ กว่าจะมีครัว! รีวิวครัวในฝัน (ก่อนทำ-หลังทำ) ตั้งแต่ ออกแบบ จนติดตั้ง และคำแนะนำการเลือกครัว วิธี

@@ กว่าจะมีครัว! รีวิวครัวในฝัน (ก่อนทำ-หลังทำ) ตั้งแต่ ออกแบบ จนติดตั้ง และคำแนะนำการเลือกครัว วิธี

@@ กว่าจะมีครัว! รีวิวครัวในฝัน (ก่อนทำ-หลังทำ) ตั้งแต่ ออกแบบ จนติดตั้ง และคำแนะนำการเลือกครัว วิธี
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

IMG_0820_resize

บอกก่อนนะคะ...ว่าไม่ใช่ครัวที่บ้านตัวเอง แต่เป็นห้องครัวของเพื่อนค่ะ พอดีคุณป้าของเพื่อนคนนี้เค้าซื้อบ้านข้างๆที่อยู่ติดกัน แล้วอยากทำเป็นห้องครัว เพื่อมอบเป็นของขวัญให้กับหลานที่เพิ่งเรียนจบทันตแพทย์มา จะได้จัดปาร์ตี้กันได้อย่างสนุกสนาน ซึ่งตัวชิ้งเองก็เคยมีประสบการณ์ทำครัวที่บ้านตัวเองมาเมื่อปลายปีก่อน เห็นว่าประสบการณ์ตรงนี้น่าจะพอเป็นประโยชน์สำหรับคนอื่นๆที่กำลังคิดอยากทำห้องครัวเหมือนกัน หรือจะอ่านเพลินๆเพื่อเก็บเป็นข้อมูลไว้ก่อนก็ได้ค่ะ เลยนำประสบการณ์ครั้งนี้มาแชร์อย่างละเอียดที่สุดเท่าที่จะทำได้ตามประสา blogger ที่ต้องคอยหา topic ดีๆมาเขียนอ่ะเน๊าะ อิอิ

 

วิธีการเตรียมตัวก่อนไปพบดีไซน์เนอร์

1 วัดพื้นที่จริงอย่างละเอียด ตรงนี้สำคัญมาก ตรงไหนมีเสา มีปลั๊กไฟตรงไหน หน้าต่างมีมั้ย ความสูงจากพื้นไปเพดานเท่าไหร่ ต้องวัดมาให้เป๊ะเลยค่ะ ถ้าสามารถ อยากให้มองหาช่องที่จะวางท่อดูดควันไว้ด้วยเลยค่ะ

2 รู้สไตล์ที่ตัวเองชอบคร่าวๆ ว่าชอบแนว Contemporary เน้นไม้ๆให้ความรู้สึกอบอุ่น, Classic ดูได้ตลอดกาล หรือ แนว Modern ที่เน้นความเรียบหรู สะอาดสะอ้านสายตา หรือ Luxury หรูหราตระการตาดาวล้านดวง

3 ตั้งงบไว้ในใจ ตัดสินใจให้ดีนะคะ แล้วทำใจแข็งๆไว้

4 รู้ฟังก์ชั่นการใช้งานในครัว เช่น ใช้ครัวบ่อยแค่ไหน ทำอาหารแนวไทยแท้? ตะวันตก? หรือทำเบเกอรี่? มีเครื่องครัวให้เก็บเยอะรึเปล่า ชอบซื้อของมาตุนมั้ย หรือเน้นไปซื้อทีละนิดแต่บ่อยๆ ฯลฯ

5 ถ้าต้องการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าเดิมที่มีอยู่แล้ว เช่น ตู้เย็น เตาอบ ไมโครเวฟ ชุดเตาแก๊ส ให้วัดขนาดไปด้วยนะคะ

6 ต้องการใช้ครัวเร็วแค่ไหน แต่ละแบรนด์ใช้เวลาเตรียมของก่อนเข้ามาติดตั้งไม่เท่ากันค่ะ มีตั้งแต่ 10 วันไปจนถึง 90 วันเลย ระยะเวลาติดตั้งก็ไม่เท่ากันอีกค่า ชิ้งเคยนะคะ นั่งคุยกับดีไซน์เนอร์เจ้านึงอยู่ตั้งนานหลายชั่วโมง หลายวัน กว่าจะได้แบบออกมา พอถามเท่านั้นแหล่ะว่าจะมาติดตั้งได้เมื่อไหร่ อีก 90 วันค่ะ >.<

 

เมื่อเราทำการบ้านมาดี การคุยกับดีไซน์เนอร์จะง่ายมากๆเลยค่ะ เริ่มจาก

1 เลือก Shape ห้องครัว ที่เหมาะกับขนาดพื้นที่ ซึ่ง Shape ที่นิยมๆกันก็จะมี I L U G ฯลฯ ทางดีไซน์เนอร์จะใช้ความชำนาญแนะนำให้ตามขนาดพื้นที่และฟังก์ชั่นการใช้งานของลูกค้าค่ะ

 

แบบรูปตัว I: เหมาะสำหรับบ้านที่มีพื้นที่จำกัด สามารถใช้ครัวเป็นทั้งห้องอาหารและห้องนั่งเล่นได้ และมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย เพราะอุปกรณ์และตู้เก็บของจะมีขอบเขต ที่แน่นอน และเป็นสัดส่วน อยู่บนแนวผนังเดียวกันทั้งหมด

bergen_image_1400x560

แบบรูปตัว L: รูปแบบนี้น่าจะได้รับความนิยมมาก เหมาะกับบ้านที่มีขนาดปานกลาง โดยมากจะวางตู้เย็นอยู่ปลายฝั่งยาวของตัว L

Skagen[1]

U Shape: เหมาะกับบ้านที่มีพื้นที่เยอะ มักจะจัดให้เตาอยู่ผนังด้านนึง ตู้เย็นอยู่อีกด้าน และอ่างล้างจานแยกอยู่อีกด้านไปเลย คนที่มีของให้เก็บเยอะ ครัวรูปทรงนี้น่าจะเป็นคำตอบค่ะ

u-shape-kitchen

แบบรูปตัว G: คล้ายครัวรูปตัวยูทุกอย่าง แต่สิ่งที่เพิ่มมาคือเพนนินซูล่า เป็นเคาน์เตอร์ที่อยู่ตรงกลางห้องเพื่อให้เป็นส่วนรับประทานอาหารเล็ก ๆ คล้ายมินิบาร์ สำหรับ 2 - 4 ที่นั่ง พื้นที่บริเวณเพนนินซูล่านี้ อาจไม่เพียงพอต่อการรับประทานอาหาร มื้อใหญ่อย่างมื้อเย็น ที่มีสมาชิกมาก แต่เหมาะสำหรับเป็นที่รับประทานอาหารเช้า หรือพื้นที่เตรียมเสิร์ฟอาหารหากมีงานเลี้ยงภายในบ้าน

g_shaped

2 เลือกรุ่นครัวที่เราชอบ ซึ่งดูตามแคตตาล็อกได้เลยค่ะ แต่ถ้าไปดูที่โชว์รูมได้จะดีมาก จะได้เห็นคุณภาพงานครัวด้วย เมื่อเราเลือกรุ่นที่ชอบได้ ไม่จำเป็นต้องมีขนาดตามรูปในแคตตาล็อกเป๊ะนะคะ ดีไซน์เนอร์เค้าจะปรับไซส์ตู้ ให้พอดีกับพื้นที่ห้องครัวของเรา นอกจากนี้ วัสดุหน้าบาน ด้ามจับ ตัวท๊อป สามารถเปลี่ยนได้เท่าที่แต่ละแบรนด์มีให้เลือกตามรุ่นนั้นๆ ขั้นตอนนี้อยากให้รู้ราคาประเมินคร่าวๆเลยค่ะ แล้วให้ทางดีไซน์เนอร์แนะนำวัสดุที่จะช่วยปรับให้อยู่ในงบที่ตั้งไว้ในใจ เช่นเลือกหน้าบานเป็นพาร์ติเคิลบอร์ดแทน MDF เพราะถูกกว่า เบากว่า หรือเปลี่ยนตัวท็อปมั้ย เพราะตรงนี้เป็นปัจจัยลำดับต้นๆของราคาครัวโดยรวมค่ะ

  • หินแกรนิตและหินธรรมชาติ  มีราคาย่อมเยาว์สุด มีลวดลายให้เลือก แต่เป็นรวยขีดข่วนได้ง่าย แนะนำให้ใช้น้ำผสมผงซักฟอกทำความสะอาท ห้ามใช้น้ำยาที่มีฤทธิ์เป็นกรดอย่างเด็ดขาด
  • หินควอท คือ หินธรรมชาติไปบดรวมกับสารเคมี เนื้อจึงมีความละเอียดมาก มีราคาแพง แต่มีความทน ไม่เป็นรอยขีดข่วนได้ง่าย
  • หินสังเคราะห์ คุณภาพดีกว่าหินแกรนิต หินอ่อนธรรมชาติ และหินอะคริลิค ไม่มีรูพรุน สามารถป้องกันการดูดซึมน้ำได้ดีมาก จึงไม่เป็นแหล่งเชื้อโรค ทนการขีดข่วน ความร้อน และกรดด่างสารเคมีได้ดี ราคาสูงกว่าหินธรรมชาติ
  • หินอะคริลิค มีส่วนผสมของอะคริลิกและโพลีเอสเตอร์ โดดเด่นในเรื่องความสวยงาม สามารถป้องกันรังสียูวีได้ ความแข็งแรงคงทนใกล้เคียงกับพื้นผิววัสดุที่ผลิตขึ้นจากธรรมชาติ แต่ทนความร้อนได้ไม่มากนัก ราคาสูง
  • หินเรซิล มีหลายลวดลาย เหมาะกับงานครัว L Shape เพราะสามารถขัดเจียหน้าได้ เมื่อปะกบกันแล้วจะไม่มีรอยต่อ เวลาเป็นรอยก็สามารถขัดได้

3 ให้การบ้านดีไซน์เนอร์ (บางแบรนด์อย่างที่บ้านคุณเพื่อนเลือกใช้จะส่งช่างมาดูหน้างานเพื่อความชัวร์ก่อนออกแบบค่ะ) จากนั้นก็รอแบบทั้ง AutoCAD และ 3D จ้า ซึ่งหลังจากเห็นแบบ ก็มักจะมีการปรับเล็กๆน้อยๆ 2-3 ครั้งก็น่าจะได้แบบแล้วค่ะ

และแล้วแบบห้องครัวทั้ง AutoCAD และ 3D ที่สมาชิกบ้านคุณเพื่อนเลือกก็ออกมาหน้าตาแบบนี้ค่ะ ^ ^

IMG_0814IMG_0815IMG_0816IMG_0817

ถือว่าเป็นห้องครัวที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ค่ะ พื้นที่ยาวแต่แคบ คือยาว 6 เมตร กว้าง 3 เมตร ครัวชุดนี้ชื่อรุ่นว่า Bianco เลือกวัสดุหน้าบานเป็น MDF ปิดผิวฟอยล์สีขาวเงา ตัวท็อปเป็นหินแกรนิตแอฟฟริกา L-Shape แต่เพิ่ม island ตรงกลาง เวลามีปาร์ตี้กับเพื่อนๆจะได้นั่งทานกันในครัวได้เลย โจทย์อีกอย่างคือเน้นเก็บเครื่องครัวได้เยอะ เลยต้องมีตู้เยอะๆค่ะ

 

ทฤษฎีที่น่าสนใจ อีกอย่างก็คือทฤษฎี 3 เหลี่ยม (เตรียม - ล้างทำ) ซึ่งก็คือการวางตำแหน่งพื้นที่เตรียม พื้นที่วางอ่างซิงค์ และพื้นที่เตาแก๊สนั่นเอง แนะนำให้วางเป็นรูป 3 เหลี่ยม จะได้ไม่ต้องเดินวนอยู่ในครัวแบบเบลอๆค่ะ โชคดีจังที่ครัวที่บ้านวางตำแหน่งได้ถูกต้องโดยไม่ตั้งใจ อิอิ

imagesZ99PALG2

 

เอาหล่ะค่ะมาดูภาพขั้นตอนการติดตั้งครัวตั้งแต่ Day 1 ไปจนเสร็จสิ้นการติดตั้งกันได้เลยจ้า

1428075216640_resize

1428075220515_resize

1428075225952_resize

การติดตั้งครัววันแรก คลังสินค้ามาส่งชุดครัวที่ลูกค้าออเดอร์ไป ถึงหน้างานเวลา 11.00 น ทางช่างยกชุดครัวลงไปที่หน้างานที่จะติดตั้ง เช็คของตาม Packing list แล้วตรวจเช็คพื้นที่ให้ตรงตามแบบก่อนติดตั้งอีกครั้ง จากนั้นก็ตั้งตู้ให้ได้ระดับด้วยเลเชอร์ แล้วยึดตู้ให้ติดกันด้วยสกรู 4 จุดด้านหน้า 2 ด้านหลัง จนครบตามแบบ

 

ถ้าเทียบกับครัว Build-in ที่บ้านตัวเองถือว่า เจ้านี้เค้าแพ็คของมาเรียบร้อยมาก ใช้เนื้อที่ในกล่องคุ้มค่าสุดๆ หน้าบานก็เบา ติดตั้งง่าย แถมไม่ส่งกลิ่นคละคุ้งตลอดการติดตั้งเหมือนที่ครัวตัวเองเจอเมื่อปลายปีที่แล้ว

Day 2

1428075234463_resize

1428075238637_resize

วันที่ 2

ประกอบตู้ต่างๆที่มาเป็นกล่อง โดยมีพวกสกรูที่มีในกล่องตู้มายึดให้แน่นและแข็งแรง นำขาตู้มายึดใส่จำนวน 4 ขายึดสกรูให้แน่น ทำแบบนี้ทั้งหมดที่เป็นกล่องตู้ หาระดับความสูงของตู้ตามแบบเช่นตู้สูง90 cm ก็ขีดใว้แล้วถ่ายระดับจากซ้ายไป ขวา ด้วยเลเชอร์ถ่ายระดับ มาร์คใว้ที่ผนังเพื่อให้ได้ระดับที่เท่ากัน

 

ขั้นตอนนี้เริ่มเห็นแล้วว่า ถึงแม้หน้าตาห้องครัวจะเป็น built-in แต่แท้จริงแล้วเป็นครัวแบบนอคดาวค่ะ สามารถถอดเป็นชิ้นๆได้ตลอดเวลา เช่นยกครัวหนีน้ำได้สบาย พอน้ำไปค่อยประกอบใหม่ เลิศ!

Day 3

1428082263666_resize

1428082267468_resize

วันที่ 3

ประกอบตู้ด้านล่าง จุดที่มีท่อน้ำทิ้ง ก็วางตู้ซิงค์ตามแบบ ปรับระดับขาตู้ ด้วยการหมุนเพื่อให้ด้านหลังขอบตู้เสมอเส้นที่มาร์คระดับไว้ แล้วจับระดับด้วยเลเชอร์ขอบบนของตู้ทั้ง4 มุม แล้วยึดตู้เข้าหากันใบต่อใบด้วยสกรู

 

การติดตั้งทำได้เร็วมาก นี่ก็ผ่านไปครึ่งทางแล้วค่ะ ทุกวันจะมีการเก็บขยะเรียบร้อยเลย

Day 4

1428082744387_resize

1428082746941_resize

1428082739643_resize

วันที่ 4

ตั้งตู้สูงต่อจากตู้ล่างโดยทำแบบเดียวกันกับการตั้งตู้ล่างครบตามแบบ นำตู้ลอยมาใส่ไฟแสงสว่างใต้ตู้ดึงสายไว้หลังตู้ (ครัวบางชุดอาจไม่มีไฟใต้ตู้) นำชัฟพอร์ตที่มีมากับตู้ลอยยึดเข้ากับผนังให้แน่น ยกตู้ลอยแขวนกับชัฟพอร์ตทำแบบนี้จนครบตามแบบ  ยึดตู้ล่างและตู้สูงให้แน่นกับผนัง และแข็งแรงที่สุด ใส่ฟิลเลอร์เข้ามุมระหว่างตู้โดยการยึดด้วยสกรูตามแบบ จากนั้นก็วัดขนาดหิน ให้ทางช่างหินไปทำการผลิต

-ใส่ฟิลเลอร์เข้ามุม(รอยต่อระหว่างมุมครัวเป็นตัวรูป L , U ถึงจะมีเหมือนบ้านนี้เป็นตัวL)

-พอใส่ฟินเลอร์แล้วยึดตู้กับผนังบ้านให้แน่น ใม่ให้ขยับ- แล้วใส่บานพลับเข้าหน้าบาน ใส่ปีกผีเสื้อเข้ากับข้างตู้

- แล้วนำมาล็อคเข้ากัน คือใส่หน้าบานตู้ทั้งหมดตามขนาดของตู้แต่ละใบ

Day 5

1428083104308_resize

1428083118073_resize

1428083123794_resize

วันที่ 5

ช่างหินนำ Top หินมาติด และเจาะขนาดบน top หินเพื่อวางเตาไฟฟ้า และซิงค์ให้พอดีตามแบบ จากนั้นก็นำหินมาวางบนตู้ครัว ใส่กาวติดหินใต้หิน และรอยต่อให้แน่น เก็บซิลิโคน ข้างหินทั้งหมด ทำความสะอาดหน้าtop หินให้เรียบร้อย ใส่หน้าบานตู้ทั้งหมด

Day 6

1428083470104_resize

1428083473368_resize

1428083477968_resize

วันที่6

ติดก๊อก ซิ้งค์ ต่อระบบน้ำดี น้ำทิ้ง และเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหมด เก็บงานซิลิโคนทั้งหมด ปรับหน้าบานให้ได้ระดับอีกครั้ง เทสน้ำดี น้ำทิ้งของซิงค์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า ทำความสะอาดส่งมอบงานเรียบร้อย

"มาถึงตรงนี้ มีใครอยากดูห้องครัวตอนเสร็จแล้วบ้างคะ อิอิ มาดูกานนนนนน"

DSC03532_resize

DSC03520_resize

DSC03527_resize

DSC03493_resize

DSC03496_resize

DSC03483_resize

DSC03487_resize

DSC03489_resize

DSC03491_resize

DSC03510_resize

สรุปข้อดี-ข้อเสียของห้องครัวของเจ้านี้ (kvik) เทียบกับ built-in ที่บ้านตัวเองค่ะ เพื่อเป็นข้อมูลช่วยเพื่อนๆตัดสินใจ

1 Kvik มีแบบ 3D ให้ดู (ซึ่งแบรนด์ทั่วๆไปก็มีให้) ในขณะที่ built-in ที่มาทำครัวให้ที่บ้านชิ้งไม่มี

2 ระยะเวลาเตรียมของก่อนเข้ามาติดตั้งของ kvik เร็วกว่ามาก หลังจากแบบเสร็จ ไม่เกิน 10 วันก็พร้อมเข้ามาติดตั้งแล้ว ในขณะที่บางเจ้าอาจใช้เวลาเตรียมของนานถึง 90 วัน เท่าที่ชิ้งรู้ถือว่าเร็วกว่าทุกแบรนด์ทั้งๆที่เป็นสินค้าที่ผลิตในยุโรป ถ้าเข้าใจผิดก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ค่ะ

3 ระยะเวลาและความชำนาญในการติดตั้ง kvik ใช้เวลาติดตั้งที่หน้างานเพียง 6 วันก็เสร็จ แต่ built-in บ้านชิ้งทำอยู่ครึ่งเดือน และเนื่องจาก kvik มีความชำนาญ มีการส่งช่างมาดูหน้างานก่อนออกแบบจริง ขบวนการติดตั้งค่อนข้างเป๊ะ ไว้ใจได้ ในขณะที่ต้องคอยกำกับช่าง built-in เองเพราะเวลาเกิดเหตุการณ์เฉพาะหน้ามักไปไม่เป็นเลย คือเหมือนระบบการทำงานเจ้าที่ชิ้งเลือกใช้ไม่มืออาชีพพอ

4 ครัวน็อคดาวน์ของ kvik วัสดุเบา แข็งแรง สามารถเคลื่อนย้ายสะดวก สามารถถอดหนีน้ำเป็นชิ้นๆได้สบาย เวลาเบื่อ หรือหน้าบานไหนเสียก็เปลี่ยนได้เลย แต่ built-in วัสดุหนัก เคลื่อนย้ายลำบาก ไม่สามารถถอดประกอบได้ เวลาเบื่อ ทำได้แค่พ่นสีใหม่

5 kvik รับประกันสินค้านานมาก รับประกันหน้าบาน 10 ปี บานพับ อุปกรณ์อื่น รับประกัน 25 ปี ในขณะที่ built-in บ้านชิ้งสัญญาปากเปล่า ตอนนี้ช่างอาจเปลี่ยนเบอร์หนีไปแร้น >.<

6 วัสดุบานพับของ kvik ใช้วัสดุนำเข้า  ผ่านการออกแบบอย่างดี มิน่าเค้าถึงกล้ารับประกันนานถึง 25 ปี คือดูแต่ตาไม่มีทางรู้ จนกว่าจะไปลองเปิด หรือดึงลิ้นชักด้วยตัวเอง ที่ชอบอยู่อย่างนึงคือเวลาผลักลิ้นชัก แล้วมีจังหวะ slow ก่อนจะปิด

7 Accessory ของ kvik มีเยอะมาก พวกลิ้นชัก ที่วางจานในตู้ ที่วางเครื่องปรุง มีหลากหลายฝุดๆ เลือกมันส์เลย ซึ่งถ้าไม่ตั้งสติดีๆ หมดตัวนะแจ๊ะ เพราะน่าใช้มากค่ะ 555 เวลาดึงลิ้นชักออกมาแล้วเจอที่วางจานสวยๆ มันเท่ห์เน้อ เอาเป็นว่าเลือกพอหอมปากหอมคอแล้วกานน้า

8 ราคาครัวของ kvik สูงกว่า ครัว built-in ที่บ้านประมาณ 20% แต่ก็จับต้องได้มากกว่าครัวไฮโซบางยี่ห้อ จากแบบห้องครัวของเพื่อนที่เห็นราคาอาจเหยียบล้านได้เลยนะคะ kvik ก็จะอยู่สูงกว่า Index SB หน่อย แต่คุณภาพถือว่าเทียบเท่าครัวไฮโซเลย แต่ราคาประหยัดกว่าเยอะ

 

ข้อแนะนำเล็กน้อยที่อยากฝากถึง kvik ก็คือน่าจะทำการตลาดมากกว่านี้ เพราะตอนที่ทำครัวตัวเอง ยอมรับว่ายังไม่รู้จัก kvik เลยไปปรึกษาแค่ที่ index SB และครัวในโฮมโปร จนมาจบด้วยเหตุผลด้านราคาที่ครัวแบบ built-in คือถ้าใครไม่ติดที่งบ แนะนำเจ้านี้เลยค่ะ ทำงานง่าย smooth มาก ไม่ปวดหัว บริการดี สินค้าคุณภาพ ทนทาน แต่ถ้าติดเรื่องงบจิงๆคงต้องยอมปวดหัวกับช่าง built-in เพราะเป็นทางเลือกที่ประหยัดสุด ประหยัดกว่านี้เห็นทีจะมีแต่ครัวสำเร็จรูปที่ยกมาวาง-เลยค่ะ แต่ครัวแบบนั้นก็ไม่สามารถใช้งานหนักได้ และอายุการใช้งานสั้นกว่า

หวังว่ากระทู้นี้จะพอเป็นประโยชน์และช่วยเพื่อนๆตัดสินใจได้ง่ายขึ้นนะคะ ขอบคุณที่อ่านจนจบ เพราะยาวมากจิงๆ 555 ขอให้เพื่อนๆได้ครัวสวยสมใจ อยู่ใน budget และสร้างความสุขให้คนทั้งครอบครัวนะคะ ^ ^

 

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook