การเรียนรู้และเปลี่ยนแปลงของเด็กวัยเรียน

การเรียนรู้และเปลี่ยนแปลงของเด็กวัยเรียน

การเรียนรู้และเปลี่ยนแปลงของเด็กวัยเรียน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

การดำเนินชีวิตของเราในสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปในโลกปัจจุบัน โดยเฉพาะในวัยเด็กที่จะเห็นได้ว่าเริ่มมีเรื่องของการเรียนนอกห้องเรียนมาเป็นปัจจัยในการต้องควักกระเป๋าจ่ายของผู้ปกครองมากขึ้น อีกทั้งค่านิยมในการวางแผนชีวิตให้กับลูกน้อยของพ่อแม่ ก็มักจะสร้างความกดดันและบีบคั้นสัญชาตญาณของการเติบโตในเด็กที่เริ่มเข้าสู่วัยเรียนอยู่ไม่น้อย ส่งผลให้เด็กจำนวนหนึ่งขาดช่วงเวลาของความเป็นเด็กไป แทนที่พวกเขาจะได้โลดแล่น เรียนรู้สิ่งต่างๆ รอบตัวได้อย่างมีความสุข กลับถูกขีดเส้นสร้างกฎ กติกาในการใช้ชีวิตจนกลายเป็นกรงขังที่จะมีผลกับพวกเขาในอนาคตตามมา

Mom & baby3
การเรียนรู้และเปลี่ยนแปลงของเด็กวัยเรียน

ดังนั้นการที่พ่อแม่พยายามเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของเด็ก เพราะหวังว่าลูกน้อยจะสามารถพัฒนาทักษะและความสามารถของตนเองได้ดี กลายเป็นเด็กที่ฉลาดในอนาคต ถือว่าไม่ใช่เรื่องที่ผิด แต่ควรพยายามให้เด็กได้เรียนรู้ไปพร้อมๆ กับลักษณะทางพฤติกรรมของพวกเขาอย่างสอดคล้อง จะช่วยให้เด็กมีพัฒนาการที่มีประสิทธิภาพและเติบโตขึ้นไปเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพร่วมด้วย โดยเด็กในวัยเรียนจะมีอายุอยู่ในช่วง 7-11 ปี ซึ่งจะมีพฤติกรรมดังต่อไปนี้

Mom & baby1
การเรียนรู้และเปลี่ยนแปลงของเด็กวัยเรียน

วัยแห่งการแสดงความสามารถ
เด็กในวัยนี้จะมีความสนใจในสิ่งที่ตนเองชื่นชอบ และพยายามทำสิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง พวกเขาพยายามที่จะเรียนรู้และฝึกฝนความสามารถของตน ดังนั้นพ่อแม่ควรสังเกตและคอยสนับสนุนลูกน้อยในด้านที่พวกเขาต้องการ เพื่อช่วยเสริมสร้างทักษะให้ความสามารถนั้นๆ โดดเด่นและพัฒนามากขึ้นไป

Mom & baby2
การเรียนรู้และเปลี่ยนแปลงของเด็กวัยเรียน

วัยแห่งการเลียนแบบ
เด็กในวัยนี้จะต้องไปพบเจอกับสังคมภายนอกมากขึ้น ดังนั้นจะส่งผลให้เด็กพยายามจดจำสิ่งแวดล้อมและพฤติกรรมต่างๆ ของผู้คนที่ใกล้ชิด จนกลายเป็นพฤติกรรมเลียนแบบ ในช่วงเวลานี้พ่อแม่ควรจัดหาสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม และพยายามทำตัวเองให้เป็นแบบอย่างที่ดีของลูก

Mom & baby4
การเรียนรู้และเปลี่ยนแปลงของเด็กวัยเรียน

วัยแห่งการสร้างมิตรภาพ
ในวัยนี้เด็กจะต้องการมีสังคมเชื่อมโยงกับเพื่อนฝูงภายนอกมากขึ้น และพวกเขาก็พยายามที่จะพูดคุยเรียนรู้ระหว่างกัน มีการแบ่งปันสิ่งของ ของเล่น หรือการร่วมเล่นด้วยกันเพื่อสร้างมิตรภาพ ดังนั้นพ่อแม่ก็ควรปล่อยให้ลูกน้อยได้มีเวลาเล่นสนุกตามประสาเด็กบ้าง ก็จะช่วยให้พวกเขาเป็นเด็กร่าเริงแจ่มใส ไม่เก็บกด และยังช่วยให้เป็นคนที่เข้ากับคนอื่นได้ง่ายอีกด้วย

ทั้งนี้ พฤติกรรมของเด็กก็เป็นสิ่งที่พ่อแม่จะต้องคอยสังเกตการเปลี่ยนแปลง ไม่ควรสร้างความกดดันหรือพยายามสอนสิ่งต่างๆ ที่เด็กยังไม่เข้าใจ เพราะนอกจะไม่ได้ประโยชน์แล้ว ยังทำให้เด็กเกิดการต่อต้าน จนกลายเป็นเด็กมีปัญหาตามมาได้

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook