เมื่อลูกน้อยเข้าสู่เดือนที่ 4

เมื่อลูกน้อยเข้าสู่เดือนที่ 4

เมื่อลูกน้อยเข้าสู่เดือนที่ 4
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

 

เดือนที่ 4

ลักษณะลูกน้อย
วัยนี้ลูกก็ใกล้พ้นคำว่าวัยแบเบาะเข้าไปทุกที เพราะลูกน้อยเริ่มจะไม่ยอมอยู่นิ่งๆอีกต่อไป ลูกกำลังสนุกกับการพลิกคว่ำ เป็นการฝึกฝนกล้ามเนื้อหลังให้แข็งแรง เตรียมพร้อมที่จะนั่งได้เดือนต่อไป จากเมื่อก่อนที่ถึงเวลาอาบน้ำทีไร คุณแม่จะมือสั่นรีบอาบให้เพราะเสียงร้องของลูก แต่มาเดือนนี้ถึงเวลาอาบน้ำ มักจะได้ยินเสียงหัวเราะแทน เพราะลูกชอบเตะและตีน้ำอย่างสนุกสนาน เด็กบางตนถึงกับร้องไห้เมื่อถูกเอาขึ้นจากน้ำ

คุณแม่จะสังเกตว่าตามหมอนนอนลูกจะมีเส้นผมบางๆของลูดร่วงหล่นอยู่(ถ้าไม่ได้โกนผมไฟเสียก่อน) เพราะช่วงนี้จะเป้นช่ววงที่ผลัดผมใหม่ สี และลักษณะของเส้นผมที่ขึ้นใหม่นี้ จะเป็นลักษณะเฉพาะตัวของเด็กแล้ว


อาการที่อาจเกิดขึ้น
• น้ำหนักตัวไม่ขึ้น

เมื่อ 3 เดือนที่ผ่านมา เวลาชั่งน้ำหนักตัวให้ลุกทีไร คุรแม่ยิ้มแก้มปริทุกที เพราะน้ำหนักตัวลูกขึ้นดีจัง แต่มาปลายเดือนที่ 4 คุณแม่บางคนอาจเกิดความวิตกกังวลว่าลูกเป็นอะไรหรือเปล่าน้ำหนักกระเตื้องขึ้นนิดเดียวเอง คุณแม่ต้องกลับมาดูว่า ลูกคุณเป็นคนกินเก่งโดยเฉพาะเด็กที่กินนมแม่ ให้วังเกตว่า ถ้าลูกยังขับถ่ายปกติ ร่าเริงและนอนได้ดีขึ้น ถึงแม้น้ำหนักตัวจะขึ้นเพียงเล็กน้อย แต่ลูกก็ยังแข็งแรง ก็ไม่ต้องตกใจอะไร เพราะพื้นฐานลูกเป็นเด็กกินน้อยคุณแม่อาจดูที่กราฟน้ำหนักว่าลูกน้อยอยู่ในเกณฑ์หรือไม่ ยังไม่จำเป็นที่คุณแม่ต้องหาวิตามินเสริมหรอกค่ะ

• ร้องไห้กระทันหัน
การร้องไห้กับเด็กเล้กเป็นเรื่องปกติ แต่อาการการร้องไห้บางอย่างก็ผิดปกติอย่างการร้องไห้แบบแผดเสียงขึ้นมาอย่างกระทันหัน และดิ้นไปดิ้นมาอยู่ประมาร 5 นาที แล้วก็เงียบไป พอได้เล่นของเล่นหรือหลังกินนมประมาร 5 นาทีก็ร้องไห้ขึ้นมาอีก ร้องแบบงอขาเข้ามา ร้องแบบนี้ได้สัก 2-3 ครั้ง ก็อาเจียนนมออกมาเด็กบางคนอาเจียนนมออกมาก่อนแล้วร้องไห้แบบนี้ ก็แสดงว่าอาจเกิดอาการลำไส้กลืนกัน ต้องรับพาไปหาหมอโดยด่วน แต่ถ้าร้องไห้ อาเจียน แล้วก็หลับไป ไม่ได้ร้องเป็นระลอก แสดงว่าไม่ได้เป็นโรค


พัฒนาการของลูก
• ร่างกาย

o กล้ามเนื้อคอค่อยๆแข็งแรงมากขึ้น ตั้งตรงและหันไปรอบๆได้ คุณแม่อุ้มลูกน้อยได้สบายมากขึ้น
o เมื่อจับนอนคว่ำ ยกศรีษะได้เกือบตั้งฉาก แถมยังยกขายกมือได้
o ถ้าให้นอนหงายจะใช้มือจับขา
o พลิกคว่ำได้ ช่วงแรกจะพลิกจากคว่ำไปหงายข้างใดข้างหนึ่งก่อน สักพักเมื่อลูกพลิกคล่อง ไม่ว่าจะคว่ำหรือหงายอยู่ก็พลิกได้คล่อง
o ใช้นิ้วมือในการจับสิ่งของได้มากขึ้น แต่ยังไม่คล่องนัก เริ่มใช้นิ้วโป้ง นิ้วชี้ ชอบจับ สิ่งของเข้าปาก
o ชอบเล่นน้ำลาย ส่งเสียงอ้อแอ้ อยากพูดอยากทักทาย หรือโต้ตอบ

• สังคม
o จำหน้าคนและคุ้นเคยได้มากขึ้น
o รู้จักชอบของเล่นชิ้นใด้ชิ้นหนึ่งเป็นพิเศษ แต่เด็กบางคนอาจไม่แสดงอาการนี้ก็ได้
o ส่งเสียงแสดงอารมณ์ความรู้สึกของตัวเองได้ชัดเจนขึ้น เช่น รู้สึกพอใจ สนุก ก็จะหัวเราะชอบใจขึ้นมา
o เริ่มมองและยิ้มกับตัวเองในเงากระจก
o สนใจของเล่นมากขึ้น ชอบเล่นทั้งของเล่นและคนรอบข้าง


• เล่นกับหนูหน่อย
o เวลาเล่นกับลูก ให้คุณแม่ออกท่าทางหน้าตาเกินจริง เป็นการตอบสนองความสนใจของลุกน้อยได้ดี วัยนี้ยังชอบเสียงร้องเพลงของคุณแม่อยู่เสมอ
o หาของเล่นที่หลากหลาย แต่เน้นความปลอดภัยให้ลูกได้เรียนรู้เสียง สัมผัส ผ่านของเล่น และการเล่นกับคุณแม่

 

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook