12 สาเหตุที่ทำให้ผู้หญิงผมร่วง

12 สาเหตุที่ทำให้ผู้หญิงผมร่วง

12 สาเหตุที่ทำให้ผู้หญิงผมร่วง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เมื่อพูดถึงหัวล้าน เรามักจะนึกภาพไปถึงผู้ชาย วัยกลางคน แต่เชื่อหรือไม่ คำว่าหัวล้าน กลับกลายเป็นเรื่องที่ไม่ไกลตัวสำหรับผู้หญิงเสียแล้ว มีการสำรวจพบว่า ผู้หญิงอเมริกันประมาณ 40 เปอร์เซนต์ ต้องเจอกับปัญหานี้ แน่นอนว่า มันน่าตกใจ หากวันนี้คุณเริ่มสังเกตุเห็นว่าผมของคุณร่วงมากกว่าปกติ เห็นที่จะต้องมาหาสาเหตุและวิธีแก้ไขกันแล้ว และ 12 สาเหตุต่อไปนี้ เป็นสาเหตุหลัก ๆ ที่ทำให้ผู้หญิงผมร่วง

1. ความเครียด ผู้หญิงเกิดความเครียดได้จากหลายเรื่อง ทั้งเรื่องของความสัมพันธ์กับคนรัก เรื่องงาน หรือเรื่องที่ทำให้เกิดความอับอายอื่น ๆ และความเครียดนั้นก็ส่งผลกระทบหลายอย่างต่อร่างกาย หนึ่งในนั้นก็คือผม เพราะเมื่อเครียดระดับฮอร์โมนทอสเทสเทอโรนในร่างกายก็จะเพิ่ม และส่งผลกระทบต่อวงจรการเจริญเติบโตของเส้นผม และวิธีที่จะแก้ไขได้ดีที่สุด ก็คือการพยายามหาทางลดความเครียดนั่นเอง อาจจะหากิจกรรมคลายเครียด เช่น การเล่นโยคะ การออกกำลังกาย หรือการเข้ารับการรักษา เมื่อระดับความเครียดลดลงผลกระทบในเรื่องของผมร่วงก็จะน้อยลงเช่นกัน

2. การตั้งครรภ์ หลังคลอดลูกผู้หญิงบางคนจะผมร่วงได้ มีการสำรวจพบว่า ผู้หญิง 50 เปอร์เซนต์เคยมีปัญหานี้ ซึ่งนั่นเป็นเพราะการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ซึ่งเกิดขึ้นหลังคลอด การที่ผมร่วงเพราะสาเหตุนี้ ไม่ต้องกังวล เมื่อร่างกายกลับเข้าสู่ภาวะปกติผมก็จะหยุดร่วงเอง ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้เวลาประมาณ 6-12 สัปดาห์

3. โลหิตจาง คนที่เป็นโรคโลหิตจางนั้น ร่างกายจะส่งผ่านอ๊อกซิเจนไปยังส่วนต่าง ๆ ได้ไม่ดีนัก ซึ่งนั่นก็ส่งผลกระทบไปยังเส้นผมด้วย หากผมร่วงเพราะกรณีนี้ ต้องเข้ารับการรักษาจากแพทย์ และอาจจะต้องรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็ก เช่นพวกปลา ผักใบเขียว และเนื้อสัตว์ แต่หากอยู่ในวัยหมดประจำเดือนด้วยแล้ว แพทย์อาจจะแนะนำให้เสริมธาตุเหล็ก เพิ่มขึ้นจากการรับประทานอาหารปกติในทุก ๆ วัน

4. ผมร่วงจากพันธุกรรม หากพบว่า มีคนในครอบครัว มีประวัติผมร่วง หรือหัวล้าน เมื่อเกิดปัญหาขึ้นกับเรา ก็มีความเป็นไปได้ว่า สาเหตุผมร่วงก็คือเป็นเพราะการได้รับการถ่ายทอดทางพันธุกรรม การแก้ไขนั้น ต้องปรึกษาแพทย์ ซึ่งปัจจุบันนี้ จะมียาหลากหลายชนิดที่จะช่วยบรรเทาปัญหาได้

5. การมัดผมหางม้า การรวบผมหางม้านั้นเป็นวิธีที่ง่าย ในการจัดแต่งไม่ให้ผมลงมาปกปิดใบหน้า แต่การรวบหางม้านั้น เป็นการทำร้ายเส้นผมอย่างแรง ยิ่งรัดแน่นตึงมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งเป็นการทำร้ายรูขุมขน และทำให้ผมร่วงลงมา วิธีแก้ไขก็คือ อย่ารัดให้แน่นจนเกินไป และไม่ควรทำผมทรงนี้เป็นประจำทุกวัน เลือกสไตล์อื่น ที่ไม่แน่นและตึงจนทำร้ายเส้นผมมาสลับกันบ้าง

6. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ไม่เพียงพอ มีผู้หญิงหลายคน มีปัญหาในเรื่องนี้ เมื่อรับประทานอาหารไม่เพียงพอ หรือไม่มีประโยชน์ ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายก็ได้รับผลกระทบรวมไปถึงผมด้วย หากใครที่มีปัญหาผมร่วมเพราะสาเหตุนี้ ให้เพิ่มการรับประทานโปรตีน ทั้งในมือเช้าและมื้อกลางวัน อาจจะเป็นอาหารจำพวกไข่ ปลา เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน สัตว์ปีก ถั่ว รวมทั้งผักด้วย

7. มีภาวะไทรอยด์ ความผิดปกติของไทรอยด์นั้น ส่งผลหลายอย่าง อาจจะสังเกตุได้ว่า น้ำหนักเปลี่ยนแปลงไป ผิวหนังซีดแห้ง และอีกอย่างหนึ่งที่สังเกตได้ชัดก็คือผมร่วง หากมีปัญหาผมร่วงจากความผิดปกติของไทรอยด์ ต้องปรึกษาแพทย์ เมื่อได้รับยารักษา ระดับฮอร์โมนก็จะกลับมาเป็นปกติ ส่งผลให้ภาวะผมร่วงหลับมาเป็นปกติด้วยเช่นกัน

8. ใช้ความร้อนจัดแต่งทรงผมบ่อยเกินไป แน่นอนว่า ความร้อนทำให้ผมเสีย แต่ผู้หญิงส่วนใหญ่ ก็ต้องใช้ความร้อนในการจัดแต่งทรงผมเป็นประจำทุกวัน หากเริ่มมีปัญหาผมร่วง ก็ควรลองหาสไตล์ในการจัดแต่งทรงผมใหม่ หรือใช้อุปกรณ์ที่มีความร้อนน้อยลง รวมทั้งบำรุงเส้นผมด้วย

9. การเร่งลดน้ำหนัก การลดน้ำหนัก ควรทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป การเร่งเพื่อให้ลดลงมากในเวลาอันสั้น ส่งผลเสียต่อสุขภาพหลายด้าน และทำให้ผมร่วงได้ด้วย หากมีปัญหานี้ ควรรับประทานโปรตีน และวิตามินเสริม และปรับวิธีการลดน้ำหนัก ให้เป็นไปในแนวทางที่เหมาะสม

10. การใช้สารเคมีกับเส้นผม เป็นการทำร้ายเส้นผม เช่นเดียวกับการใช้ความร้อน เมื่อเส้นผมโดนสารเคมี ก็จะอ่อนแอลง บางลง ผมแห้ง แตก และหลุดร่วงลงมาในที่สุด วิธีแก้ไขก็คือ ไม่ควรให้ผมโดนสารเคมีบ่อยเกินไป ในการทำสี หรือใช้สารเคมีเพื่อวัตถุประสงค์อื่นกับเส้นผม ควรเว้นระยะห่างในแต่ละครั้งอย่างน้อย 8 สัปดาห์

11. มีรังแค บ่อยครั้งที่การมีรังแค มาพร้อม ๆ กับอาการผมร่วง วิธีแก้ไขคือต้องพยายาทำให้หนังศีรษะมีสุขภาพดี ไม่แห้ง และหลุดลอกออกมา อาจจะใช้แชมพูที่มีสูตรป้องกันรังแคโดยเฉพาะ หรือใช้น้ำมันอัลมอนเข้าช่วย ถ้าปัญหามากขึ้น ควรพบแพทย์ เพราะสาเหตุอาจจกลายเป็นเรื่องอื่น เช่นมีเชื้อราก็เป็นได้

12. มีความผิดปกติเกี่ยวกับรอบเดือนและรังไข่ ภาวะดังกล่าวนี้ ส่งผลกระทบต่อเส้นผม เพราะร่างกายมีผลิตฮอร์โมนแอนโดรเจนมากเกินไป ทำให้ผมมีการเติบโตช้าลง วิธีการรักษานั้นมีความซับซ้อน ต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์ ในการที่จะทำให้ฮอร์โมนมีความสมดุลย์ และจะทำให้เส้นผม งอกขึ้นมาเป็นปกติได้

http://www.womansday.com/style/beauty/g2605/hair-loss-women-facts/

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook