นิสิตสัตวแพทย์ฯ มก. ขาดแคลนอาจารย์ใหญ่

นิสิตสัตวแพทย์ฯ มก. ขาดแคลนอาจารย์ใหญ่

นิสิตสัตวแพทย์ฯ มก. ขาดแคลนอาจารย์ใหญ่
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นิสิตสัตวแพทยฯ มก. ขาดแคลนอาจารย์ใหญ่ ประกาศขอรับบริจาคซากสุนัข ไปใช้ทำการเรียนการสอน ผู้สื่อข่าวรายงานเมื่อวันที่ 23 มี.ค. ภายหลังได้รับการเปิดเผยจาก รศ. พ.อ.หญิง มาลีวรรณ เหลี่ยมศิริเจริญ อาจารย์ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ว่า ก่อนหน้านี้การเรียนการสอนลักษณะโครงสร้างทางกายวิภาคศาสตร์ของนิสิตสัตวแพทย์จะเรียนจากซากม้า บางครั้งเป็นหมู วัว จากโรงฆ่าสัตว์ หรือสุนัขจรจัดข้างถนน ซึ่งไม่ปลอดภัย มีแนวโน้มนำโรคที่เป็นพาหะสู่คน จึงริเริ่มโครงการนำสุนัขมาเป็นอาจารย์ ใหญ่ เนื่องจากเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สามารถใช้ทด แทนสัตว์ชนิดอื่นได้ ทั้งนี้ การเรียนการสอนของนิสิตนักศึกษาสัตวแพทย์ เหมือนกับการเรียนของนักศึกษาแพทย์ วิชาเบื้องต้นที่ต้องเรียนรู้ คือการเรียนรู้เกี่ยวกับร่างกายของสัตว์ทั้งหลาย โดยเฉพาะทุกวันนี้ใช้สุนัขเป็นต้นแบบ ในการศึกษาวิชาเหล่านี้ รศ.พ.อ.หญิง มาลีวรรณกล่าวอีกว่า ปรากฏว่าขณะนี้ซากสัตว์สุนัขขาดแคลนอย่างหนัก เพื่อให้นิสิตคณะ สัตวแพทย์ ชั้นปีที่ 1 จำนวน 120 คน เรียนวิชากายวิภาคศาสตร์ ด้วยการใช้สุนัขเป็นอาจารย์ใหญ่ ผ่าดูระบบของร่างกาย ผิว กล้ามเนื้อ เส้นประสาท อวัยวะทั้งหมด เป็น เวลา 1 ปีครึ่ง หรือ 3 เทอม โดยนิสิตสัตวแพทย์ 4 คน ใช้สุนัขเป็นอาจารย์ใหญ่ 1 ตัว ทำให้ต้องใช้ประมาณ 30 ตัว เพราะไม่ใช่นิสิตสัตวแพทย์อย่างเดียว แต่นิสิตเทคนิคการสัตวแพทย์ที่ต้องเรียนการเจาะเลือด การตรวจเชื้อโรคชนิดต่างๆ ก็ต้องเรียนด้วย ดังนั้น คณะสัตวแพทยศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ จึงริเริ่มโครงการรับบริจาคสุนัขที่เสียชีวิตขึ้นที่โรงพยาบาลสัตว์ ม.เกษตรศาสตร์ โดยเจ้าของต้องไปเขียนแบบฟอร์มการบริจาคและนำสุนัขไปเอง มีหลักเกณฑ์ คือเสียชีวิตไม่เกิน 24 ชั่วโมง ไม่ได้เสียชีวิตจากโรคติดต่อร้ายแรง เช่น โรคพิษสุนัขบ้า โรคเลปโตสไปโรซีส (โรคฉี่หนู) เป็นต้น และไม่ได้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุที่ทำให้อวัยวะภายในฉีกขาด กระดูกแตก แข้งขาหัก ซึ่งสัตวแพทย์จะเป็นผู้วินิจฉัยว่าสุนัขตัวใดเข้าหลักเกณฑ์ หรือไม่ ซึ่งระยะแรกนี้จะขอรับบริจาคสุนัขที่เสียชีวิตในรพ.สัตว์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ ที่สัตว-แพทย์ตรวจแล้วว่าไม่ได้เสียชีวิตด้วยโรคติดต่อร้ายแรง สำหรับขั้นตอนหลังได้ซากสุนัขมาแล้วนั้น อาจารย์ ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ ม.เกษตร-ศาสตร์ กล่าวว่า สุนัขที่ถูกบริจาค ขั้นตอนแรกจะถูกฉีดน้ำยารักษาสภาพเข้าในเส้นเลือดแดงบริเวณคอ และวันถัดไปจึงจะฉีดน้ำยางพาราผสมสี เพื่อให้เห็นรายละเอียดของเส้นเลือด ต่อจากนั้นจึงดองด้วยน้ำยาฟอร์มาลินและสารประกอบอื่นๆ ไว้อีก 2-3 เดือน เพื่อรักษาสภาพไม่ให้ เน่าเปื่อย เมื่อดองได้ที่ก็สามารถนำมาเรียนได้ ซึ่งก่อนเรียนจะมีพิธีอุทิศส่วนกุศลให้ โดยมีพระสงฆ์มาทำพิธี ในห้องเรียน และทำสังฆทานให้ แล้วนำมาผ่าดูชิ้นส่วนอวัยวะทุกชิ้นอย่างคุ้มค่าที่สุด หลังเรียนเสร็จแล้วจะส่งซากสุนัขไปเผาทำลายซากตามระเบียบการปฏิบัติของโรงพยาบาลสัตว์ทั่วไป อย่างไรก็ตาม นิสิตสัตวแพทย์ทุกคนต่างยกให้สุนัขเป็นอาจารย์ มักนำพวงมาลัยมาไหว้ โครงกระดูกสุนัขอยู่เสมอ โดยเฉพาะช่วงฤดูการสอบจะมี การนำพวงมาลัยมาไหว้โครงกระดูกสุนัขเพื่อขอให้สอบผ่าน

อัลบั้มภาพ 2 ภาพ

อัลบั้มภาพ 2 ภาพ ของ นิสิตสัตวแพทย์ฯ มก. ขาดแคลนอาจารย์ใหญ่

นิสิตสัตวแพทย์ฯ มก. ขาดแคลนอาจารย์ใหญ่
นิสิตสัตวแพทย์ฯ มก. ขาดแคลนอาจารย์ใหญ่
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook