To Be a Perfect Mom by Huggies : The Beginning

To Be a Perfect Mom by Huggies : The Beginning

To Be a Perfect Mom by Huggies : The Beginning
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
เมื่อคุณแม่รู้ตัวว่าตั้งครรภ์ สิ่งแรกที่คุณแม่ทุกคนคิดก็คือ การอยากเป็นคุณแม่ที่ดีที่สุด และอยากเห็นลูกน้อยที่กำลังจะเกิดมาแข็งแรงสมบูรณ์ และคลอดออกมาอย่างปลอดภัย ทั้งหมดนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ใช่เรื่องยาก ถ้าเราเตรียมตัวพร้อมทุกอย่างต้องดีแน่นอน ตั้งครรภ์, ท้อง เรามาเริ่มต้นกันที่การนัดฝากครรภ์ เป็นขั้นตอนแรกที่สำคัญ การฝากครรภ์จะต้องทำเมื่อครรภ์มีอายุ 8-12 สัปดาห์ค่ะ ควรจะเลือกโรงพยาบาลที่ใกล้บ้านจะเป็นการดี คุณแม่อาจจะลองสอบถามข้อมูลในการฝากครรภ์ของทุกโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้ๆ บ้าน หรือที่ง่ายขึ้นมาอีกหนึ่งสเต็ปคือ ถามเพื่อนๆ ที่เคยตั้งครรภ์มาก่อน พวกเธอต้องมีข้อมูลดีๆ แน่นอน แต่อาจจะเป็นได้เหมือนกันที่โรงพยาบาลที่เพื่อนๆ ว่าดีนั้นอยู่ไกลเหลือเกิน ก็ต้องลองหาข้อสรุปกับคุณสามีว่าพร้อมและมีเวลาในการรับส่งมากน้อยแค่ไหน ถ้าลงตัวทั้งสองฝ่าย คุณก็จะได้โรงพยาบาลที่ไว้ใจได้ เพราะมีคนช่วยการันตี แต่ถ้าไม่สะดวก คงต้องฝากเพื่อนสาวไปเม้าท์กับคนที่ออฟฟิศของพวกเธอ รับรองว่าทีนี้ข้อมูลจะไหลมาหาคุณอย่างล้นหลามเลยทีเดียว แต่อีกวิธีที่ผู้หญิงยุคใหม่อินกันสุดๆ ก็คือการหาข้อมูลดีๆ จากอินเทอร์เน็ต เดี๋ยวนี้มีชุมชนออนไลน์ของคนหลายกลุ่ม และแน่นอนว่าชุมชนของคุณแม่คนเก่งก็ต้องมีเหมือนกัน ลองค้นหาดู รับรองว่าจะมีข้อมูลดีๆ จากประสบการณ์ตรงให้คุณได้เก็บมาใช้มากมาย กัลยาณมิตรมีมากมายในโลกไซเบอร์ค่ะ ถามปุ๊บ ตอบกลับปั๊บ เมื่อได้โรงพยาบาลแล้ว เรามาลงรายละเอียดกันว่าการตรวจครรภ์ในแต่ละครั้งที่คุณหมอนัดมีรายละเอียดอะไรบ้าง การตรวจเลือด ขั้นตอนนี้เป็นปราการด่านแรกเพื่อตรวจหาอุปสรรคทุกอย่างในการคลอดบุตรของคุณแม่ โดยจะเก็บตัวอย่างเลือดไม่เกินหนึ่งช้อนชา การตรวจหลักๆ มีอยู่ 4 อย่างด้วยกันคือ 1. ตรวจหมู่เลือดว่าเป็น Rh บวกหรือลบ ถาแม่กับลูกมี Rh ไม่ตรงกัน ต้องได้รับการรักษาด่วนเลยค่ะ 2. เช็คว่าคุณแม่มีภาวะโลหิตจางหรือไม่ 3. ตรวจหาสาร AFP ซึ่งถ้ามีสารนี้อยู่ เด็กจะความเสี่ยงการเกิดอาการกระดูกสันหลังโป่งพอง 4. ดูเปอร์เซ็นต์ความเสี่ยงของการเป็นโรคดาวน์ซินโดรม โดยจะต้องเก็บน้ำคร่ำที่อยู่รอบๆ ตัวเด็กมาพิจารณาร่วมด้วย การตรวจความดันโลหิต จะทำทุกครั้งที่คุณแม่ไปตรวจครรภ์ ซึ่งถ้าคุณแม่มีความดันโลหิตสูง จะส่งผลร้ายแก่ลูกที่อยู่ในครรภ์ ถ้าพบภาวะนี้แพทย์จะแนะนำการปฏิบัติตัวให้คุณแม่มีความดันในระดับปกติทันที การตรวจปัสสาวะ คุณแม่ควรเตรียมปัสสาวะใส่ขวดมาจากบ้านเลยจะดีที่สุด ซึ่งการตรวจปัสสาวะนี้ทำเพื่อตรวจระดับน้ำตาลในเลือด เพราะถ้าคุณแม่เป็นโรคเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ จะทำให้ครรภ์เป็นพิษได้ค่ะ การชั่งน้ำหนักตัว ไม่จำเป็นต้องชั่งทุกครั้งก็ได้ เพราะน้ำหนักไม่ค่อยมีผลอะไรในการเจริญเติบโตของลูกน้อย แต่ เพื่อความแน่ใจของคุณแม่ ก็ชั่งทุกครั้งก็ได้ อย่างน้อยก็เป็นข้อมูลให้คุณหมอเอาไว้ใช้ในการวินิจฉัยครรภ์ร่วมกับการตรวจอื่นๆ ได้ค่ะ หัตถการ ดูจากรากศัพท์แล้ว คุณแม่ก็จะพอทราบว่าต้องเกี่ยวกับมือหรือการนวด แต่สำหรับการตรวจครรภ์นั่นคือการคลำเด็กนั่นเอง ซึ่งคุณแม่จะทราบว่าขนาดตัวของลูกน้อยใหญ่ขึ้นแค่ไหน และอยู่ในท่าใด แต่ถ้าอยากจะเห็นภาพด้วย ก็ต้องไปต่อกันที่การอัลตร้าซาวด์ค่ะ การทำอัลตร้าซาวด์ หลักการก็คือการใช้คลื่นเสียงความถี่สูงเข้าไปกระทบวัตถุ แล้วสะท้อนกลับมาแสดงภาพวัตถุนั้นๆ ซึ่งวัตถุของคุณแม่ก็คือเจ้าตัวน้อยนั่นเอง ซึ่งการอัลตร้าจะทำได้เมื่อมีอายุครรภ์ 14-16 สัปดาห์ คุณแม่หลายคนอาจจะกังวลว่าจะเจ็บหรือเปล่า ขอบบอกว่าไม่เลยแม้แต่นิดเดียวค่ะ แถมใช้เวลาไม่นานด้วย สำหรับขั้นตอนของการอัลตร้าซาวด์นี้แพทย์รังสีวิทยาะเป็นคนทำหน้าที่นี้ โดยจะให้คุณแม่นอนราบบนเตียง แล้วทาเจลไปบนหน้าท้อง ต่อด้วยการใช้อุปกรณ์ขนาดมือถือกวาดไปทั่วท้อง คุณแม่ก็จะสามารถดูภาพของลูกน้อยที่อยู่ในท้องผ่านหน้าจอ ทิปสำหรับการอัลตร้าซาวน์ก็คือ คุณแม่จะต้องดื้มน้ำเยอะๆ เพื่อให้มดลูกยกตัวสูงงขึ้น ภาพที่ปรากฏบนหน้าจอจะชัดเจนมากขึ้น ภาพที่ปรากฏให้คุณแม่ได้ตื่นเต้นนั้นมหัศจรรย์จริงๆ ค่ะ คุณจะได้เห็นขนาดของลูกน้อย ท่าทาง อวัยวะและกระดูก และจำนวนของเด็ก และที่ขาดไม่ได้ก็คือเพศของลูกน้อยนั่นเอง ซึ่งขั้นตอนการอัลตร้าซาวด์นี้หลายครอบครัวอาจจะไม่ทำก็ได้ถ้าอยากจะลุ้นสดๆ แต่ทางที่ดีขอแนะนำให้ทำจะดีกว่า เพราะการอัลตร้าซาวด์นั้นจะช่วยป้องกันการเกิดความผิดปกติบางอย่างได้ด้วย นอกจากนี้ยังมีส่วนที่สำคัญกับความปลอดภัยของลูกน้อยด้วย นั่นก็คือตำแหน่งที่แน่นอนของลูก เพื่อช่วยให้สามารถเจาะน้ำคร่ำมาตรวจได้ง่าย และตำ แหน่งของรก ซึ่งจะมีความสำคัญในช่างปลายของการตั้งครรภ์ ถ้าตำแหน่งของรกอยู่ต่ำไปอาจทำให้เกิดภาวะตกเลือดได้ค่ะ นอกจากการตรวจทั้งหมดที่กล่าวไว้ข้างต้นแล้ว ยังมีการตรวจอื่นๆ ที่คุณแม่อาจจะได้ทำเพิ่ม อาทิเช่น การให้คุณแม่บ้วนปากด้วยน้ำยาเพื่อเช็คว่าคุณแม่เป็นพาหะโรคซิสติกไฟโบรซิสหรือไม่ เป็นต้น ได้ความรู้กันไปไม่มากก็น้อยนะคะ สำหรับความรู้ดีๆ จาก Huggies ในตอนแรก คุณแม่มือใหม่ทุกคนอย่าลืมติดตามตอนที่ 2 นะคะ ซึ่งจะเป็นเรื่องราวของการออกำลังกายค่ะ ห้ามพลาดเด็ดขาด

อัลบั้มภาพ 2 ภาพ

อัลบั้มภาพ 2 ภาพ ของ To Be a Perfect Mom by Huggies : The Beginning

To Be a Perfect Mom by Huggies : The Beginning
To Be a Perfect Mom by Huggies : The Beginning
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook