วิธีเลิกกาแฟ ขาดคาเฟอีนอย่างไรไม่ให้ปวดหัว

วิธีเลิกกาแฟ ขาดคาเฟอีนอย่างไรไม่ให้ปวดหัว

วิธีเลิกกาแฟ ขาดคาเฟอีนอย่างไรไม่ให้ปวดหัว
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

คาเฟอีนสารกระตุ้นยอดนิยมพบได้ในชา กาแฟ น้ำอัดลม และเครื่องดื่มชูกำลัง แม้คาเฟอีนจะช่วยให้รู้สึกตื่นตัว กระปรี้กระเปร่า แต่การเลิกคาเฟอีนนั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย อาการปวดหัวเป็นอาการขาดที่พบบ่อย เมื่อคุณพยายามเลิกคาเฟอีน เพราะร่างกายเคยชินกับคาเฟอีน  เมื่อหยุดบริโภคกะทันหัน ร่างกายจึงตอบสนองด้วยอาการปวดหัว

วิธีเลิกคาเฟอีน

การเลิกคาเฟอีนแบบหักดิบนั้นทำได้ยาก และอาจส่งผลต่อร่างกายในทางที่ไม่พึงประสงค์ ดังนั้นแนะนำให้ลดปริมาณคาเฟอีนที่บริโภคประจำวันลงทีละน้อย อาจจะลองลดปริมาณลงครึ่งหนึ่งในสัปดาห์แรก แล้วลดอีกครึ่งหนึ่งในสัปดาห์ที่สอง บางคนพบว่าการเปลี่ยนไปดื่มกาแฟผสมดีแคฟ แล้วค่อยๆ เปลี่ยนเป็นดีแคฟ ล่ะจากนั้นก็ค่อยๆ แทนที่ดีแคฟด้วยเครื่องดื่มที่ไม่มีคาเฟอีนชนิดอื่นๆ วิธีนี้ใช้ได้กับชาหรือน้ำอัดลมเช่นกัน

การทานวิตามินบีรวมอาจช่วยลดความเครียดจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคคาเฟอีนได้ โสมมีการใช้ในแพทย์แผนจีนมาหลายพันปี ช่วยเพิ่มความสามารถในการรับมือกับความเครียดจากภายนอก

ถ้ายังอยากดื่มเครื่องดื่มร้อนๆ ลองเปลี่ยนไปดื่มชาเขียวหรือชาสมุนไพร ชาเขียวหนึ่งถ้วยมีคาเฟอีนประมาณ 30-35 มิลลิกรัมเท่านั้น แต่ยังมีโพลีฟีนอลซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประโยชน์ ช่วยป้องกันโรคมะเร็งได้ นอกจากนี้ชาสมุนไพรที่ไม่มีคาเฟอีนก็เป็นอีกทางเลือกที่ดี

คุณอาจจะแปลกใจกับชาสมุนไพรชนิดต่างๆ และชาสมุนไพรผสมที่มีวางขายตามร้านขายอาหารเพื่อสุขภาพ คุณสามารถลองดื่มชาสมุนไพรชนิดต่างๆ สลับกันไปได้ตลอดทั้งปี แพทย์หญิงคอตเทอเรลกล่าว ตัวอย่างของชาสมุนไพรที่ดีต่อสุขภาพ ได้แก่ ชาคาโมมายล์ ช่วยให้ผ่อนคลายระบบประสาท ชาเปปเปอร์มินท์ช่วยบรรเทาปัญหาลำไส้ ชาใบราสเบอร์รี่ ช่วยกระชับมดลูกในสตรีมีครรภ์ ชาโรสฮิปส์ มีวิตามินซีสูง และชาชะเอม ช่วยบรรเทาอาการระคายเคืองในโพรงจมูก ลำคอ และกระเพาะอาหาร

ผลข้างเคียงของคาเฟอีน

คาเฟอีนมีผลข้างเคียงอื่นๆ ที่ไม่พึงประสงค์ด้วย เช่น ความดันโลหิตสูงชั่วคราว หัวใจเต้นเร็ว ขาดน้ำ และแสบร้อนกลางอก บางคนรู้สึกกระวนกระวาย ตัวสั่น กระสับ และเครียด นอนหลับไม่สนิทหลังจากกินคาเฟอีน สำหรับผู้หญิงคาเฟอีนอาจทำให้อาการก่อนมีประจำเดือน และอาการของโรคซีสต์ในเต้านมรุนแรงขึ้น นอกจากนี้ยังอาจเร่งการสูญเสียแคลเซียมจากกระดูกในสตรีวัยหมดประจำเดือนอีกด้วย

คาเฟอีน: บริโภคมากแค่ไหนถึงเรียกว่า "มากเกินไป"

ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่เห็นพ้องต้องกันว่าการบริโภคคาเฟอีนในปริมาณปานกลางนั้นไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย แต่การดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนมากกว่า 600 มิลลิกรัมต่อวันนั้นถือว่ามากเกินไป มาดูกันว่าเครื่องดื่มและอาหารชนิดใดมีปริมาณคาเฟอีนเท่าไหร่กันบ้าง

  • กาแฟ: กาแฟหนึ่งถ้วยมีคาเฟอีนอยู่ระหว่าง 100 ถึง 150 มิลลิกรัม ขึ้นอยู่กับวิธีการชง
  • ชาดำ: ชาดำหนึ่งถ้วยมีคาเฟอีนอยู่ 50 ถึง 75 มิลลิกรัม ซึ่งน้อยกว่ากาแฟครึ่งหนึ่ง
  • น้ำอัดลม: น้ำอัดลมหนึ่งกระป๋องมีคาเฟอีนอยู่ประมาณ 35 มิลลิกรัม
  • ช็อกโกแลตนม: ช็อกโกแลตนมหนึ่งแท่งมีคาเฟอีนอยู่ 6 มิลลิกรัม
  • กาแฟดีแคฟ: กาแฟดีแคฟหนึ่งถ้วยยังมีคาเฟอีนอยู่ 4 มิลลิกรัม

หมายเหตุ: ปริมาณคาเฟอีนที่ระบุในข้างต้นเป็นค่าประมาณ ปริมาณคาเฟอีนที่แท้จริงอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ชนิดของเมล็ดกาแฟ วิธีการชง ปริมาณชาที่ใช้ และสูตรของช็อกโกแลตนม

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook