Top 5 อาหารเกิด "เชื้อรา" ง่าย เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

Top 5 อาหารเกิด "เชื้อรา" ง่าย เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

Top 5 อาหารเกิด "เชื้อรา" ง่าย เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เชื้อราบนอาหาร ฝันร้ายของคนรักการกิน ไม่มีอะไรทำลายความอยากอาหารได้รวดเร็วเท่ากับการเห็นเชื้อราบนอาหารที่เราหยิบขึ้นมากำลังจะกัด มันเป็นสีเข้ม ขนฟู ดูคล้ายแมลงแปลกประหลาดกำลังยึดครองมื้ออาหารของเรา ชวนขยะแขยงสุดๆ แม้มันจะไม่ใช่แมลง แต่เชื้อราเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่ง จัดเป็นพวกรา

“หัวใจสำคัญในการจัดการกับเชื้อราในครัวคือการระบายอากาศ” นาตาลี อลิบรันดี นักวิทยาศาสตร์อาหารที่ปรึกษาจาก Nali Consulting กล่าวเสริมว่า ความชื้น แสง และสภาพแวดล้อมที่อับอากาศ ล้วนส่งผลต่อการเจริญเติบโตของเชื้อราบนอาหาร นอกจากนี้ เธอยังบอกอีกว่ามีอาหารบางชนิดที่เสี่ยงต่อการเกิดเชื้อราได้ง่าย อาหารเหล่านี้จำเป็นต้องเก็บรักษาอย่างถูกวิธีเพื่อป้องกันไม่ให้กลายเป็นขยะหรือเศษอาหาร

5 อาหารที่เกิดเชื้อราได้ง่าย

1.ผลไม้และผักที่มีความชื้นสูง

“อาหารสดที่มีความชื้นสูง มักเกิดเชื้อราได้ง่าย” นาตาลี อธิบาย เนื่องจากผลไม้และผักหลายชนิดมีส่วนประกอบหลักเป็นน้ำ ทำให้พวกมันเสี่ยงต่อการเกิดเชื้อราเป็นพิเศษ ตัวอย่างของผู้ร้ายตัวฉกาจ ได้แก่ เบอร์รี่ มะเขือเทศ พีช พลัม และเห็ด

“เวลาเก็บผลไม้หรือผักประเภทนี้ สิ่งสำคัญคือต้องป้องกันไม่ให้อากาศไปสัมผัสกับความชื้น” นาตาลีแนะนำ ตัวอย่างเช่น สำหรับเบอร์รี่และเห็ด เธอแนะนำให้แกะออกจากบรรจุภัณฑ์พลาสติกและกล่องกระดาษ แล้วใช้กระดาษทิชชูซับความชื้นออก จากนั้นให้ห่อด้วยกระดาษทิชช๔แห้งอีกที ก่อนใส่ภาชนะปิดสนิทเพื่อแช่เย็น กระดาษทิชชูจะทำหน้าที่เป็นเกราะป้องกันความชื้นไม่ให้เข้าไป ผลไม้และผักประเภทอื่นๆ ควรเก็บไว้ในภาชนะปิดสนิทเช่นกัน เพื่อป้องกันทั้งอากาศและความชื้น

2.ขนมปัง

นาตาลีแนะนำว่าหากคุณต้องการปกป้องขนมปังจากเชื้อราจริงๆ ควรลงทุนซื้อกล่องใส่ขนมปัง เธออธิบายว่ากล่องจะช่วยป้องกันขนมปังจากแสงแดดและกระแสลมมากเกินไป ซึ่งล้วนเป็นปัจจัยเร่งให้เกิดเชื้อรา “นอกจากนี้ กล่องยังช่วยรักษาเนื้อสัมผัสของขนมปัง ในขณะที่การเก็บขนมปังไว้ในตู้เย็นจะทำให้ขนมปังแห้ง”

นาตาลีบอกว่า “ถ้าขนมปังของคุณมีเชื้อราขึ้นเพียงเล็กน้อย ไม่จำเป็นต้องทิ้งทั้งก้อน ตัดเฉพาะส่วนที่มีเชื้อราออก ส่วนที่เหลือยังสามารถรับประทานได้” แต่ทว่า จะเกิดอะไรขึ้นถ้าเผลอรับประทานขนมปังราเข้าไปโดยไม่ได้ตั้งใจ? โชคดีที่โอกาสเกิดอันตรายนั้นน้อยมากค่ะ

3.ชีส

เรื่องราของราบนชีสนั้นชวนสับสน “มีราบางชนิดที่ขึ้นบนชีส ถ้ากินเข้าไปอาจทำให้ปวดท้อง แต่ก็มีราอีกหลายชนิดที่ปลอดภัยต่อการบริโภค” นาตาลีกล่าว หากคุณเห็นราขึ้นบนชีสเนื้อแข็ง หรือชีสที่ถูกสับหรือหั่น ไม่ควรรับประทานส่วนนั้น “เหมือนกับขนมปัง ถึงแม้จะมีราขึ้น ก็ไม่จำเป็นต้องทิ้งทั้งก้อน” นาตาลีแนะนำ “ตัดเฉพาะส่วนที่มีเชื้อราออก ส่วนที่เหลือยังปลอดภัยต่อการกิน”

เช่นเดียวกับอาหารประเภทอื่นๆ นาตาลีบอกว่า เคล็ดลับในการป้องกันการเกิดราบนชีส คือการป้องกันจากทั้งอากาศและความชื้น ก่อนเก็บรักษาชีสไว้ในตู้เย็น ให้ห่อด้วยพลาสติก เพื่อยืดอายุการใช้งาน

4.อาหารเหลือ

สาเหตุสำคัญที่ทำให้เศษอาหารเหลือเริ่มมีเชื้อราขึ้น เนื่องจากอาหารยังไม่เย็นสนิทก่อนนำเข้าตู้เย็น หากอาหารยังคงมีไอระเหยออกมาขณะปิดฝาภาชนะ ไอน้ำที่ติดอยู่ภายในสามารถนำไปสู่การเกิดเชื้อราได้ “อาหารเหลือควรเก็บไว้ในภาชนะปิดสนิทและแช่เย็น โดยตั้งอุณหภูมิของตู้เย็นไม่เกิน  4°C ” ซาแมนธา เคสเซ็ตตี้ นักโภชนศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญ กล่าวกับเวลล์แอนด์กู๊ด หากคุณไม่ได้วางแผนจะรับประทานอาหารเหลือภายในหนึ่งสัปดาห์ ควรเก็บไว้ในช่องแช็งแทน ซึ่งจะช่วยยืดอายุการเก็บรักษาได้นานเป็นเดือน แทนที่จะเป็นเพียงไม่กี่วัน

5.เครื่องปรุงรส

เครื่องปรุงรสหลายชนิดมักถูกเก็บไว้ในตู้เย็นเป็นเวลานาน แต่นาตาลีเตือนว่าควรตรวจสอบว่ามีเชื้อราขึ้นหรือไม่ด้วยเช่นกัน “หลายคนมักมีนิสัยจุ่มซ้ำ ใช้มีดคันเดียวตักทั้งแยมและเนยถั่ว” เธอกล่าว อธิบายว่า พฤติกรรมนี้ไม่เพียงส่งผลต่อการปนเปื้อนไขว้ แต่ยังอาจทำให้แบคทีเรียแพร่กระจาย กลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อราได้

เพื่อป้องกันปัญหานี้ ควรหลีกเลี่ยงการจุ่มซ้ำ และตรวจสอบให้แน่ใจว่าปิดฝาขวดให้สนิทเมื่อไม่ได้ใช้งานเครื่องปรุงรส

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook