เด็กอ่อนวัย 7-9 เดือน

เด็กอ่อนวัย 7-9 เดือน

เด็กอ่อนวัย 7-9 เดือน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
การให้นมทารก ก่อนหน้านี้คุณแม่ได้เริ่มให้อาหารตามวัยสำหรับทารกและเด็กเล็กแบบค่อยเป็นค่อยไปและแนะนำอาหารอ่อนๆ รสจืดให้ลูกน้อยบ้างแล้ว คราวนี้ก็ถึงเวลาที่ลูกน้อยพร้อมจะทดลองอาหารใหม่ๆ ที่รสชาติเข้มข้นขึ้น อาหารบางอย่างอาจถูกปากลูกและทำให้ลูกอยากรับประทานมากกว่าแค่ลิ้มลองเล็กๆ น้อยๆ ทารกยังพร้อมสำหรับอาหารกึ่งเหลวบางอย่างเพื่อช่วยพัฒนาทักษะการบดเคี้ยว และคุณแม่อาจต้องการเสริมมื้อนมที่หย่าแล้ว ด้วยอาหารเสริมสำหรับทารก ในการสร้างอุปนิสัยที่ดีด้านการกินสำหรับลูก คุณแม่ควรจัดให้ลูกได้รับประทานอาหารเป็นเวลาโดยนั่งรับประทานอาหารที่เก้าอี้สูงสำหรับเด็กแบบมีที่รัดลำตัว คุณแม่สามารถอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ อาหารตามวัยสำหรับทารกและเด็กเล็กที่นี่ นอกจากนี้ คุณแม่ควรเฝ้าสังเกตภาษาท่าทางของลูกน้อยไปพร้อมกันด้วย เช่น ลูกอาจต้องการบอกคุณแม่ว่าลูกอยากจะรับประทานอาหารนี้ด้วยตัวเองโดยใช้มือหยิบ ยิ่งไปกว่านั้น ช่วงนี้ยังเหมาะสำหรับการให้ผักหรือผลไม้ชิ้นพอเหมาะแก่เด็กสำหรับถือกินเล่น เพื่อเป็นการพัฒนากล้ามเนื้อที่ใช้ในการพูดของลูกด้วย พยายามอย่ากังวลว่าการให้เด็กรับประทานอาหารเองจะทำให้เลอะเทอะ เพราะประโยชน์ที่ได้ก็คือ ลูกจะสนุกกับการรับประทานอาหารและรับประทานได้มากขึ้น ลูกน้อย, การเลี้ยงลูก ถึงเวลาเริ่มจัดบ้านให้ปลอดภัยสำหรับเด็ก เมื่อลูกน้อยอายุครบ 7 เดือน ลูกมักค้นพบสิ่งแปลกๆ ใหม่ๆ มากมายที่ทั้งน่าสนใจและน่าขว้างเล่น ลูกจะยิ่งซุกซนมากขึ้นและต้องการพื้นที่กว้างขึ้นเพื่อออกสำรวจและคลานเล่นไปรอบๆ นั่นหมายถึงคุณแม่ต้องทำงานหนักขึ้นด้วย เพราะต้องจัดบ้านให้ปลอดภัยเพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่คาดไม่ถึง ในเวลานี้ ลูกกำลังเรียนรู้เรื่องการคลานและความหมายของคำว่า อย่า หรือคำว่า ไม่ เตรียมพร้อมสำหรับการเล่น ถึงเวลานี้ ลูกน้อยของคุณอาจจะพร้อมในหลายๆ เรื่องแล้ว แต่หากลูกยังไม่สนใจจะคลานก็ไม่ต้องกังวลใจไป เพราะทารกบางคนอาจใช้วิธีการคืบแทนคลาน หรือบางทีก็คลานถอยหลังด้วยซ้ำ คุณแม่ควรจัดบ้านนามเด็กเล่นที่น่าสนใจด้วยการนำเบาะมากองซ้อนกันให้ลูกคลานข้ามหรือสลับเบาะไปทางโน้นทีทางนี้ทีเพื่อส่งเสริมให้ลูกได้เรียนรู้ด้วยการสำรวจและฝึกกล้ามเนื้อมัดใหญ่ของลูกไปพร้อมกัน ถึงเวลานี้เท้าของลูกเริ่มรับน้ำหนักได้มากขึ้น และทารกอาจกระโดดขึ้นลงอย่างสนุกสนานบนตักของคุณ นั่นก็เพราะการทำงานของประสาทส่วนที่ควบคุมการเคลื่อนไหวหรือ ทักษะกล้ามเนื้อ นั่นเอง ในวัยนี้ ลูกได้พัฒนาการควบคุมกล้ามเนื้อคอ ไหล่ หน้าอก และหลังส่วนล่างได้เป็นอย่างดีแล้ว ดังนั้นจึงถึงเวลาการพัฒนาร่างกายส่วนล่าง รวมถึงมือและเท้าทั้ง 2 ของเขา ร่างกายส่วนบนของเด็กในวัยนี้แข็งแรงพอที่จะนั่งได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องมีใครคอยพยุง ดังนั้น จึงเป็นโอกาสเหมาะที่จะให้ลูกนั่งบนเก้าอี้สูงเพื่อรับประทานอาหารร่วมโต๊ะกับคนอื่นๆ ในครอบครัว การทำงานประสานกันของกล้ามเนื้อและการรับรู้ หากในช่วงนี้ ลูกน้อยเริ่มโยนหรือขว้างสิ่งของซ้ำๆ คุณแม่อย่าเพิ่งโกรธหรือกังวลใจไป นั่นเป็นเพราะทารกในวัยนี้กำลังเรียนรู้วิธีปล่อยสิ่งของออกจากมืออย่างจงใจ และสนุกกับการฝึกฝนทักษะที่ค้นพบใหม่นี้ ในช่วงเวลานี้ลูกอาจเริ่มรู้สึกกลัวการพรากจากแม่ โดยจะแสดงความกลัวและพยายามเกาะติดเมื่อแม่จะจากไปไหน แม้ว่าจะเป็นเวลาเพียงชั่วเดี๋ยวเดียวก็ตาม การทำอะไรซ้ำๆ อย่างสม่ำเสมอตามกิจวัตรประจำวันที่วางไว้จะช่วยลดความกลัวของลูกลงได้ หลังจากลูกตื่นนอน คุณแม่อาจให้นมขวดหรือจัดอาหารว่างให้ก็ได้โดยขอให้ทำอย่างนั้นเหมือนกันทุกๆ วัน ซึ่งจะช่วยให้ลูกสามารถคาดหมายสิ่งที่จะเกิดขึ้นเป็นลำดับในแต่ละวัน และช่วยให้ลูกรู้สึกมั่นคงปลอดภัยด้วย การเล่นซ่อนหาก็เป็นอีกทางหนึ่งที่ช่วยลดความกลัวการจากพรากลงได้ คุณแม่คงเห็นด้วยว่าเด็กเล็กๆ มักไม่เคยเบื่อหน่ายกับการเล่นเกมปิดตาจ๊ะเอ๋เลย คุณแม่อาจแกล้งนำตุ๊กตาตัวโปรดของลูกไปซ่อน และชวนลูกไปหาให้พบ การเล่นเสียงและคำพูดที่มีความหมาย ลูกน้อยของคุณเริ่มแสดงบุคลิกภาพเฉพาะตัวเล็กๆ น้อยๆ ออกมาบ้างแล้ว เริ่มจากการจดจำชื่อของตัวเองได้ โดยถ้าคุณเรียกชื่อเขา เขาก็จะหัันที ถึงแม้ว่าลูกจะยังพูดไม่ได้ แต่การออกเสียงของเขาก็เริ่มฟังดูคล้ายๆ คำที่มีความหมาย มากขึ้น และลูกมักจะชอบออกเสียงคำที่พูดได้ค่อนข้างชัด ในเวลานี้ลูกอาจเรียก แม่ หรือ ป้อ ได้ ซึ่งก็หมายถึงคุณแม่หรือคุณพ่อนั่นเอง แต่บางครั้งลูกอาจเรียกสลับกันบ้าง โดยเขาจะไม่รีรอที่จะแสดงความเห็นของตัวเองเมื่อมีโอกาส ไม่ว่าจะโดยการส่งเสียง การหัวเราะ ส่งเสียงคัดค้าน หรือกรีดร้องดังๆ ก็ตาม ตอนนี้ ลูกเริ่มเข้าใจความหมายของคำว่า อย่า แล้ว ถึงแม้ว่าบางครั้งจะไม่ยอมเชื่อฟังคำสั่งก็ตาม การเรียนรู้ ถ้าคุณแม่ชอบอ่านหนังสือให้ลูกฟัง ถึงเวลานี้ลูกจะเริ่มหันมาสนใจมากขึ้น โดยพยายามพลิกหน้าหนังสือหรือฟังคุณอ่านออกเสียงอย่างตั้งใจ และชอบดูรูปภาพที่มีสีสันในหนังสือ แต่ทารกจะยังไม่สามารถเชื่อมโยงภาพที่เห็นกับคำอ่านของคุณได้ในเวลานี้ คงต้องใช้เวลาอีกสักระยะหนึ่ง หนังสือภาพสัตว์นับเป็นการเริ่มต้นที่ดี เพราะกระตุ้นความสนใจของลูกและทำให้ลูกได้เรียนรู้เสียงแปลกๆ ใหม่ๆ ได้ง่ายขึ้น สภาพแวดล้อมตามธรรมชาติทั้งภายในและภายนอกบ้านเป็นสิ่งที่น่าตื่นเต้นสำหรับเด็กในช่วงเวลานี้ การให้ลูกคลานเล่นที่พื้น หรือคุณแม่เปิดและปิดประตู หรือเปิดหน้าต่างและชี้ชวนให้ลูกดูสิ่งต่างๆ พร้อมกับเรียกชื่อของของสิ่งนั้นไปด้วย จะช่วยส่งเสริมธรรมชาติความต้องการเรียนรู้ของเด็ก คุณรู้หรือไม่ ช่วงเวลาที่สำคัญเป็นพิเศษคือช่วงขวบปีแรก เพราะเป็นช่วงที่ลูกเริ่มรู้ว่าตัวเองชอบอาหารประเภทไหนซึ่งความชอบนี้จะติดตัวไปตั้งแต่ลูกอายุ 2 ขวบจนถึงประมาณ 8 ขวบ

อัลบั้มภาพ 2 ภาพ

อัลบั้มภาพ 2 ภาพ ของ เด็กอ่อนวัย 7-9 เดือน

เด็กอ่อนวัย 7-9 เดือน
เด็กอ่อนวัย 7-9 เดือน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook