เส้นเลือดดำขอด

เส้นเลือดดำขอด

เส้นเลือดดำขอด
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
เมื่อพูดถึงเส้นเลือดขอดมีด้วยกันหลายความหมาย, สาเหตุ, อาการและอาการแสดงรวมทั้งการรักษาก็แตกต่างกัน เส้นเลือดขอดฝอย หมายถึง เส้นเลือดฝอยเป็นเหมือนตาข่ายตามน่องและต้นขา นอกนี้สาเหตุเกิดจากฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงในร่างกาย และรวมทั้งสาเหตุส่งเสริมจากการยืน, นั่งหรือเดินนานๆ การรักษา เมื่ออายุมากขึ้น รวมทั้งหลีกเลี่ยงการยืน, นั่งหรือเดินนานๆ การใส่ถุงน่อง และการออกกำลังกายจะช่วยให้เส้นเลือดขอดฝอยดีขึ้นและถ้าไม่ดีขึ้น ดูไม่สวยหรือมีอาการปวดน่อง ก็สามารถรักษาด้วย การฉีดยาเพื่อให้เส้นเลือดฝอย ฝ่อไป หรือบางราย ถ้าเส้นมีขนาดเล็กมากก็อาจรักษาด้วย เลเซอร์ได้ เส้นเลือดดำขอด หมายถึง หลอดเลือดดำที่มีการโป่งโต, ยืดยาวออกและคดเคี้ยว ผิดรูปไปจากเดิม บางคนลักษณะเป็นคนผอมก็จะทำให้เห็นหลอดเลือดดำชัด ซึ่งถ้าไม่คดเคี้ยว , ผิดปกติก็ถือว่าปกติ ในผู้ป่วยที่มีเส้นเลือดดำขอด มีได้ 2 ลักษณะใหญ่ไม่ทราบสาเหตุของการเกิดเส้นเลือดดำขอดชัดเจน เชื่อว่ากรรมพันธุ์และปัจจัย เสี่ยงที่ส่งเสริมเช่น การยืน, นั่ง เดินนานๆ เป็นตัวการให้ลิ้นปิด, เปิดของหลอด เลือดดำ และผนังของหลอดเลือดดำเสีย จึงทำให้เลือดดำไหลกลับไม่สะดวกเลือดไหลย้อนกลับทำให้เกิดเส้นเลือดดำขอด พวกที่ทราบสาเหตุ พวกนี้เกิดจากมีการอุดตันของหลอดเลือดดำส่วนลึก อาจเกิด จากมีก้อนเลือดไปจุดหลอดเลือดดำ หรือมีก้อนมาเบียดกด หลอดเลือดดำก็ได้ ซึ่งอาจจะเป็นก้อนเนื้องอกชนิดร้ายและไม่ร้ายก็ได้ อาการและอาการแสดง ผู้ป่วยอาจจะไม่มีอาการอะไรก็ได้เพียงเส้นเลือดดำขอด ส่วนอาการและอาการแสดงของผู้ป่วยอาจมีปวดน่อง น่องตึงเวลาเดินหรือยืนนาน ผู้ป่วยจะรู้สึกปวดน่องน่องตึง เหมือนน่องจะแตก หยุดพักยกขาสูงอาการจะดีขึ้น, มีบวม, ผื่นคัน, ผิวหนังสีดำคล้ำบริเวณเหนือข้อเท้าด้านใน, มีแผลเกิดขึ้นได้ นอกจากนี้อาจมีภาวะแทรกซ้อน เช่น ปวดและอักเสบแดงตามเส้นเลือดดำขอด มีเส้นเลือดดำขอดแตกมีเลือดออก มีก้อนจากหลอดเลือดดำอุดตัน เป็นต้น การวินิจฉัย ต้องอาศัยประวัติและการตรวจร่างกาย เพื่อดูว่าเป็นเส้นเลือดดำขอดจริง และอยู่ในประเภทมีสาเหตุหรือไม่มีสาเหตุ ถ้ามีสาเหตุก็รักษาไปตามสาเหตุ ถ้าไม่มีสาเหตุก็ตรวจหาความผิดปกติ, ตำแหน่งของลิ้นปิดเปิดในหลอดเลือดดำว่าปิดไม่สนิทตรงไหน จะได้วางแผนแก้ไข นอกจากประวัติและการตรวจร่างกาย ซึ่งอาจให้ผลไม่แม่นยำนักเราก็มีการตรวจพิเศษ เช่น การตรวจหลอดเลือดดำด้วยคลื่นเสียงชนิดมีภาพ และสีให้เห็น (Venogram) เป็นต้น ซึ่งจะช่วยยืนยันการวินิจฉัย การรักษา หลอดเลือดดำขอดชนิดมีสาเหตุ รักษาไปตามสาเหตุ มีก้อนเนื้อออกไปกดก็อาจต้องผ่าตัดเอาก้อนออก หรือให้ยาเคมีบำบัด ในกรณีเป็นเนื้องอกชนิดร้าย เป็นต้นไม่ควรผ่าตัดเอาเส้นเลือดดำขอดออก ใส่ถุงน่องสำหรับเส้นเลือดดำขอด หมั่นออกกำลังกาย แนะนำให้ว่ายน้ำ ไม่ควรออกกำลังกายที่ต้องยืน นานๆ หลอดเลือดดำขอดชนิดไม่มีสาเหตุ ซึ่งผู้ป่วยมีการรักษาได้ 2 วิธีการรักษาโดยไม่ผ่าตัด เช่น การฉีดยาให้เส้นเลือดดำขอดให้ฝ่อใช้ในรายที่หลอดเลือดดำขอดขนาดไม่ใหญ่ การใส่ถุงน่อง สำหรับเส้นเลือดดำขอด กรณีไม่อยากฉีดยา, ผ่าตัด และกรณีผู้ป่วยมีโรคร่วมมาก ไม่แข็งแรง การรักษาโดยการผ่าตัด จะช่วยให้เส้นเลือดดำขอดเส้นใหญ่ๆ หายไปและมีอาการโดยทั่วไปดีขึ้น ข้อบ่งชี้ในการผ่าตัดมีเส้นเลือดดำขอดชนิดไม่ทราบสาเหตุ และเส้นเลือดดำมีขนาดใหญ่ไม่สามารถฉีดยาได้ มีภาวะแทรกซ้อนจากการมีเส้นเลือดดำขอด เช่น ขาบวมเส้นเลือดแตกมีเลือดออก, ผื่นคัน, แผล, อักเสบของเส้นเลือดดำขอด เป็นต้น การปฏิบัติตัวสำหรับผู้ป่วยหลอดเลือดดำขอด และผู้ป่วยที่ต้องการป้องกันการเกิดเส้นเลือดดำขอดหลีกเลี่ยงการยืน, นั่ง และการเดินนานๆ ออกกำลังกายให้กล้ามเนื้อขาแข็งแรง กีฬาที่แนะนำคือ ว่ายน้ำ หลีกเลี่ยงการ ยืนออกกำลังกายนานๆ แต่ถ้าจำเป็นให้ใส่ถุงน่องสำหรับเส้นเลือดดำขอด ยกขาสูงเวลานั่งหรือนอน เมื่อมีโอกาสที่เหมาะสม

อัลบั้มภาพ 1 ภาพ

อัลบั้มภาพ 1 ภาพ ของ เส้นเลือดดำขอด

เส้นเลือดดำขอด
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook