ไข้หวัดนก

ไข้หวัดนก

ไข้หวัดนก
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
ครั้งนี้เป็นอีกครั้งนะคะที่ประเทศไทยต้องเผชิญหน้ากับมหันตภัยร้ายจากโรคไข้หวัดนก ที่คุกคามทั้งสุขภาพพลามัยของผู้คนและความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ เมื่อต้องเผชิญหน้ากันอีกครั้งเราก็ต้องมีความเข้าใจและหาวิธีการรับมือโรคร้ายชนิดนี้อย่างถูกต้องเพื่อจะได้สามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติ ไม่วิตกกังวลจนเกินไปนัก แต่ก็ต้องไม่ประมาทด้วยเช่นกัน สาเหตุของโรค : เกิดจากเชื้อไวรัส Avian Influenza type A ในตระกูล Orthomyxoviridae ซึ่งเป็น RNA ไวรัสชนิดมีเปลือกหุ้ม โดยมีแอนติเจนที่สำคัญได้แก่ Hemagglutinin (H) มี 15 ชนิด และ neuraminidase (N) มี 9 ชนิด วิธีการติดต่อระหว่างสัตว์สู่คน : คนสามารถติดเชื้อจากสัตว์ได้จากการสัมผัสสัตว์ป่วยโดยตรง และโดยทางอ้อมจากการสัมผัสกับสิ่งคัดหลั่งจากสัตว์ที่เป็นโรค เช่น อุจจาระ น้ำมูก น้ำตา น้ำลายของสัตว์ที่ป่วย จากการเฝ้าระวังโรคยังไม่พบว่ามีการติดต่อระหว่างคนสู่คน ผู้ที่มีควมเสี่ยงในการเกิดโรคได้แก่ ผู้ที่มีอาชีพและใกล้ชิดกับสัตว์ปีก เช่น ผู้เลี้ยง ฆ่า ขนส่ง ขนย้าย ผู้ขายสัตว์ปีกและซากสัตว์ปีก สัตวบาล และสัตวแพทย์ รวมถึงเด็กๆ ที่เล่นและคลุกคลีกับสัตว์ ระยะฟักตัวและอาการในคน : ระยะฟักตัวในคนใช้เวลาประมาณ 1 - 3 วัน ในคนอาจมีอาการทางระบบทางเดินหายใจแบบเฉียบพลัน มีไข้สูง หนาวสั่น ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย มีน้ำมูก ไอ และเจ็บคอ บางครั้งพบว่ามีอาการตาแดง ซึ่งจะหายเองได้ภายใน 2 - 7 วัน หากมีอาการแทรกซ้อนจะมีอาการรุนแรงถึงปอดบวมและเกิดระบบหายใจล้มเหลว (Acute Respiratory Distress Syndrome) ได้ โดยเฉพาะในเด็กและผู้สูงอายุ วิธีการติดต่อระหว่างสัตว์ : เชื้อไวรัสจะถูกขับถ่ายออกมาทางอุจจาระจากนก และติดต่อสู่สัตว์ปีกที่ไวต่อการรับเชื้อทางระบบทางเดินหายใจและทางเดินอาหาร ระยะฟักตัวและอาการในสัตว์ : ระยะฟักตัวของโรคนี้ในสัตว์สั้นเพียงไม่กี่ชั่วโมง ถึง 3 วัน ในสัตว์มีอาการซึม ซูบผอม ไม่กินอาหาร ขนยุ่ง ไข่ลด ไอ จาม หายใจลำบาก หน้าบวม หงอนและเหนีบงบวม มีสีคล้ำ มีอาการทางประสาท ท้องเสีย อาจตายกระทันหันโดยไม่แสดงอาการ อัตราการตายอาจสูงถึง 100 % การป้องกันโรคและดูแลสุขภาพ : หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ปีกที่มีอาการป่วย หรือตาย โดยเฉพาะเด็ก หากต้องสัมผัสกับสัตว์ปีกในระยะที่มีการระบาดในพื้นที่ ให้สวมหน้ากากอนามัย สวมถุงมือ ล้างมือทุกครั้งหลังการสัมผัสสัตว์ปีกและสิ่งคัดหลั่งของสัตว์ปีกด้วยสบู่และน้ำ หากมีอาการเป็นไข้ ไอ โดยเฉพาะผู้มีอาชีพเลี้ยง ฆ่า ขนส่ง ขนย้าย และขายสัตว์ปีก หรือเกี่ยวข้องกับซากสัตว์ปีก ให้รีบมาพบแพทย์และบอกประวัติการสัมผัสพร้อมอาการ การรักษาโรคในคน : เหมือนกับการรักษาไข้หวัดใหญ่ทั่วไป คือ ใช้ยา Amantadine Hydrochloride หรือยา Rimantadine Hydrochloride ภายใน 48 ชั่วโมง นาน 3-5 วัน จะช่วยลดอาการและจำนวนเชื้อไวรัสชนิด A ในสารคัดหลั่งที่ทางเดินหายใจได้ ขนาดยาที่ใช้ ในเด็กอายุ 1-9 ปี ให้ขนาด 5 มก./กก./วัน แบ่งให้ 2 ครั้ง นาน 2-5 วัน ผู้ป่วยสูงอายุ 65 ปีขึ้นไป หรือผู้ที่การทำงานของตับหรือไตผิดปกติ ต้องลดขนาดยาลง การบริโภคเนื้อไก่ : เชื้อไวรัสไข้หวัดนกไม่สามารถทนต่อความร้อนที่สูงเกิน 70 องศาเซลเซียสได้ การทอด ต้ม นึ่ง อบ หรือย่าง โดยปกติก็จะสามารถฆ่าเชื้อได้ เพราะส่วนใหญ่ใช้ความร้อนเกิน ผู้บริโภคจึงสามารถรับประทานได้อย่างปลอดภัย แต่เท่าที่ทราบมาจน ณ บัดนี้ ไม่เคยปรากฎว่ามีแม่บ้านและแม่ครัว ติดเชื้อไข้หวัดนกจากการปรุงอาหารเลย แม้ว่าจะมีโรคไข้หวัดนกมีการระบาดใหญ่ในประเทศต่างๆ ทั่วโลกมาร่วม 20 ครั้งแล้ว อย่างไรก็ตาม เชื้อไข้หวัดนกพบได้ในสัตว์ปีก และไข่ ดังนั้น เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงใดๆ จึงแนะนำให้ล้างมือ และภาชนะให้สะอาด หลังสัมผัสเนื้อไก่ เพราะเชื้อนี้ถูกฆ่าตายได้โดยง่าย โดยน้ำยาซักล้าง หรือสบู่ อยู่แล้ว การเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนก : แม้จะไม่เคยปรากฏหลักฐานว่ามีการแพร่เชื้อจากคนสู่คนในอดีตที่ผ่านมา แต่นักการแพทย์และนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า หากเชื้อไข้หวัดนกในคนเกิดการกลายพันธุ์อันเนื่องมาจากการผสมสารพันธุกรรมกับไข้หวัดที่พบในคน (Reassortment) ก็อาจจะเกิดการติดต่อจากคนสู่คนได้ ซึ่งมีโอกาสที่จะเกิดการระบาดใหญ่ไปทั่วโลก (Pandemic) จึงได้มีมาตรการทางด้านการเฝ้าระวังโรค โดยกำหนดกลุ่มเป้าหมายของการระวังโรคเป็น 3 ระดับดังนี้ 5.1 ผู้ป่วยที่สงสัย (Suspect) ได้แก่ ผู้ที่มีอาการหรืออาการแสดงต่อไปนี้ ไข้ (อุณหภูมิกายมากกว่า 38 ? C) ร่วมกับ อาการอย่างใดอย่างหนึ่งอันได้แก่ ปวดกล้ามเนื้อ, ไอ, หายใจผิดปกติ (หอบ, ลำบาก), แพทย์วินิจฉัยว่าเป็นปอดบวม ร่วมกับ ประวัติการสัมผัสสัตว์ปีกที่ป่วย/ตาย โดยตรงในระยะ 7 วันที่ผ่านมา หรือมีการตายของสัตว์ปีกอย่างผิดปกติในพื้นที่ซึ่งอาศัยอยู่ เช่น ในหมู่บ้าน ในตำบล หรือตำบลใกล้เคียง 5.2 ผู้ป่วยที่น่าจะเป็น (Probable) ได้แก่ ผู้ป่วยที่สงสัยตามนิยามข้างต้นร่วมกับการตรวจดังต่อไปนี้ ความผิดปกติของปอดที่ชัดเจนและมีการเปลี่ยนแปลงในทางที่เลวลง แม้จะให้การรักษาด้วยยาปฎิชีวนะ (Broad Spectrum Antibiotics) ร่วมกับ ได้ทำการตรวจทางห้องปฏิบัติการไม่พบการติดเชื้ออื่นที่จะอธิบายอาการป่วยได้ 5.3 ผู้ป่วยที่ยืนยัน (Confirm) ได้แก่ ผู้ป่วยที่น่าจะเป็นและมีผลการตรวจทางห้องปฏิบัติต่อไปนี้สนับสนุน เพาะเชื้อพบ Influenza A ที่ไม่ใช่ H1 หรือ H2 หรือ H3 ตรวจ PCR ด้วยห้องปฏิบัติการมาตรฐานยืนยันว่าเป็น Influenza A ที่ไม่ใช่ H1 หรือ H2 หรือ H3 ขอขอบคุณข้อมูลจาก : สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

อัลบั้มภาพ 2 ภาพ

อัลบั้มภาพ 2 ภาพ ของ ไข้หวัดนก

ไข้หวัดนก
ไข้หวัดนก
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook