วิธีการป้องกันอัคคีภัยในบ้าน ทำได้อย่างไร

วิธีการป้องกันอัคคีภัยในบ้าน ทำได้อย่างไร

วิธีการป้องกันอัคคีภัยในบ้าน ทำได้อย่างไร
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

อัคคีภัย หนึ่งในปัญหาหลักที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ การป้องกันอัคคีภัยไม่ให้เกิดขึ้นในบ้านพักหรือที่อยู่อาศัยจำเป็นต้องเตรียมความพร้อมรับมืออย่างรัดกุม รวมทั้งสร้างระบบความปลอดภัยและการป้องกันที่ได้มาตรฐาน บทความนี้ได้รวบรวมวิธีป้องกันอัคคีภัยภายในบ้าน รวมทั้งรายละเอียดการทำประกันอัคคีภัยของที่อยู่อาศัยมาฝากกัน

อัคคีภัยในบ้าน เกิดจากอะไรได้บ้าง

ก่อนอื่นมาดูกันว่าปัญหาอัคคีภัย หรือที่เรียกกันง่าย ๆ ว่า ไฟไหม้ ที่เกิดขึ้นในบ้านหรือที่อยู่อาศัยนั้นเกิดได้จากสาเหตุใดบ้าง เพื่อที่เราจะได้สังเกตความบกพร่องของสิ่งเหล่านั้น รวมทั้งระมัดระวังให้เกิดข้อผิดพลาดอันนำไปสู่การเกิดอัคคีภัยให้ได้น้อยที่สุด โดยทั่วไปแล้ว ปัญหาอัคคีภัยในบ้าน เกิดได้จากสาเหตุต่อไปนี้

1. การประกอบอาหารในครัว

ไฟไหม้จากการทำครัวถือเป็นสาเหตุอันดับต้น ซึ่งมักเกิดขึ้นคิดเป็น 48% ของปัญหาอัคคีภัยในบ้านทั้งหมด สาเหตุที่ทำให้การประกอบอาหารในครัวนั้นก็เพราะเกิดการเผาไหม้ของจาระบีที่อยู่บนเตาแก๊สหรือในไมโครเวฟ

เมื่อจาระบีถูกเผาไหม้จนเกิดความร้อนมากเกินไป (สูงเกิน 300 องศาเซลเซียส) จะเสี่ยงระเบิดได้ง่าย ที่สำคัญ เมื่อจาระบีติดไฟแล้วก็จะดับยากอีกด้วย นอกจากนี้ ความประมาทในการประกอบอาหารก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดไฟไหม้ได้ หากเราประกอบอาหารทิ้งไว้ โดยไม่ได้อยู่ดูหน้าเตาตลอด ก็ทำให้เสี่ยงเกิดไฟไหม้ขึ้นมาได้เช่นกัน

2. ไฟฟ้าลัดวงจร

ปัญหาไฟฟ้าขัดข้องหรือไฟฟ้าลัดวงจรก่อให้เกิดอัคคีภัยในบ้านและสร้างความสูญเสียอย่างรุนแรง หากอ้างอิงจากสถิติของ Electrical Safety Foundation International หน่วยงานสร้างมาตรฐานความปลอดภัยของระบบไฟฟ้าในที่อยู่อาศัย โรงเรียน และที่ทำงาน ของสหรัฐอเมริกา พบว่า ตัวเลขอัคคีภัยจากไฟฟ้าลัดวงจรเกิดขึ้นมากถึง 51,000 ครัวเรือน/ปี ซึ่งนำไปสู่การเสียชีวิต 500 ราย และบาดเจ็บ 1,400 ราย

ส่วนใหญ่แล้ว ปัญหาไฟฟ้าลัดวงจรเกิดจากแผงไฟฟ้าติดประกายไฟหรือทำงานหนักเกินไป ส่งผลให้ลวดในหลอดไฟร้อนจัดและลัดวงจรในที่สุด จริง ๆ แล้ว ปัญหาอัคคีภัยอันเกิดจากไฟฟ้าลัดวงจรนับเป็น 10% ของสาเหตุการเกิดอัคคีภัยในบ้าน

แต่ไฟไหม้จากระบบไฟฟ้าลัดวงจรก่อให้เกิดความเสียหายถึงขั้นเสียชีวิตได้ เพราะไฟฟ้าลัดวงจรก่อให้เกิดไฟไหม้ในสถานที่ปิด ซึ่งลุกลามเป็นวงกว้างได้ง่าย รวมทั้งมักเกิดขึ้นในช่วงที่ผู้คนในบ้านนอนหลับด้วย

3. เครื่องทำความร้อน

หากบ้านหรือคอนโดของเรามีเครื่องทำความร้อนหรือฮีตเตอร์ อาจต้องระมัดระวังกันสักนิด เพราะอุปกรณ์ใช้ไฟฟ้าชนิดนี้ก่อให้เกิดไฟไหม้ได้ โดยจะติดไฟเมื่อผ้าหรือกระดาษอยู่ใกล้มากเกินไป ฮีตเตอร์ประเภทใช้เชื้อเพลิงถือว่าอันตราย เพราะติดไฟและระเบิดได้ทันที ส่วนฮีตเตอร์ไฟฟ้าก็ก่อให้เกิดไฟไหม้ได้ในกรณีที่เส้นลวดเสียหาย ขัดข้อง หรือใช้งานจนร้อนจัดจนนำไปสู่ไฟฟ้าลัดวงจรได้

4. สูบบุหรี่

การจุดบุหรี่สูบและทิ้งโดยไม่ดับให้เรียบร้อยนั้นก่อให้เกิดไฟไหม้ได้ไม่ยาก เพราะบุหรี่อาจติดไฟกับวัสดุที่ติดไฟง่าย แม้ว่าบุหรี่จะก่อให้เกิดอัคคีภัยในบ้านน้อยกว่าสาเหตุอื่น โดยคิดเป็น 5% นั้น แต่ก็นำความเสียหายร้ายแรงมาสู่ชีวิตและทรัพย์สินได้เช่นกัน เพราะบุหรี่อาจติดไฟขึ้นมาได้ขณะที่สมาชิกในบ้านไม่รู้ตัว ทำให้ไม่ทันระวังจนป้องกันไฟไหม้ไม่ทันเวลาในที่สุด

5. จุดเทียน

หากเราจำเป็นต้องใช้ไฟแช็กหรือไม้ขีดไฟในการจุดไฟหรือจุดเทียนนั้น ควรเก็บอุปกรณ์ดังกล่าวให้มิดชิดและพ้นมือเด็ก เพื่อเลี่ยงไม่ให้เด็กนำไปเล่นจนเกิดอุบัติเหตุไฟไหม้ขึ้นมาด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ นอกจากนี้ ความประมาทและไม่ระมัดระวังในการใช้ฟืนไฟหรือเมื่อจุดเทียนแล้วนั้นก็เสี่ยงทำให้เกิดเหตุไม่คาดฝันได้เช่นกัน

6. ใช้สารเคมีติดไฟง่าย

ปัญหาไฟไหม้จากสารเคมีภายในบ้านเกิดจากสารเคมีจำพวกแก๊สโซลีนหรือปิโตรเลียมรั่วและระเหยออกมา ซึ่งสารเคมีบางตัวก็ต้องใช้เวลากว่าจะติดไฟ และบางตัวก็อาจติดไฟและลุกไหม้ทันทีเมื่อสัมผัสชั้บรรยากาศข้างนอก

วิธีการป้องกันอัคคีภัยในบ้าน ทำได้อย่างไรบ้าง

เนื่องจากอัคคีภัยคือภัยใกล้ตัวที่เกิดขึ้นได้ง่ายทุกเวลาหากไม่ระมัดระวังให้ดี การป้องกันจึงเป็นวิธีรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าวที่ดีที่สุด แนวทางป้องกันอัคคีภัยในบ้านสามารถทำได้ ดังนี้

1. หมั่นตรวจสอบอุปกรณ์ใช้งานภายในบ้าน

วิธีที่ง่ายที่สุดในการป้องกันอัคคีภัยภายในบ้านเริ่มจากตรวจสอบอุปกรณ์ดักจับควันอย่างสม่ำเสมอ โดยลองกดปุ่มเล็ก ๆ ว่าใช้งานได้ปกติหรือไม่ หากพบว่ามีสัญญาณไฟกะพริบอ่อน ๆ อาจต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่ทันที นอกจากนี้ ควรตรวจสอบอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นด้วย หากเครื่องใช้ไฟฟ้าใช้งานไม่ได้หรือเกิดขัดข้องอาจทำให้ไฟฟ้าลัดวงจรและเกิดไฟไหม้ได้ในที่สุด

2. คอยสังเกตสภาพปลั๊กต่าง ๆ

ก่อนเสียบปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าใช้งานทุกครั้ง ควรดูให้แน่ใจว่าสายปลั๊กอยู่ในสภาพดี ใช้งานได้ปกติ ไม่เปื่อยหรือหลุดลุ่ยใด ๆ หากพบว่าสายขาดหรือชำรุดส่วนใด ควรซ่อมแซมให้เรียบร้อยทันที นอกจากนี้ ควรดูด้วยว่าเราเก็บอุปกรณ์เหล่านั้นไว้ในพื้นที่ที่โดนความร้อนมากเกินไปหรือไม่ หากใช่ก็ควรเลี่ยงเก็บหรือวางไว้ในตำแหน่งดังกล่าว

3. เก็บวัตถุไวไฟในที่เหมาะสม

น้ำยาทำความสะอาดบ้านและเครื่องสำอางอย่างสเปรย์จัดแต่งทรงผมหรือครีมโกนหนวดต่าง ๆ ล้วนทำให้ติดไฟได้ง่าย หากวางวัตถุเหล่านี้ไว้ในที่ที่โดนความร้อนและได้รับอุณหภูมิสูงมากเกินไป อาจทำให้ระเบิดขึ้นมาได้ เราจึงควรเก็บวัตถุที่ติดไฟง่ายเหล่านี้ไว้ในที่ที่โดนแสงแดดหรือความร้อน ควรเก็บให้มิดชิดในที่ที่คงอุณหภูมิห้องไว้

4. ทำความสะอาดเตาและไมโครเวฟ

โดยทั่วไปแล้ว ไฟไหม้จากการทำครัวมีสาเหตุจากเศษอาหารที่ติดตามเตาหรือไมโครเวฟเผาไหม้จนกลายเป็นไฟไหม้ในที่สุด เพราะเศษอาหารที่ค้างอยู่บนเตาหรือในไมโครเวฟได้รับความร้อนจากการประกอบอาหารมากเกินไป เราจึงควรหมั่นทำความสะอาดเตา ไมโครเวฟ และบริเวณที่ประกอบอาหารทุกครั้ง รวมทั้งเก็บเศษอาหารหรือพลาสติกต่าง ๆ ทิ้งให้เรียบร้อย

5. ระมัดระวังเสมอ

เมื่อทำอาหารในครัว ควรอยู่ดูหน้าเตาเสมอ หรือปิดเตาพักการทำครัวไว้ก่อนทุกครั้งหากจำเป็นต้องออกไปข้างนอก หากต้องจุดเทียนในบ้าน ก็ควรวางเทียนไขให้ห่างจากวัสดุที่ติดไฟง่าย แและดับไฟทันทีที่ไม่มีความจำเป็นใช้งานต่อไป ที่สำคัญ ควรระมัดระวังในการใช้งานอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าหรือการจุดฟืนไฟภายในบ้านทุกอย่างอยู่เสมอ ต้องมีคนคอยดูทุกครั้ง ไม่ปล่อยปละละเลยโดยเด็ดขาด

การทำประกันอัคคีภัยให้กับบ้านมีรายละเอียดอย่างไร

นอกจากวิธีป้องกันอัคคีภัยจะช่วยให้ลดความเสี่ยงเกิดปัญหาไฟไหม้ภายในบ้านแล้วนั้น การทำประกันอัคคีภัยให้บ้านก็เป็นสิ่งที่ควรคำนึงควบคู่กันไปด้วย เพราะจะช่วยเป็นหลักประกันความปลอดภัยให้แก่เจ้าบ้านและผู้อยู่อาศัย อีกทั้งยังช่วยคุ้มครองและชดเชยในกรณีที่เกิดความเสียหายหรือสูญเสียจากอัคคีภัยได้ มาดูกันว่าประกันอัคคีภัยดีอย่างไร และทำได้อย่างไรบ้าง

ประกันอัคคีภัยคืออะไร คุ้มครองอะไรบ้าง

ประกันอัคคีภัย ว่าด้วยการทำประกันคุ้มครองความเสียหายหรือความสูญหายทรัพย์สินจากกรณีไฟไหม้ แก๊สระเบิด และฟ้าผ่า อันเกิดขึ้นในพื้นที่ที่ทำประกัน มุ่งคุ้มครองทรัพย์สินของผู้เอาประกันภัย โดยทั่วไปแล้ว ประกันอัคคีภัยแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัย ประกันอัคคีภัยสำหรับสถานประกอบธุรกิจ และประกันภัยความเสี่ยงภัยทรัพย์สิน โดยในที่นี้จะเน้นรายละเอียดประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัย

โดยทั่วไปแล้ว ประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัยให้ความคุ้มครองสิ่งปลูกสร้างที่เป็นที่อยู่อาศัย เช่น บ้าน ทาวน์เฮ้าส์ ตึกแถว คอนโด ซึ่งครอบคลุมเครื่องเรือนและทรัพย์สินภายในสิ่งปลูกสร้างเหล่านั้นด้วย ผู้เอาประกันสามารถเรียกร้องเอาประกันได้หากได้รับความเสียหายหรือสูญเสียทรัพย์สินจากกรณีต่อไปนี้

- ไฟไหม้

- ฟ้าผ่า

- ระเบิด

- การเฉี่ยวชนของยานพาหนะหรือสัตว์ที่เป็นยานพาหนะ

- ภัยจากอากาศยานหรือวัตถุที่ตกจากอากาศยาน เช่น มีวัตถุชนหรือตกใส่ เป็นต้น

- ภัยจากน้ำ ครอบคลุมทั้งกรณีเกิดขึ้นด้วยอุบัติเหตุ มีการปล่อย รั่วไหล หรือน้ำล้น

ประกันอัคคีภัยทำได้อย่างไรบ้าง

ผู้ที่สนใจเริ่มทำประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัย สามารถเตรียมตัวได้ตามขั้นตอน ดังนี้

- เตรียมเอกสารแนบแผนผังของสิ่งปลูกสร้างมาให้เรียบร้อย เพื่อให้ทางประกันคำนวณค่าเบี้ยประกัน รวมทั้งตีราคาทุนประกันต่าง ๆ ตามจริง

- พิจารณาการทำประกันอัคคีภัยส่วนเฟอร์นิเจอร์และสิ่งตกแต่งควบคู่กันไปด้วย

- ศึกษารายละเอียดค่าสินไหม โดยทั่วไปแล้ว ผู้เอาประกันจะได้รับค่าสินไหมตามมูลค่าจริง แต่กรณีที่ต้องระบุพื้นที่สิ่งปลูกสร้างควรระบุเป็น กว้างxยาว ต่อห้องต่อหลัง พร้อมใส่หน่วยเป็นเมตร

- ควรเลือกทำประกันระยะยาว 2 ปี หรือ 3 ปี เพื่อรับส่วนลดเบี้ยประกัน

เพราะ “บ้าน” คือที่พักพิงที่ทำให้เรารู้สึกสบายใจทุกครั้งที่ได้กลับไป การสร้างสภาพแวดล้อมที่น่าอยู่และหลักประกันด้านสวัสดิภาพของตัวเองและคนในบ้านจึงเป็นสิ่งสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นวิธีเตรียมพร้อมรับมือเหตุการณ์ไม่คาดฝันหรือการทำประกันอัคคีภัยล้วนเป็นทางเลือกอันดับต้น ๆ ที่คนอยากจะสร้า้งบ้านหลังแรกต้องคำนึงถึงด้วยเสมอ

 

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook