วิธีขอติดตั้งน้ำประปาต้องทำอย่างไร พร้อมดู 6 มาตรการช่วยค่าน้ำ

วิธีขอติดตั้งน้ำประปาต้องทำอย่างไร พร้อมดู 6 มาตรการช่วยค่าน้ำ

วิธีขอติดตั้งน้ำประปาต้องทำอย่างไร พร้อมดู 6 มาตรการช่วยค่าน้ำ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ผู้ที่ซื้อบ้าน หรือสร้างบ้านเสร็จ อีกหนึ่งสิ่งจำเป็นสำหรับบ้านนอกจากการขอติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้าแล้ว ก็คือ "น้ำประปา" ซึ่งการขอติดตั้งประปา สามารถขอติดตั้งประปาได้ทั้งจากการประปานครหลวง สำหรับผู้ที่อยู่ในกรุงเทพฯ สมุทรปราการ และนนทบุรี และการประปาส่วนภูมิภาค สำหรับผู้ที่อยู่จังหวัดอื่น

ลองมาดูว่าการขอติดตั้งประปามีขั้นตอนอย่างไร ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง พร้อมดู 6 มาตรการช่วยค่าน้ำได้ที่นี่

การติดตั้งประปามีกี่ประเภท

การติดตั้งประปามีด้วยการ 3 ประเภท ดังนี้

1. การติดตั้งประปาใหม่

สำหรับสถานที่หรืออาคารที่ไม่มีการติดตั้งประปามาก่อน

2. การติดตั้งถาวร

ใช้กับอาคารที่มีหมายเลขทะเบียนบ้านที่ถูกต้อง โดยผู้ขอรับบริการต้องเป็นเจ้าของ หรือผู้ครอบครองที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน

3. การติดตั้งชั่วคราว

ใช้กับสถานที่ที่มีหมายเลขทะเบียนบ้านชั่วคราวหรือขอใช้น้ำเพื่อการก่อสร้าง หรือขอใช้น้ำตามสภาพการใช้น้ำอื่น ๆ

การติดตั้งประปาซ้ำ สำหรับสถานที่หรืออาคารที่เคยมีการติดตั้งประปามาก่อนและได้มีการยกเลิกการใช้น้ำหรือถูกงดจ่ายน้ำไปแล้ว โดยผู้ขอติดตั้งประปาซ้ำต้องไม่ใช่คู่สัญญาใช้น้ำประปาเดิม

หลักฐานประกอบการขอติดตั้งประปากรณีบุคคลธรรมดา

กรณีบุคคลธรรมดา

1. สำเนาบัตรประชาชน / ข้าราชการ / พนักงานองค์กรของรัฐ

2. สำเนาเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์การครอบครองอาคาร (อย่างใดอย่างหนึ่ง)

- ทะเบียนบ้าน (ที่ขอติดตั้งประปา)

- หนังสือสัญญาซื้อขายอาคาร

- หนังสือสัญญาเช่าซื้อ

- หนังสือสัญญาเช่าอาคาร

- ทะเบียนบ้านชั่วคราว

- หนังสืออนุญาตปลูกสร้างอาคาร

- โฉนดที่ดิน และหนังสือยินยอมจากเจ้าของ

3. หนังสือมอบอำนาจฉบับจริง (ติดแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร บัญชีอัตราอากรแสตมป์ ข้อ 7.) และสำเนาบัตรประชาชนของผู้มอบอำนาจ (กรณีที่ไม่สามารถมาติดต่อได้ด้วยตนเอง)

กรณีนิติบุคคล

1. สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล (ไม่เกิน 3 เดือน) และสำเนาบัตรประชาชนของกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม (พร้อมรับรองสำเนาถูกต้องของผู้มีอำนาจลงนาม)

2. สำเนาเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์การครอบครองอาคาร (อย่างใดอย่างหนึ่ง)

- ทะเบียนบ้าน (ที่ขอติดตั้งประปา)

- หนังสือสัญญาซื้อขายอาคาร

- หนังสือสัญญาเช่าซื้อ

- หนังสือสัญญาเช่าอาคาร

- ทะเบียนบ้านชั่วคราว

- หนังสืออนุญาตปลูกสร้างอาคาร

- โฉนดที่ดิน และหนังสือยินยอมจากเจ้าของ

3. หนังสือมอบอำนาจฉบับจริง (ติดแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร บัญชีอัตราอากรแสตมป์ ข้อ 7.) และสำเนาบัตรประชาชนของผู้มอบอำนาจ (กรณีที่ไม่สามารถมาติดต่อได้ด้วยตนเอง)

*เอกสารที่เป็นสำเนาต้องรับรองสำเนาถูกต้องของผู้มีอำนาจลงนาม

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการขอติดตั้งประปา

การประปานครหลวง โทร. 1125 หรือดูเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์การประปานครหลวง 

การประปาส่วนภูมิภาค โทร. 1662 หรือดูเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์การประปาส่วนภูมิภาค

เช็ก 6 มาตรการช่วยค่าน้ำ

การประปานครหลวง (กปน.) ออกมาตรการบรรเทาความเดือดร้อนประชาชน โดยเน้นการเพิ่มรายได้ ลดรายจ่ายของประชาชนในพื้นที่กรุงเทพฯ นนทบุรี และสมุทรปราการ

1. ใช้น้ำประปาฟรี 10 คิวแรกทุกครัวเรือน และสำหรับประชาชนผู้ใช้น้ำประปาไม่เกิน 10 คิวต่อเดือน ใช้น้ำฟรี โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น เป็นระยะเวลา 3 เดือน ตั้งแต่ใบแจ้งค่าน้ำประปาของเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม 2563

2. ลดค่าน้ำประปาอีก 20 % ให้กับผู้ใช้น้ำทุกประเภท ที่ใช้น้ำเกินกว่า 10 คิวขึ้นไป และฟรีค่าน้ำประปา 10 คิวแรก เป็นระยะเวลา 3 เดือน สำหรับใบแจ้งค่าน้ำประปาของเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม 2563 (จากเดิมลดค่าน้ำประปา 3%)

3. ขยายระยะเวลาการชำระค่าน้ำประปา สำหรับผู้ใช้น้ำที่จดทะเบียนประกอบธุรกิจโรงแรม และกิจการที่ให้เช่าพักอาศัย โดยไม่คิดดอกเบี้ย และสามารถผ่อนชำระได้นานถึง 6 เดือน สำหรับใบแจ้งค่าน้ำประปาของเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2563

4. คืนเงินประกันการใช้น้ำให้กับผู้ใช้น้ำ กปน. ทุกประเภท (จากเดิมที่กำหนดคืนให้เฉพาะผู้ใช้น้ำประเภทที่ 1 ที่พักอาศัย)

สามารถตรวจสอบสิทธิ์และลงทะเบียนขอรับสิทธิ์ผ่านช่องทางออนไลน์ของ กปน. คือ

- แอปพลิเคชัน MWA onMobile

- เว็บไซต์ กปน. www.mwa.co.th

- MWA e-Services

- Line : @MWAthailand

ได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ตั้งแต่เวลา 08.30 น. สำหรับผู้ใช้น้ำประเภทที่ 1 ที่พักอาศัย รวมถึงคอนโด อาคารชุด ห้องเช่า นิติบุคคล

สำหรับผู้ใช้น้ำประเภทที่ 2 ธุรกิจ ราชการ รัฐวิสาหกิจ อุตสาหกรรมและอื่น ๆ สามารถตรวจสอบสิทธิ์และลงทะเบียนขอรับสิทธิ์คืนเงินประกันค่าใช้น้ำ ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2563 ตั้งแต่เวลา 08.30 น เป็นต้นไป

5. ยกเว้นการตัดน้ำ ทั้งมาตรชั่วคราวและมาตรถาวร งดการผูกลวด และงดการถอดมิเตอร์น้ำ สำหรับผู้ใช้น้ำที่ไม่ชำระค่าน้ำตามกำหนด เป็นระยะเวลา 6 เดือน ตั้งแต่วันนี้-30 กันยายน 2563 (จากเดิมที่แจ้งไว้ 2 เดือน)

6. ยกเว้นการเก็บค่าธรรมเนียมการชำระค่าน้ำประปา ที่เคาน์เตอร์เซอร์วิส เทสโก้โลตัส บิ๊กซี และ CenPay ตั้งแต่วันนี้-30 มิถุนายน 2563 (จากเดิมถึงเดือนพฤษภาคม)

ขั้นตอนการขอคืนเงินประกันการใช้น้ำเงินประกันการใช้น้ำแบ่งตามขนาดมาตรวัดน้ำ

อัตราค่าธรรมเนียมเงินประกันการใช้น้ำ มีรายละเอียดเบื้องต้นดังต่อไปนี้

- มาตรวัดน้ำขนาด 1/2 นิ้ว คิดค่าประกันมาตรละ 400 บาท

- มาตรวัดน้ำขนาด 3/4 นิ้ว คิดค่าประกันมาตรละ 600 บาท

- มาตรวัดน้ำขนาด 1 นิ้ว คิดค่าประกันมาตรละ 1,500 บาท

- มาตรวัดน้ำขนาด 11/2 นิ้ว คิดค่าประกันมาตรละ 3,000 บาท

- มาตรวัดน้ำขนาด 2 นิ้ว คิดค่าประกันมาตรละ 4,000 บาท

- มาตรวัดน้ำขนาด 21/2 นิ้ว คิดค่าประกันมาตรละ 5,000 บาท

- มาตรวัดน้ำขนาด 3 นิ้ว คิดค่าประกันมาตรละ 10,000 บาท

- มาตรวัดน้ำขนาด 4 นิ้ว คิดค่าประกันมาตรละ 15,000 บาท

- มาตรวัดน้ำขนาด 6 นิ้ว คิดค่าประกันมาตรละ 21,000 บาท

- มาตรวัดน้ำขนาด 8 นิ้วขึ้นไป คิดค่าประกันมาตรละ 30,000 บาท

 ขั้นตอนการลงทะเบียนขอคืนเงินประกันการใช้น้ำประปาจากการประปานครหลวง

ผู้ใช้น้ำที่ขอเงินประกันคืนจะต้องมีชื่อตรงกับผู้วางเงินประกันการใช้น้ำ โดยเริ่มเปิดให้ตรวจสอบสิทธิ์และลงทะเบียนได้ตั้งแต่ วันที่ 1 พฤษภาคม 2563 เป็นต้นมา โดยไม่จำกัดระยะเวลา การลงทะเบียน ตามช่องทางต่อไปนี้

ช่องทางลงทะเบียนขอคืนจากการประปานครหลวง

1. www.mwa.co.th

2. App MWA onMobile

3. Line OA : @MWAthailand

4. หมายเลขโทรศัพท์ 0-2500-2828 จำนวน 50 คู่สาย ในวันและเวลาราชการ เวลา 08.30-16.30 น. (พิเศษ วันศุกร์ที่ 1 ถึงวันจันทร์ที่ 4 และวันพุธที่ 6 พฤษภาคม 2563 เปิดสายรับบริการ เวลา 08.30-16.30 น.)

โดยผู้ใช้น้ำจะต้องเตรียมข้อมูลเพื่อใช้ในการลงทะเบียน ได้แก่ ชื่อ-นามสกุล ผู้วางเงินประกันการใช้น้ำ, หมายเลขบัตรประชาชน (13 หลัก) ผู้วางเงินประกันการใช้น้ำ, หมายเลขทะเบียนผู้ใช้น้ำ (8 หลัก), เลขที่บัญชีธนาคาร ผู้วางเงินประกันการใช้น้ำ, หมายเลขโทรศัพท์มือถือ, E-mail (ถ้ามี) และหากเป็นนิติบุคคล จะต้องแนบหน้าสมุดบัญชีธนาคารด้วย

ในกรณีดังต่อไปนี้ อาทิ ผู้วางเงินประกันมีการเปลี่ยนแปลงชื่อ-นามสกุล, ชื่อผู้ใช้น้ำและเงินประกันเป็นของบิดาหรือมารดา ซึ่งเสียชีวิตไปแล้ว และไม่ตรงกับเจ้าบ้านในปัจจุบัน, ซื้อบ้านต่อจากบุคคลอื่น และชื่อผู้วางเงินประกันการใช้น้ำไม่ตรงกับชื่อผู้ใช้น้ำในปัจจุบัน และผู้ใช้น้ำที่ไม่สะดวกขอคืนเงินประกันการใช้น้ำผ่านทั้ง 4 ช่องทางดังกล่าว ขอให้นำเอกสารประกอบการขอคืนเงินประกันการใช้น้ำ มาติดต่อที่สำนักงานประปาสาขา ทั้ง 18 แห่ง ตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2563 เป็นต้นไป

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0-2500-2828 จำนวน 50 คู่สาย ในวันและเวลาราชการ เวลา 08.30-16.30 น. MWA call Center โทร. 1125 ตลอด 24 ชั่วโมง หรือ ทาง Line Official Account: @MWAthailand

สำหรับเงินประกันการใช้น้ำที่วางไว้ ซึ่งผู้ใช้น้ำที่มีการชำระค่าน้ำตามปกติ จะได้รับเงินประกันการใช้น้ำคืนตามขนาดมาตรวัดน้ำและสามารถเลือกรับเงินประกันการใช้น้ำคืนผ่านช่องทางดังต่อไปนี้

- พร้อมเพย์

- เคาน์เตอร์เซอร์วิส

- บัญชีธนาคารกรุงไทย, กสิกรไทย, ไทยพาณิชย์

ขั้นตอนการลงทะเบียนขอคืนเงินประกันการใช้น้ำประปาจากการประปาส่วนภูมิภาค

การประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) เผยถึงขั้นตอนการลงทะเบียนขอคืนเงินประกันการใช้น้ำประปา ซึ่งประชาชนสามารถลงทะเบียนผ่านทางออนไลน์ ไม่ต้องไปยังสาขาของสำนักงาน เพียงแค่กรอกข้อมูลให้ครบถ้วนตามขั้นตอนที่กำหนด โดยระบบจะเปิดให้เริ่มลงทะเบียนรับสิทธิ์ได้ตั้งแต่วันที่ 15 เมษายน 2563 เป็นต้นมา (โดยไม่มีกำหนดปิดรับลงทะเบียน)

ช่องทางลงทะเบียนขอคืนจากการประปาส่วนภูมิภาค

1. ผ่านเว็บไซต์ของ กปภ. ทาง www.pwa.co.th

2. ผ่านแอปพลิเคชั่น PWA 1662 ได้ทั้งระบบ iOS และ แอนดรอยด์

3. บัญชีไลน์ของ กปภ. @PWATHAILAND

ขั้นตอนการลงทะเบียนขอคืนจากการประปาส่วนภูมิภาค

1. กรอกข้อมูลผู้ใช้น้ำ ทั้งชื่อนามสกุล หมายเลขผู้ใช้น้ำ ซึ่งดูได้จากบิลน้ำประปา และหมายเลขบัตรประชาชน

2. ทำตามขั้นตอนให้ครบถ้วน พร้อมตรวจสอบความถูกต้อง

3. ระบบจะยืนยันผลการลงทะเบียนผ่าน SMS ตามเบอร์โทรศัพท์มือถือ

4. รอรับเงินตามช่องทางที่ต้องการ ได้แก่

- ผ่านพร้อมเพย์ที่ผูกไว้กับบัตรประชาชน

- บัญชีธนาคารที่มีชื่อตรงกับผู้ลงทะเบียนรับสิทธิ์

- เคาน์เตอร์เซอร์วิส ภายในร้าน 7-Eleven ทุกสาขา

ทั้งนี้ หากประชาชนมีข้อสงสัยหรือเกิดปัญหาในการลงทะเบียน สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Call Center โทร. 1662

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook