“ไฟไหม้บ้าน หรืออาคาร” 11 เรื่องต้องรู้ไว้ จากเจ้าหน้าที่ดับเพลิง

“ไฟไหม้บ้าน หรืออาคาร” 11 เรื่องต้องรู้ไว้ จากเจ้าหน้าที่ดับเพลิง

“ไฟไหม้บ้าน หรืออาคาร” 11 เรื่องต้องรู้ไว้ จากเจ้าหน้าที่ดับเพลิง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

Sanook Home เคยนำเสนอเรื่องเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเกี่ยวกับไฟไหม้ เพื่อให้เกิดความเข้าใจง่ายๆ เราจึงขอนำมาสรุปเป็นข้อๆ อีกครั้งเกี่ยวกับความรู้ดีๆ เหล่านั้น เพราะถ้าสังเกตดีๆ การปิดประกาศให้พนักงานบริษัทเข้ารับการอบรมซ้อมอพยพหนีไฟ มักเป็นกิจกรรมที่หลายๆ คนรู้สึกเบื่อหน่ายและมักไม่ค่อยอยากเข้าร่วม จะเป็นด้วยสาเหตุอะไรนั้นก็แล้วแต่ละเหตุผลของแต่ละบุคคล แต่ถ้าเกิดเหตุขึ้นจริงๆ แล้วทุกคนที่อยู่ในสถานการณ์นั้นน่าจะทำตัวไม่ถูก จากกระทู้ของผู้ที่เคยเข้าอบรมซ้อมอพยพหนีไฟ มีเกร็ดความรู้ดีๆ จากพนักงานดับเพลิงมาแชร์ให้ทราบกันดังต่อไปนี้

istockphotoistockphoto

1.การเกิดไฟไหม้มี 4 กระบวนการคือ ความร้อน คายไอ เปลี่ยนสี และลุกไหม้
ความร้อน หมายถึงวัตถุนั้นโดนความร้อนหรือได้รับความร้อน
คายไอ- เมื่อได้รับความร้อนจนอิ่มตัว วัตถุนั้นจะเกิดการคายไอระเหยออกมา (วัตถุที่คายไอตลอดเวลาเช่นน้ำมันเบนซิล พอนึกภาพบิดเบี้ยวเมื่อเรามองน้ำมันได้ไหมคะ แบบนั้นเลย)
เปลี่ยนสี- เปลี่ยนวัตถุจากสีหนึ่งไปอีกสีหนึ่ง ตัวอย่างเช่น ขาว->เหลือง->น้ำตาล->ดำ
ลุกไหม้- อันนี้ทุกคนคงรู้จักกันดี

2.เมื่อไฟไหม้ควรตัดไฟเป็นอันดับแรก หลายคนอาจจะไม่ทันฉุกคิดค่ะ เวลาเราแตกตื่น เราจะพยายามรักษาทรัพย์สินด้วยการสาดน้ำ หรือหาอะไรมาดับไฟ ซึ่งเราก็รู้กันดีว่าน้ำและไฟฟ้าเป็นของที่ไม่ควรอยู่คู่กัน ยิ่งสาดน้ำใส่ไฟฟ้า ยิ่งเพิ่มความเสียหาย

istockphotoistockphoto

3.อย่าชะล่าใจว่าไม่มีไฟจะไม่มีความร้อน สมมติว่าข้างห้อง หรือชั้นบน หรือชั้นล่างกำลังลุกไหม้ ไฟยังไม่มาค่ะ แต่ความร้อนมาแล้วแน่นอน สิ่งที่ช่วยชีวิตคุณได้คือ กระดาษ อันนี้แบบใกล้ตัวในสำนักงานนะคะจริงๆ คงมีแบบอื่นแต่ทำไมกระดาษถึงช่วยชีวิตได้ล่ะ เหตุผลคือกระดาษจะทำปฏิกิริยาคายไอ คุณจะเห็นไอระเหยจากกระดาษ อนุมานอุณหภูมิได้ทันทีว่า 250-300 องศาเซลเซียส ถึงคุณไม่ตายเพราะไฟ แต่คุณจะสลบด้วยความร้อน และผิวหนังจะโดนความร้อนเผาเหมือนไก่ย่าง

4.แล้วหากเราจำเป็นต้องหนีหรือผ่านในจุดเพลิงไหม้ ควรทำอย่างไร วิธีการคือคว้าทุกสิ่งอย่างที่มี ผ้าม่าน ผ้าปูโต๊ะ ผ้าปูที่นอน ผ้าคลุมเตียง คลุมตัวเอง ห่อตัวให้เป็นบ๊ะจ่างแต่อย่ารุ่มร่าม เพราะถ้าสะดุดล้มอันตรายมาก แล้ววิ่งให้เร็วสุดชีวิตไปที่ทางออก และที่สำคัญจงเลือกทางที่สั้นที่สุดแต่ปลอดภัยที่สุดด้วย วิธีนี้หากอยู่ในอุณหภูมิ 300 องศา ระยะทางไม่ไกลมากสัก 6-7 เมตร

5.ไฟจะไหม้ห้องทั้งห้องโดยประมาณ 5 นาที อุณหภูมิอยู่ที่ 800 องศา สำหรับห้องสำนักงาน หากมีเชื้อเพลิงน้ำมัน แก๊ส อุณหภูมิอาจจะอยู่ที่พันองศาในสองนาทีที่เริ่มไหม้ ควันจะทำให้หายใจไม่ออก และกดตัวต่ำลงเมื่อเริ่มเข้านาทีที่สอง จงหนีให้ไว อย่าอาลัยอาวรณ์เก็บข้าวของห่วงนู่นห่วงนี่ ท่องไว้ค่ะ ไม่ตายก็หาใหม่ได้ แต่ชีวิตคุณมีแค่ครั้งเดียว ตายแล้วก็ตายเลย

6.หากเกิดเพลิงไหม้ในห้องใดห้องหนึ่ง จงปิดหน้าต่าง และปิดประตูขังไฟ ความเสียหายจะเกิดขึ้นในจุดที่เล็กลง และง่ายต่อการดับไฟของเจ้าหน้าที่พนักงาน นอกจากนี้คุณไม่ต้องสิ้นเปลืองจากค่าเสียหายกับโถงทางเดินและห้องอื่นๆ จำไว้ไฟไหม้เมื่อไหร่ปิดประตู มีเวลาให้วิ่งไปปิดหน้าต่างให้เยอะที่สุดแล้วหนี!!! ไม่ต้องล็อคนะคะเดี๋ยวพนักงานเข้าไปดับเพลิงทางประตูไม่ได้ และหากไม่ได้เปิดหน้าต่างระบายอากาศ กรุณาแจ้งเจ้าหน้าที่ เพราะเขาจะได้ระวังตัวตอนเปิดประตูไปดับไฟ ท่องไว้ พนักงานดับเพลิงก็คน มีลูกเมียคอยอยู่เหมือนคุณ

7.หลังมือนั้นคือทางรอด เรื่องง่ายๆ ที่หลายๆ คนอาจจะรู้อยู่แล้ว แต่ถือว่าทวนกัน หากมีเหตุการณ์ฉุกเฉิน หลังมือเท่านั้นที่ไว้คลำ จงอย่าใช้ฝ่ามือเพราะเคยชิน

istockphotoistockphoto

8.เมื่อคุณหนีไฟจนเจอบันไดหนีไฟแล้ว จงปิดประตูเมื่อหนีออกมาแล้ว!! (แต่อย่าทะลึ่งล็อคนะ) อย่าเป็นคนดีผิดเวลาแบบกลัวว่าคนจะตามมาทีหลังจะไม่รู้ว่าประตูหนีไฟอยู่ตรงนี้นะเป็นอันขาด

ข้อควรรู้คือเมื่อบันไดหนีไฟเปิดอ้า ควันและไฟก็เหมือนน้ำ เมื่อคุณเผื่อแผ่ ควันและไฟก็จะเผื่อแผ่ จะไหลไปเหมือนธารน้ำลุกไหม้ทางหนีไฟ คุณลองนึกภาพนะคะไฟไหม้ตึก 10 ชั้น ต้นเพลิงอยู่ที่ชั้น5 คุณซึ่งอยู่ชั้น7 ต้องหนีไฟลงมาชั้นลง บังเอิญค่ะ มีพ่อพระใจดีกลัวเพื่อนหนีไฟที่ชั้น 5 จะมองไม่เห็นทางออกเพราะควันอันหนาทึบ แน่นอนค่ะ คุณที่อยู่ชั้น 7 เปิดประตูหนีไฟไปเจอประตูไฟนรก ควันเขม่าลอยฟุ้ง แออัดในช่องหนีไฟของตึก

คุณคิดว่าทางหนีไฟที่มีควันอบอวลยังใช้งานให้คุณขึ้นไปข้างบนดาดฟ้าได้มั้ยคะ? ถ้าโชคดีอาจจะทัน ถ้าไม่ล่ะ? คุณจะขาดอากาศเพราะคุณเผาผลาญออกซิเจน และควันไฟยังดึงออกซิเจนไปจากคุณ ต่อให้คุณไม่โดนไฟคลอกตายก็ขาดอากาศตายอยู่ดี ข้อควรรู้อีกอย่างในข้อแปดคือประตูหนีไฟที่เราจะเห็นกันเป็นเหล็กหนาๆ สามารถทนความร้อนได้สองชั่วโมง ถ้าคุณรู้จักใช้มันอย่างถูกต้อง ทุกคนที่ใช้ทางหนีไฟมีโอกาสรอดแน่นอน

9.ห้องน้ำคือกับดัก มันคือมัจจุราชที่แสนดี มันจะทำให้เรารู้สึกดีรู้สึกปลอดภัย ก่อนจะทำให้เราหมดทางรอดและตายอย่างทรมาน ทำไมน่ะรึ! การที่คุณหนีเข้าห้องน้ำแปลว่าด้านนอกกำลังลุกไหม้อย่างน่ากลัว ทำให้พนักงานดับเพลิงไม่สามารถคุมเพลิงแล้วฝ่าไปช่วยคุณได้ หรือยังติดปัญหาอะไรบางอย่างทำให้ยังมาไม่ถึงคุณ เรามักคิดว่า เข้าห้องน้ำเพราะอย่างน้อยก็มีน้ำ แต่ในความเป็นจริงเมื่อคุณกำลังรอ ไฟก็กำลังไหม้วงกบและประตู

istockphotoistockphoto

หากประตูทำมาจากไม้เมื่อถึงจุดหนึ่งไม้จะยืดหดโก่งตัวผิดรูป และขังคุณไว้ในห้อง ควันไฟที่สะสมไอร้อน จะพวยพุ่งเข้ามาตามรอยแตกของไม้ ตอนนั้นคุณจะทุบจะพังประตูก็ทำไม่ได้ จะเอาน้ำดับควันก็ทำไม่ได้ แล้วหากประตูกับวงกบเป็นพลาสติกพีวีซีล่ะ? ก็อย่างที่เรารู้กันคือ พลาสติกโดนความร้อนแล้วจะละลาย คาดว่าชะตากรรมไม่ต่างกัน

10.อย่าเป็นคนช่างเสียดาย คุณมักจะเห็นคนแก่ๆ ชอบเก็บสมบัติ ซ่อมแล้วซ่อมอีก หรือมันจะพังไม่พังแหล่ก็ยังคงใช้เพราะความเสียดายเงิน หรืองกเงินซื้อของถูกๆ พี่ๆ พนักงานบอกว่าพักหลังๆ ที่เศรษฐกิจไม่ดี เหตุไฟฟ้าสำคัญเกิดจากเครื่องใช้ไฟฟ้าเยอะมาก เพราะของไม่ได้มาตรฐานหรือมาตรฐานต่ำ ดังนั้นลงทุนกันสักนิดเพื่อชีวิตที่ปลอดภัย

11.ใช้น้ำ ดับ น้ำมันเท่ากับเละ
ใช้น้ำ ดับ ไฟฟ้าเท่ากับเละ
ใช้น้ำ ดับ แก๊สเท่ากับได้
ใช้น้ำ ดับ เชือก กระดาษ หญ้า ผ้า เท่ากับได้

สุดท้ายฝากไว้สำหรับผู้ประสบเหตุฉุกเฉินไฟไหม้กด 199 สำหรับเบอร์โทรแจ้งเหตุเพลิงไหม้-ดับเพลิง

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook