รวม 7 สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการหูอื้อในคุณแม่ตั้งครรภ์

รวม 7 สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการหูอื้อในคุณแม่ตั้งครรภ์

รวม 7 สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการหูอื้อในคุณแม่ตั้งครรภ์
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หนึ่งในอาการที่เกิดขึ้นในขณะตั้งครรภ์ ก็คือ อาการหูอื้อ ซึ่งวันนี้เราจะชวนให้คุณแม่ตั้งครรภ์มารู้ถึงสาเหตุต่างๆ ที่ทำให้เกิดอาการหูอื้อในคุณแม่ตั้งครรภ์กันค่ะ มาดูกันว่ามีสาเหตุใดบ้าง และสาเหตุดังกล่าวนี้เกิดขึ้นกับคุณแม่บ้างหรือเปล่า


1.อาการเดิมจากครรภ์แรก
สำหรับคุณแม่ที่เคยผ่านการตั้งครรภ์มาแล้ว หากยังคงมีอาการหูอื้อในขณะตั้งครรภ์ครั้งใหม่ นั่นถือเป็นอาการเดิมที่เกิดขึ้น ซึ่งโอกาสที่อาการหูอื้อจะเกิดขึ้นนั้นมีสูงมาก ดังนั้นหากตั้งครรภ์แรกมีอาการหูอื้อ ก็ต้องเตรียมใจไว้เลยว่าการตั้งครรภ์ในครั้งต่อๆ ไปมีโอกาสที่จะเกิดอาการนี้ได้สูง

2.ร่างกายขาดธาตุเหล็ก
หากร่างกายของคุณแม่ในระหว่างตั้งครรภ์ขาดสารอาหารจำพวกธาตุเหล็ก ย่อมมีโอกาสที่จะทำให้เกิดอาการหูอื้อในระหว่างตั้งครรภ์ได้


3.ความดันโลหิตสูง
ในระหว่างตั้งครรภ์ หากคุณแม่มีภาวะความดันโลหิตสูง ย่อมมีโอกาสที่จะเกิดอาการหูอื้อได้ เนื่องจากความดันโลหิตจะเข้าไปรบกวนความดันภายในของหูชั้นกลาง จนทำให้เกิดอาการหูอื้อนั่นเอง


4.ร่างกายมีฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนเพิ่มขึ้น
เมื่อร่างกายผลิตฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนในระหว่างตั้งครรภ์สูงขึ้นเรื่อยๆ ก็จะส่งผลให้เกิดอาการหูอื้อได้


5.ปวดไมเกรน
อาการปวดไมเกรนที่ถือเป็นโรคประจำตัวของคุณแม่ หากมีอาการปวดหัวมากๆ ก็จะพัฒนากลายมาเป็นโรคหูอื้อได้เช่นกัน


6.มีปัญหาทางทันตกรรม
ในบางกรณี อาการหูอื้อที่เกิดขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์ เกิดจากปัญหาทางทันตกรรม โดยเฉพาะปัญหาในการกัด ซึ่งอาการที่พบบ่อยมากที่สุดของการกัดก็คือ กรามแข็ง ปวดกราม และปวดศีรษะ และที่สำคัญอาการเหล่านี้มักมาพร้อมกับอาการหูอื้อ


7.เครียด
ความเครียดมักเกิดขึ้นได้ง่ายในช่วงตั้งครรภ์ ซึ่งคุณแม่อาจมีความเครียดจากการทำงาน จากความสัมพันธ์ในครอบครัว หรือแม้แต่เรื่องเล็กน้อยที่มีผลต่อการทำให้เกิดภาวะเครียด ก็ล้วนส่งผลให้เกิดอาการหูอื้อในคุณแม่ตั้งครรภ์ได้เช่นเดียวกัน


สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ที่สงสัยว่าอาการหูอื้อที่เกิดขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์ ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพร่างกายของคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์หรือไม่นั้น คำตอบก็คือ อาการนี้ถือเป็นอาการที่พบได้บ่อยในหญิงตั้งครรภ์ และพบบ่อยได้ถึง 1 ใน 3 ของผู้หญิงตั้งครรภ์ทั้งหมด ทั้งนี้หากเคยมีอาการหูอื้อนำมาก่อนตั้งครรภ์ จะพบว่า 2 ใน 3 ของกลุ่มนี้จะมีอาการหูอื้อที่รุนแรงมากขึ้นขณะตั้งครรภ์ ทั้งนี้อาการหูอื้อที่พบในช่วงตั้งครรภ์ มักจะพบมากที่สุดในช่วงการตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 2 นั่นเองค่ะ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook