โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ภัยร้ายของคนอายุ 50 ปีขึ้นไป

โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ภัยร้ายของคนอายุ 50 ปีขึ้นไป

โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ภัยร้ายของคนอายุ 50 ปีขึ้นไป
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ภัยร้ายของคนอายุ 50 ปีขึ้นไป
ในปัจจุบันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 4 ของโลก เป็นสาเหตุการเสียชีวิตเป็นอันดับ 2 ของประชากรในประเทศสหรัฐอเมริกา ในส่วนของประเทศไทยเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 3 ของในเพศชาย และ อันดับ 5 ในเพศหญิง

สาเหตุของโรคมะเร็ง แบ่งออกเป็น
ปัจจัยทั่วไป
1. เกิดจากกรรมพันธุ์หรือ พันธุกรรม (คนในครอบครัวมีประวัติป่วยเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่)
ปัจจุบันโรคที่พอจะทราบว่าเกี่ยวกับพันธุกรรม ได้แก่
- Familial adenomatous polyposis syndromes (FAP)
- Inherited colorectal cancer in Ashkenazi Jews
- Juvenile polyposis
- Peutz-Jeghers syndrome
- Hereditary nonpolyposis colorectal cancer (HNPCC)
• Lynch I syndrome
• Lynch II syndrome
- สาเหตุอื่นๆ
• Inflammatory bowel disease
• มะเร็งลำไส้ใหญ่
• เคยฉายแสงในอุ้งเชิงกราน
• ติ่งเนื้องอกในลำไส้ใหญ่
• ลำไส้ใหญ่อักเสบ
2. อาหาร
อาหารที่มีไขมันสูง , แคลอรี่สูง , การสูบบุหรี่ ,ดื่มแอลกอฮอล์, การรับประทานอาหารที่มีใยอาหารต่ำ เพิ่มโอกาสเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่
3. ความเครียด
4. เพศ : เพศชายมีความเสี่ยงมากกว่า เพศหญิง

อาการของมะเร็งลำไส้ใหญ่
- ท้องเสีย ท้องผูกหรือรู้สึกท้องอืด
- อุจจาระปนเลือดสดๆ หรือเลือดสีคล้ำมาก
- ลักษณะอุจจาระเรียวยาวกว่าปกติ
- ไม่สบายท้อง ปวดแสบร้อนท้อง อาหารไม่ย่อยและปวดเกร็ง
- น้ำหนักตัวลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
- อ่อนเพลียหรืออ่อนแรง
- ซีด โลหิตจาง

แนวทางในการลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ ได้แก่
1. การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
2. การบริโภคอาหารที่มีกากใยสูง
3. การควบคุมน้ำหนัก
4. หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่
5. งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

การตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่
โดยทั่วไปมะเร็งลำไส้ใหญ่ในระยะแรกมักไม่มีอาการผิดปกติใดๆ สามารถตรวจเนื้องอกที่กำลังจะกลายเป็นมะเร็งและให้การรักษาได้ การตรวจขึ้นอยู่กับอายุและประวัติทางครอบครัว รวมถึงความเสี่ยงต่างๆข้างต้นที่กล่าวมาแล้ว

ผู้ที่ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่
กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง ได้แก่
- ผู้ที่มีประวัติเคยเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่หรือเคยมี
- เคยเป็นเนื้องอกชนิด adenoma
- ประวัติคนในครอบครัวเคยเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ก่อนอายุ 60 ปี
- มีประวัติป่วยเป็นลำไส้อักเสบเรื้อรัง
- มีโรคพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับมะเร็งลำไส้ใหญ่
(สำหรับการตรวจด้วยเครื่อง PET-CT ในคนทั่วไปยังอยู่ระหว่างการวิจัยถึงข้อดีและข้อเสีย รวมถึงความคุ้มค่าและประโยชน์ที่ได้รับจากการตรวจนี้ )

กลุ่มที่ไม่มีความเสี่ยง ได้แก่
- ชาย หรือ หญิง ที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป

วิธีการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ มีหลายวิธีดังนี้
- การตรวจหาเลือดในอุจจาระปีละ 1 ครั้ง
- การส่องกล้องลำไส้ใหญ่ส่วนปลายทุกๆ 5 ปี
- การตรวจหาเลือดในอุจจาระปีละ 1 ครั้ง และการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ส่วนปลายทุกๆ 5 ปี
- การส่องกล้องลำไส้ใหญ่ทั้งหมดทุกๆ 10 ปี
- สวนแป้งทุกๆ 5 ปี.
(ไม่แนะนำตรวจเลือดเพื่อวัดระดับ CEA ในคนทั่วไปที่ยังไม่มีอาการผิดปกติ)


การรักษาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
จุดประสงค์ของการรักษาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่นั้นมี 2 ลักษณะ ได้แก่
1. รักษาให้หายขาด ( Cure)
2. รักษาเพื่อประคับประคอง (Palliative)

ในการรักษาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ จะประกอบด้วยทีมแพทย์สหสาขา ได้แก่ ศัลยแพทย์ รังสีแพทย์ อายุรแพทย์ มะเร็งวิทยา โดยมีวิธีการรักษา ดังนี้
• การผ่าตัด
• ฉายแสงรังสีรักษา
• การให้ยาเคมีบำบัด

การรักษาแบ่งตามระยะของโรค
> ระยะ 0-1 การรักษาหลักคือ การผ่าตัด
> ระยะ 2 การรักษาหลักคือ การผ่าตัด {ใช้เคมีบำบัดเสริม หรือรังสีรักษาร่วมกัน (ในกรณีที่เป็นมะเร็งลำไส้ตรง) ในบางกรณี}
> ระยะ 3 การรักษาหลักคือ การผ่าตัด และใช้เคมีบำบัดเสริม หรือ รังสีรักษาร่วมกัน (ในกรณีที่เป็นมะเร็งลำไส้ตรง)
> ระยะ 4 การรักษาจะพิจารณาผู้ป่วยเป็นรายๆไป การรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่ด้วยการฉายรังสีรักษา
> การใช้รังสีรักษาในการรักษาโรคมะเร็งกระทำได้โดยการฉายรังสีไปยังตำแหน่งที่เป็นโรค ได้แก่ ก้อนมะเร็ง และต่อมน้ำเหลือง

สิ่งที่ได้จากการฉายรังสี
- การฉายรังสีจะเป็นการรักษาเฉพาะที่เหมือนการผ่าตัด
- การฉายรังสีจะทำลายเซลล์มะเร็งที่อาจจะหลงเหลืออยู่หลังการผ่าตัด
- การฉายรังสีจะทำให้ก้อนมะเร็งยุบตัวลงได้ และชลอการโต
- ถ้าไม่ได้ฉายรังสี โดยเฉพาะในรายที่ผ่าตัดเอาก้อนมะเร็งออกไม่หมด หรือมีโรคกระจายไปที่ต่อมน้ำเหลือง โรคมักจะกำเริบกลับเป็นใหม่

การรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่ด้วยยา
การรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่ด้วยยาเคมีบำบัด
>> การให้ยาเคมีบำบัดรักษาเสริมหลังการผ่าตัด เพื่อลดการกลับเป็นซ้ำของโรคมะเร็ง
>> การให้ยาเคมีบำบัดรักษาก่อนการผ่าตัด เพื่อลดขนาดของก้อนมะเร็ง ก่อนการผ่าตัด
>> การให้ยาเคมีบำบัดแบบประคับประคอง เพื่อช่วยยืดอายุของผู้ป่วยให้มีชีวิตยืนยาวยิ่งขึ้น และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
>> รักษาด้วยยาเคมีบำบัด
- ชนิดฉีดเข้าเส้นเลือดดำ
- ชนิดรับประทาน
>> การรักษาโดยใช้ยายับยั้งเฉพาะเป้าหมาย(targeted therapy)
- ยายับยั้งการสร้างเส้นเลือด
- ยายับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง

ระยะ             อัตรารอดชีวิตที่ 5 ปี
1                     93.2%
2                   72.2%-83.4%
3                  44.3%-64.1%
4                      8.1%

อัตราการแพร่กระจายของมะเร็งลำไส้ใหญ่ไปสู่อวัยวะอื่นๆ
ตับ                                      38-60%
ต่อมน้ำเหลืองในช่องท้อง               39%
ปอด                                     38%
เยื่อบุช่องท้อง                           28%
รังไข่                                    18%
ต่อมหมวกไต                            14%
เยื่อหุ้มปอด                              11%
สมอง                                    8%
กระดูก                                  10%

- โรคมะเร็งแต่ละชนิด มีการดำเนินของโรค และความร้ายแรงแตกต่างกัน
- โอกาสดีที่สุดที่จะจัดการกับโรคมะเร็ง คือ ต้องรู้ให้เร็วที่สุด หรือ ตรวจคัดกรองก่อนที่จะเป็น
- การรักษาครั้งแรกมีความสำคัญมากที่สุด
- ความแข็งแรงของร่างกายและจิตใจ และความร่วมมือของผู้ป่วย มีผลต่อการรักษามาก

การดูแลตนเองด้านร่างกาย
• ให้ความร่วมมือในการไปพบแพทย์ตามนัด
• สังเกตความเปลี่ยนแปลงของตัวเอง
• การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
• กิจวัตรประจำวัน

เมื่อพูดถึงโรคมะเร็งนั้น มีเพียงไม่กี่ชนิดเท่านั้นที่ป้องกันได้หรือรู้ได้ในระยะเริ่มต้นได้แก่มะเร็งปากมดลูก มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งปากมดลูกป้องกันโดยตรวจภายใน ทำPap Smear ปีละ 1 ครั้ง ส่วนมะเร็งลำไส้ใหญ่ป้องกันได้โดยมาส่องกล้องลำไส้ใหญ่(Colonoscopy)หรือ CT colonography ทุกๆ10 ปี แต่อย่างไรก็ตามถ้ารู้ว่าเราเป็นแล้วก็ต้องรีบรักษากับแพทย์เฉพาะทางด้านลำไส้ใหญ่และทวารหนัก เพื่อจะได้ผลการรักษาที่ดีที่สุดครับ

นพ. ธีรสันติ์ ตันติเตมิท
ศัลยแพทย์ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก
โรงพยาบาลพญาไท 2

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook