“ไข้หวัดใหญ่” โรคสุดฮิตในเด็กช่วงปลายฝนต้นหนาว กับวิธีป้องกันและรักษาที่หมอญี่ปุ่นแนะนำ

“ไข้หวัดใหญ่” โรคสุดฮิตในเด็กช่วงปลายฝนต้นหนาว กับวิธีป้องกันและรักษาที่หมอญี่ปุ่นแนะนำ

“ไข้หวัดใหญ่” โรคสุดฮิตในเด็กช่วงปลายฝนต้นหนาว กับวิธีป้องกันและรักษาที่หมอญี่ปุ่นแนะนำ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ช่วงนี้ประเทศไทยฝนตกชุก อากาศชื้นแฉะ ทำให้ต้องระวังไข้หวัดใหญ่ที่มักระบาดในช่วงปลายฝนต้นหนาวแบบนี้ โดยเฉพาะในเด็กเล็กที่มีโอกาสติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ได้ง่ายกว่าผู้ใหญ่ คุณพ่อคุณแม่ทั้งหลายจึงต้องคอยดูแลลูกน้อยอย่างใกล้ชิด ซึ่งนอกจากไทยแล้ว ที่ญี่ปุ่นก็ให้ความสำคัญกับการป้องกันไข้หวัดใหญ่ในเด็กมากเช่นกัน มารู้จักไข้หวัดใหญ่ กับวิธีป้องกันและรักษาในเด็กที่หมอญี่ปุ่นแนะนำกันนะคะ

ไข้หวัดใหญ่


ไข้หวัดใหญ่ 
เกิดจากการติดเชื้อไวรัสอินฟลูเอนซา (Influenza) ในไทยพบได้ทุกฤดูกาล แต่มักระบาดในช่วงฤดูฝน แม้ไข้หวัดใหญ่จะเป็นเชื้อที่พบมานานแล้ว แต่เชื้อโรคมีการเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมได้ตลอดเวลา ทำให้คนที่ป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ไปแล้วสามารถป่วยซ้ำได้อีก หรือแม้เคยฉีดวัคซีนป้องกันไปแล้ว หากจะป้องกันไวรัสไข้หวัดใหญ่ในปีต่อไปก็ต้องฉีดอีกครั้ง

อาการของไข้หวัดใหญ่


ไข้หวัดใหญ่ติดเชื้อผ่านการไอจามรดกันโดยตรง และทางการสัมผัสน้ำมูกหรือเสมหะ ลักษณะอาการคล้ายคลึงกับไข้หวัดทั่วไป แต่นอกเหนือจากอาการร่วม เช่น มีไข้ มีน้ำมูก คัดจมูก เจ็บคอ และไอแล้ว ผู้ที่ป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่โดยเฉพาะในเด็กจะมีไข้สูงลอยเกินกว่า 39-40 องศาเซลเซียสติดต่อกัน 3-4 วัน และอาจมีอาการหนาวสั่นสะท้านร่วมด้วย ในเด็กโตและผู้ใหญ่มักมีอาการปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย และเบื่ออาหาร นอกจากนี้ยังอาจมีอาเจียนและท้องเสีย ซึ่งอาจทำให้นำไปสู่ภาวะขาดน้ำได้ด้วย

การดูแลเด็กที่ป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่


เบื้องต้นทำได้โดยการเช็ดตัว ให้ยาลดไข้ ให้เด็กสวมเสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดี  ปรับอุณหภูมิห้องให้ไม่ร้อนไม่หนาวจนเกินไป และป้องกันการติดต่อของเชื้อโรคโดยการให้เด็กสวมผ้าปิดปาก ล้างมือบ่อย ๆ และแยกสิ่งของเครื่องใช้กับผู้อื่น โดยระหว่างนี้แนะนำให้หยุดเรียนเป็นระยะเวลา 5-7 วัน ระยะเวลาขึ้นอยู่กับอาการ

สำหรับอาการแนะนำให้รับประทานอาหารอ่อน ๆ และให้เด็กดื่มน้ำบ่อย ๆ เพื่อป้องกันการขาดน้ำ เพราะเด็ก ๆ โดยเฉพาะเล็กนั้นนอกจากจะมีโอกาสติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ได้ง่ายกว่าผู้ใหญ่แล้ว ยังเสี่ยงต่อภาวะขาดน้ำมากกว่าด้วย เนื่องจากมีน้ำหนักน้อย และอ่อนไหวต่อภาวะขาดน้ำ เมื่อเด็กไม่สบายและมีไข้ ร่างกายจะเสียเหงื่อมากกว่าปกติ นอกจากนี้หากมีอาการอาเจียนและท้องเสียร่วมด้วยก็ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดอาการขาดน้ำมากขึ้น คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตอาการขาดน้ำของเด็กได้จากเหงื่อ น้ำลาย น้ำตา และปัสสาวะว่าออกมาในปริมาณที่น้อยกว่าปกติหรือไม่ รวมถึงความถี่ในการปัสสาวะและสีของปัสสาวะว่าไม่เป็นสีเหลืองเข้ม

หมอชาวญี่ปุ่นจากคลินิกเด็กมุราคามิ จังหวัดซากะ แนะนำว่า คุณพ่อคุณแม่ควรให้ความสำคัญกับการป้องกันอาการขาดน้ำของเด็กมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่ง เพราะหากปล่อยไว้อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ซึ่งนอกจากการให้เด็กดื่มน้ำเปล่าแล้ว คุณหมอยังแนะนำเครื่องดื่มที่มีส่วนประกอบของแร่ธาตุที่ใกล้เคียงกับของเหลวในร่างกาย อย่างเช่น เครื่องดื่มโพคารี่สเวท เพื่อให้ร่างกายเด็กได้รับทั้งน้ำและแร่ธาตุเพียงพอในระหว่างที่กำลังต่อสู้กับเชื้อไข้หวัดใหญ่ ซึ่งเด็กตั้งแต่อายุ 1 ปีขึ้นไปสามารถดื่มได้ เนื่องจากปราศจากวัตถุกันเสีย สีสังเคราะห์และกาเฟอีน โดยพยายามให้เด็กจิบเครื่องดื่มบ่อย ๆ และดื่มหลังตื่นนอน
 

ที่ญี่ปุ่นเวลาใครเป็นหวัดไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ ทั้งแพทย์และคนในครอบครัวมักจะแนะนำให้ผู้ป่วยดื่มเครื่องดื่มที่ช่วยชดเชยน้ำและแร่ธาตุให้ร่างกายอย่างเช่นโพคารี่สเวท โดยบางคนจะนำโพคารี่สเวทไปรินในแก้วแล้วนำไปอุ่นในไมโครเวฟก่อนดื่มเวลาที่เป็นหวัด

การป้องกันไข้หวัดใหญ่ในเด็ก


วิธีป้องกันไข้หวัดใหญ่ในเด็กทำได้โดยการให้เด็กล้างมือด้วยน้ำและสบู่สม่ำเสมอ โดยเฉพาะหลังจากออกนอกบ้านและก่อนรับประทานอาหาร สวมหน้ากากอนามัยเมื่อต้องออกจากบ้านหรือไปโรงเรียน แยกของเล่นและของใช้ให้เป็นส่วนตัว และหมั่นดูแลสุขภาพทั่วไปให้แข็งแรงอยู่เสมอ ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ซึ่งสามารถฉีดได้ตั้งแต่ อายุ 6 เดือน หากเป็นเด็กเล็กหรือเด็กทารกที่ยังอยู่ติดบ้าน คนเป็นพ่อแม่จะต้องคอยระวังและป้องกันตนเองไม่ให้ติดโรค เพราะหากพ่อแม่เป็นไข้หวัดใหญ่แล้ว ลูกก็มีโอกาสที่จะติดจากพ่อแม่ได้ง่ายอีกด้วย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook