“มะเร็งปากมดลูก” ตรวจหาก่อนได้อย่ารอให้แสดงอาการ

“มะเร็งปากมดลูก” ตรวจหาก่อนได้อย่ารอให้แสดงอาการ

“มะเร็งปากมดลูก” ตรวจหาก่อนได้อย่ารอให้แสดงอาการ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

“มะเร็งปากมดลูก” ตรวจหาก่อนได้อย่ารอให้แสดงอาการ

สาวๆ หลายคนคิดว่า “มะเร็งปากมดลูก” เป็นเรื่องไกลตัว หากไม่มีอาการเจ็บป่วยก็ไม่จำเป็นต้องไปพบแพทย์ ซึ่งอาจเป็นความคิดที่ไม่ถูกต้อง เพราะมะเร็งปากมดลูกจะแสดงอาการอย่างชัดเจนก็เมื่ออยู่ในระยะลุกลามแล้ว โดยโรคนี้เป็นโรคยอดฮิตที่พบเป็นอันดับ 2 รองจากมะเร็งเต้านม ซึ่งแต่ละปีจะมีผู้ป่วยใหม่ประมาณ 8,000 ราย และเสียชีวิตปีละประมาณ 4,500 รายเลยทีเดียว ครั้งนี้ทางโรงพยาบาลธนบุรีจึงอยากให้คุณได้รู้จักกับมะเร็งปากมดลูก ...ก่อนที่มะเร็งจะรู้จักคุณ

มะเร็งปากมดลูกเกิดจากอะไรและมีอาการอย่างไร?

มะเร็งปากมดลูกเกิดจากการติดเชื้อไวรัส HPV (Human Papilloma Virus) ชนิดก่อมะเร็ง ซึ่งจะทำให้เซลล์ปากมดลูกอักเสบเรื้อรังและเปลี่ยนเป็นเซลล์มะเร็งได้ ส่วนใหญ่จะติดเชื้อผ่านการมีเพศสัมพันธ์ โดยจะไม่แสดงอาการผิดปกติในระยะก่อนเกิดมะเร็งจนถึงมะเร็งระยะเริ่มแรก แต่อาจตรวจพบได้ด้วยการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก (Pap Smear Test) หากปล่อยไว้จะเริ่มมีอาการลุกลามมากขึ้น เช่น ปวดท้อง มีเลือดออกทางช่องคลอด ปัสสาวะเป็นเลือด ท่อไตอุดตัน เป็นต้น

เช็กให้ดี คุณเป็นผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงหรือไม่?

ผู้หญิงที่เคยมีเพศสัมพันธ์ถือว่ามีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งปากมดลูก และจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นหากมีปัจจัยต่อไปนี้

  1. มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย
  2. มีคู่นอนหลายคน
  3. สูบบุหรี่หรือได้รับควันบุหรี่เป็นประจำ
  4. ผู้ที่มีอายุ 40 – 50 ปี

นอกจากนั้น มะเร็งปากมดลูกเป็นโรคที่ไม่แสดงอาการในระยะแรก ดังนั้นหากคุณเคยมีเพศสัมพันธ์ แนะนำว่าควรป้องกันไว้ก่อนโดยเริ่มเข้ารับการตรวจคัดกรองตั้งแต่ตอนนี้จะดีที่สุด

เป็นแล้วรักษาอย่างไร?

แนวทางการรักษาแบ่งเป็น 4 ช่วง คือ

  1. ระยะก่อนมะเร็ง : หากเป็นน้อยสามารถติดตามอาการได้ แต่ถ้าเป็นมากขึ้นจะรักษาด้วยการผ่าตัดโดยห่วงลวดไฟฟ้า
  2. มะเร็งระยะที่ 1 : ผ่าตัดปากมดลูกบางส่วนออก หรือผ่าตัดปากมดลูก มดลูก เนื้อเยื่อข้างเดียว และต่อมน้ำเหลืองบริเวณอุ้งเชิงกรานออก
  3. มะเร็งระยะที่ 2 และ 3 : ฉายรังสีร่วมกับการให้ยาเคมีบำบัด ส่วนจะต้องผ่าตัดหรือไม่ แพทย์จะพิจารณาเป็นรายบุคคล
  4. มะเร็งระยะที่ 4 : ฉายรังสีเฉพาะจุด อาจรักษาร่วมกับการให้เคมีบำบัดและรักษาตามอาการหรือผลข้างเคียงของโรคที่เกิดขึ้น

มีวิธีป้องกันอย่างไรให้ไกลจากโรค?

  1. ฉีดวัคซีนป้องกันและใช้ถุงยางอนามัย เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อไวรัส HPV เข้าสู่ร่างกาย แต่ก็ยังไม่มีวิธีไหนที่ป้องกันได้ 100% ยกเว้นการไม่มีเพศสัมพันธ์
  2. หากไม่แน่ใจว่าตนเองติดเชื้อไวรัส HPV หรือไม่ ควรตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกร่วมกับการตรวจหาเชื้อไวรัส HPV ก่อนที่บริเวณเนื้อเยื่อที่มีความผิดปกติจะกลายเป็นมะเร็ง

สุดท้ายนี้ ขอแนะนำเพิ่มเติมว่าแม้จะฉีดวัคซีนแล้วก็อย่านิ่งนอนใจ อย่าลืมไปตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอย่างสม่ำเสมอหรืออย่างน้อยปีละครั้ง โดยเฉพาะผู้ที่เคยมีเพศสัมพันธ์หรือผู้ที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไป เพราะมะเร็งปากมดลูกป้องกันได้ อย่ารอมีอาการเมื่อสายแล้วค่อยมาพบแพทย์

สำหรับผู้ที่สนใจตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกหรือไม่แน่ใจว่าตนเองติดเชื้อไวรัส HPV หรือไม่ สามารถเข้ามาปรึกษาและตรวจรักษาวินิจฉัยโดยแพทย์สูติ-นรีเวช ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางได้ที่ ศูนย์รักษาเฉพาะทางสูติ-นรีเวช โรงพยาบาลธนบุรี >> https://bit.ly/2MEQLDs

(Advertorial)

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook