7 วิธีปฏิบัติตัวของผู้ป่วยเรื้อรังก่อนโรคทวีความรุนแรง

7 วิธีปฏิบัติตัวของผู้ป่วยเรื้อรังก่อนโรคทวีความรุนแรง

7 วิธีปฏิบัติตัวของผู้ป่วยเรื้อรังก่อนโรคทวีความรุนแรง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค คาดว่ามีผู้ป่วยเรื้อรังกว่า 5 ล้านคน ใน 5 โรค ได้แก่ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน หัวใจขาดเลือด อัมพฤกษ์อัมพาต และโรคหอบหืด ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติ จึงแนะวิธีปฏิบัติตัวของผู้ป่วยเรื้อรัง ในพื้นที่ประสบอุทกภัย 7 ข้อ ก่อนโรคทวีความรุนแรง ดังนี้


1.อพยพออกจากพื้นที่ประสบภัย เพื่อได้รับความช่วยเหลือง่าย ควรไปอยู่กับญาติในพื้นที่น้ำไม่ท่วม มากกว่าอยู่ศูนย์พักพิง หากอยู่ที่ศูนย์พักพิง ควรแจ้งเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์พักพิงในกรณีที่ท่านมีโรคประจำตัว

2.ควรนำยาที่ใช้อยู่เป็นประจำติดตัวมาด้วย จัดเก็บยาในภาชนะที่เหมาะสม และรับประทานยาตามคำแนะนำของแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอย่างเคร่งครัด และพกบัตรประจำตัวผู้ป่วยหรือบัตรแสดงตัวที่มี เลขประจำตัว 13 หลัก ติดตัวตลอดเวลา

3.ควรเคลื่อนไหวร่างกายอย่างเหมาะสมและฝึกหายใจ คลายเครียด โดยหายใจเข้าลึกและผ่อนคลายลมหายใจออกช้า ๆ ประมาณ 15 ครั้ง/นาที ทำวันละ 3 ครั้ง ครั้งละ 10 นาที เช้า กลางวัน เย็น หลังอาหารครึ่งชั่วโมง

4.ให้ผู้ป่วย ญาติ สังเกตอาการเตือนของโรคที่จะนำไปสู่ภาวะวิกฤติของโรคอย่างต่อเนื่อง หากพบมีความผิดปกติ ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ภายในศูนย์พักพิง

5.ผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ญาติควรนำยาที่ใช้อยู่เป็นประจำติดตัวมาด้วย จัดเก็บยาในภาชนะที่เหมาะสม พร้อมดูแลให้รับประทานยาตามคำแนะนำของแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอย่างเคร่งครัด และควรพลิกร่างกายผู้ป่วย อย่างน้อยทุก 2 ชั่วโมง ตรวจดูการเกิดแผลกดทับอย่างสม่ำเสมอ และควรติดป้ายแสดงรายละเอียดไว้ให้กับผู้ป่วย โดยต้องมีรายละเอียดดังนี้ ชื่อผู้ป่วยและญาติที่สามารถติดต่อได้ โรคที่ป่วย และยาที่จำเป็นต้องใช้

6. ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ต้องการทำสาธารณประโยชน์ ไม่ควรหักโหม ควรทำกิจกรรมที่เหมาะสม เช่น การบรรจุถุงยังชีพ การประกอบอาหาร หลีกเลี่ยงการบรรจุกระสอบทราย เป็นต้น

7. ผู้เป็นเบาหวาน ควรระวังการเกิดแผล โดยเฉพาะที่เท้า และใส่รองเท้าป้องกันน้ำเมื่อต้องลุยน้ำ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook