รู้จัก “สฟิงโกไมอีลิน” หนึ่งในสารอาหารสำคัญที่ช่วยพัฒนาสมอง

รู้จัก “สฟิงโกไมอีลิน” หนึ่งในสารอาหารสำคัญที่ช่วยพัฒนาสมอง

รู้จัก “สฟิงโกไมอีลิน” หนึ่งในสารอาหารสำคัญที่ช่วยพัฒนาสมอง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

     เพราะศาสตร์แห่งการเลี้ยงดูเป็นเรื่องละเอียดอ่อน เราจึงควรทำความรู้จักปัจจัยสำคัญในการเสริมสร้างพัฒนาการที่ดีตั้งแต่ลูกน้อยยังอยู่ในครรภ์ Sanook เชื่อว่าคุณแม่หลายคนน่าจะคุ้นเคยกับคำว่าแอลฟา-แล็คตัลบูมิน, ดีเอชเอ, โคลีน, ลูทีน หรือโฟเลตดีอยู่แล้ว เพราะเป็นสารอาหารสำคัญในนมแม่ แต่เท่านั้นคงไม่พอ เราอยากแนะนำให้คุณรู้จักน้องใหม่ชื่อย้าว…ยาวอย่าง สฟิงโกไมอีลินหนึ่งในสารอาหารสำคัญที่ช่วยให้เสริมสร้างพัฒนาการทั้งทางสมองและร่างกายของลูกน้อย

     สฟิงโกไมอีลิน (Sphingomyelin) เป็นไขมันชนิดฟอสโฟไลปิด ที่พบมากในนมแม่[1] หนึ่งในสารอาหารสำคัญในการสร้างไมอีลิน[2] ซึ่งไมอีลินเป็นปลอกหุ้มเส้นใยประสาท โดยเส้นใยประสาทมีไมอีลินมาห่อหุ้มจะทำให้การส่งสัญญาณประสาทเป็นไปแบบก้าวกระโดด จะช่วยทำให้การประมวลผลของสมองเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว [3-5]  ปลอกหุ้มไมอีลิน (Myelin Sheath) จะช่วยเร่งความเร็วในการส่งสัญญาณไฟฟ้าตลอดความยาวของเส้นใยประสาท และจะยิ่งมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นหากได้รับการพัฒนาใน 1,000 วันแรกของชีวิต

     ปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อการเพิ่มประสิทธิภาพของการส่งสัญญาณประสาทคือ “การสร้างปลอกไมอีลิน” (Myelination) โดยปลอกไมอีลินจะทำให้การส่งสัญญาณประสาทเป็นไปแบบก้าวกระโดด แทนที่จะเป็นการส่งสัญญาณต่อๆ กันในระยะใกล้ โดยพบว่าเส้นใยประสาทที่มีไมอีลินจะมีการส่งสัญญาณประสาทที่เร็วกว่าไม่มีไมอีลินถึง 60 เท่า  [6]

     ดังนั้น การสร้างปลอกไมอีลินจึงช่วยทำให้การส่งสัญญาณประสาทเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว เป็นกระบวนการที่มีความจำเป็นต่อการพัฒนาสมองของลูกน้อยเป็นอย่างยิ่ง และสฟิงโกไมอีลินนี่เองที่เป็นหนึ่งในสารอาหารสำคัญในการสร้างปลอกไมอีลิน [7]

     สฟิงโกไมอีลินพบได้ที่ไหน?

     อย่างที่เรารู้กันดีว่าน้ำนมแม่คือสุดยอดอาหารมหัศจรรย์แห่งธรรมชาติ เพราะในนมแม่นั้นมีสารอาหารหลักอย่าง ไขมัน โปรตีน แลคโตส [8] และที่สำคัญคือ สฟิงโกไมอีลิน ซึ่งเป็นไขมันชนิดฟอสโฟไลปิดที่พบมากในน้ำนมแม่ [9]เด็กที่กินนมแม่จะได้รับคุณค่าจากสฟิงโกไมอีลินไปเต็มๆ และควรเสริมอาหารให้ลูกน้อยตามช่วงวัยที่เหมาะสม

     รู้มั้ยว่า..1,000 วันแรกเป็นช่วงที่สมองสร้างไวที่สุด ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่สำคัญในการสร้างเซลล์ประสาท (Neuron) และการเชื่อมต่อของสมอง (Synap & Myelin)[10] ไมอีลิน สร้างมากตั้งแต่ในท้องในช่วง 3 เดือนสุดท้ายก่อนคลอด และต่อเนื่องในช่วงวัยเด็ก...ดังนั้นการสร้างไมอีลินจึงสำคัญมากในช่วงวัยเด็กค่ะ [11] และ สฟิงโกไมอีลิน เป็นหนึ่งในสารอาหารสำคัญในการสร้างไมอีลิน [12] นอกจากนี้ ยังสามารถส่งเสริมพัฒนาการสมองด้วยวิธีการอื่นๆ เช่น การฟังเสียงที่หลากหลายและการฟังเสียงดนตรี และการแปลความหมายของเสียง เป็นต้น

     หมั่นสังเกตและเสริมสร้างพัฒนาการของลูกน้อยให้เป็นไปตามช่วงวัย เด็กจะได้มีพัฒนาการทางสมอง ร่างกาย และอารมณ์ที่เหมาะสมอย่างแข็งแรงทั้งกายและใจ

 

อ้างอิง

  1. Francesca Giuffrida, Cristina Cruz-Hernandez, et al. Quantification of Phospholipids Classes in Human Milk. Lipids (2013) 48:1051–1058
  2. Siegel GJ, Agranoff BW, Albers RW, et al., editors. Characteristic Composition of Myelin. Basic Neurochemistry: Molecular, Cellular and Medical Aspects. 6th edition. Philadelphia: Lippincott-Raven; 1999
  3. Linderkamp O, Janus L., Linder R, et al. Time Table of Normal Fetal Brain Development. J. Prenatal and Perinatal Psychology and Medicine 21 No. 1/2, 4-16 (2009)
  4. Asou H, Murakami K, Toda M, et al. Development of Oligodendrocyte and Myelination in the Central Nervous System. Keio J Med 44(2), 47-52 (1995)
  5. Purves D, Augustine GJ, Fitzpatrick D, et al., editors. Neuroscience. 2nd edition. Sunderland (MA): Sinauer Associates; 2001
  6. Susuki k.Nature Education 2010, 3(9):59
  7. Siegel GJ, Agranoff BW, Albers RW, et al., editors. Characteristic Composition of Myelin. Basic Neurochemistry: Molecular, Cellular and Medical Aspects. 6th edition. Philadelphia: Lippincott-Raven; 1999
  8. Olivia Ballard, JD, et al. Human Milk Composition: Nutrients and Bioactive Factors. Pediatr Clin North Am. 2013 February ; 60(1): 49–74. doi:10.1016/j.pcl.2012.10.002
  9. Francesca Giuffrida, Cristina Cruz-Hernandez, et al. Quantification of Phospholipids Classes in Human Milk. Lipids (2013) 48:1051–1058
  10. Sarah Cusick, PhD and Michael K. Georgieff, MD. THE FIRST 1,000 DAYS OF LIFE: THE BRAIN’S WINDOW OF OPPORTUNITY. https://www.unicef-irc.org/article/958-the-first-1000-days-of-life-the-brains-window-of-opportunity.html
  11. Linderkamp O, Janus L., Linder R, et al. Time Table of Normal Fetal Brain Development. J. Prenatal and Perinatal Psychology and Medicine 21 No. 1/2, 4-16 (2009).
  12. Siegel GJ, Agranoff BW, Albers RW, et al., editors. Characteristic Composition of Myelin. Basic Neurochemistry: Molecular, Cellular and Medical Aspects. 6th edition. Philadelphia: Lippincott-Raven; 1999.

 

 [Advertorial]

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook