AYS Morning Brief - บล.กรุงศรีอยุธยา

AYS Morning Brief - บล.กรุงศรีอยุธยา

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

Economic NEWS            ญี่ปุ่นเผยผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนเม.ย.ขยายตัว 1%           ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนเม.ย.ของญี่ปุ่นขยายตัว 1.0% ซึ่งบ่งชี้ว่าภาคอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นเริ่มฟื้นตัวขึ้นหลังจากที่ทรุดตัวลงหนักสุดเป็นประวัติการณ์ถึง 15.5% ในเดือนมี.ค. อันเนื่องมาจากผลกระทบของเหตุการณ์แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิเมื่อวันที่ 11 มี.ค.ที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนเม.ย.ของญี่ปุ่นยังขยายตัวขึ้นน้อยกว่าที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่า จะขยายตัว 2.2% (IQ Biz) ฟิลิปปินส์กำหนดเป้าหมายจีดีพีปีนี้ขยายตัว 7-8% ประธานาธิบดีของฟิลิปปินส์ แสดงความเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจของฟิลิปปินส์จะดีขึ้น เนื่องจากฝ่ายบริหารจะเพิ่มความพยายามในเรื่องเศรษฐกิจมากขึ้น ขณะที่ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ไตรมาสแรกปีนี้ขยายตัวเพียง 4.9% ทั้งนี้ รัฐบาลฟิลิปปินส์ได้กำหนดเป้าหมายการเติบโตของจีดีพีสำหรับปีนี้เอาไว้ที่ 7-8% (IQ Biz)   Market Today  (MarketCast ฉบับวันนี้) SET แข็งแกร่งกว่าที่คาดไว้ และอาจปรับขึ้นไปทดสอบแนวต้าน 1,090-1,092 จุด Stock news & update         THCOM | เก็งกำไร/มูลค่าพื้นฐาน 8.90 บาท News comment: เตรียมยิงไทยคม 6 งบลงทุน 160 ล้านเหรียญ. BECL | n.a. News comment: สิ่งที่ได้จากงานประชุม Opportunity Day (30 พ.ค.) RAIMON | n.a. News comment: คงเป้ารายได้ปีนี้ 1 พันล้านบาทและปีหน้าไม่ต่ำกว่า 1 หมื่นล้านบาท TTA | n.a. News comment: แจ้งการได้รับหนังสือจากกลุ่มผู้ถือหุ้นเพื่อขอให้เรียกประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ   Technical  (TrendTrading ฉบับวันนี้)           SET Index |  ปิด 1076.50 จุด แนวรับ 1073-1070  แนวต้าน 1080, 1086           AOT | ราคาปิด  38.25 บาท แนวรับ 38.0-38.5   แนวต้าน  40,42           CPALL |  ราคาปิด 45.25  บาท แนวรับ 45-44 แนวต้าน 47-48,50           UKEM | ราคาปิด 2.04 บาท แนวรับ 2.0,1.95 แนวต้าน 2.2,2.4   Events            สัปดาห์ที่ 4 สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.)           รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลัง 31 พ.ค. ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานภาวะเศรษฐกิจไทยประจำเดือน   THCOM เตรียมยิงไทยคม 6 งบลงทุน 160 ล้านเหรียญ.           นายอารักษ์ ชลธาร์นนท์ ประธานเจ้าหน้าที่คณะผู้บริหาร บมจ.ไทยคม (THCOM)  เปิดเผยว่า วันนี้ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทได้อนุมัติเห็นชอบเงินลงทุนโครงการดาวเทียมไทยคม 6 มูลค่าประมาณ 160 ล้านเหรียญสหรัฐ  หรือประมาณ 4,880 ล้านบาท   การลงทุนครั้งนี้เพื่อรองรับการให้บริการโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม ทั้ง C-band  และ Ku-band ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียตะวันออก และเอเชียใต้ ซึ่งยังมีความต้องการการบริการด้านกระจายสัญญาณภาพ บรอดคาสติ้ง สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่า การก่อสร้างจะดำเนินการเป็นเวลา 2 ปี และจะมีการเตรียมส่งไทยคม 6 ขึ้นสู่วงโคจรได้ภายในไตรมาส 2/56 ทั้งนี้ ดาวเทียมไทยคม 6 เป็นดาวเทียมที่มีขนาดกลางมีจำนวนช่องสัญญาณรวมทั้งสิ้น 26 ช่องสัญญาณ ซึ่งแบ่งเป็นช่องสัญญาณ Ku-band 8 ช่องสัญญาณ และ C-band 18 ช่องสัญญาณ โดยมีน้ำหนักประมาณ 3,000 กิโลกรัม มีอายุการใช้งานประมาณ 15 ปี สำหรับแหล่งเงินทุนที่ใช้ในการลงทุนโครงการดาวเทียมไทยคม 6 จากเงินกู้ยืมระยะยาว (ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างขั้นตอนการพิจารณาเลือกธนาคารผู้ปล่อยกู้) และกระแสเงินสดจากการประกอบธุรกิจของบริษัท นายอารักษ์ กล่าวว่า บริษัทเชื่อว่าในปี 54 ยังจะสามารถมีกำไรสุทธิได้ตามเป้าหมายเดิม แม้ว่าจะต้องลงทุนขนาดใหญ่เพื่อสร้าวดาวเทียมไทยคม 6 และหากมีกำไรสุทธิมากพอก็จะจ่ายปันผลให้กับผู้ถือหุ้น รวมทั้งเชื่อว่าจะมีกำไรต่อเนื่อง เพราะดาวเทียมไทยคม 6 จะมีกลุ่มลูกค้ารองรับและมีเวลาทำการตลาดถึง 2 ปี กว่าที่จะยิงดาวเทียม และการลงทุนครั้งนี้จะไม่ฉุดกำไรเหมือนกับไอพีสตาร์ที่ต้องลงทุนสูงมาก    ความเห็นและคำแนะนำ           การลงทุนดังกล่าวซึ่งใช้เงินลงทุนเพียง 4.9 พันล้านบาท ถือว่าไม่สูง และบริษัทยืนยันว่าไม่จำเป็นต้องเพิ่มทุน เนื่องจากใช้กระแสเงินสดภายใน และใช้แหล่งเงินกู้จากธนาคาร  สำหรับผลกระทบต่อผลการดำเนินงาน  หลังการก่อสร้างดาวเทียมจะดำเนินการเป็นเวลา 2 ปี และจะมีการเตรียมส่งไทยคม 6 ขึ้นสู่วงโคจรได้ภายในไตรมาส 2/56  ในช่วงแรกบริษัทอาจมีภาระต้นทุนเพิ่มขึ้นจากการตัดค่าเสื่อมที่สูงขึ้น แต่ระยะยาวผลประกอบการจะดีขึ้นหลังจากที่ดาวเทียมไทยคม 6 ถึงจุดคุ้มทุนในอีก 8 ปี หลังเริ่มเปิดให้บริการ  (ทั้งนี้ THCOM จะสิ้นสุดอายุสัมปทานดาวเทียมในปี 64 ซึ่งอายุดาวเทียมไทยคม 6 จะมีอายุการใช้งานประมาณ 15 ปี)   ทั้งนี้ผู้บริหารยังยืนยันว่าผลประกอบการในปีนี้จะกลับมามีกำไร และยังยืนยันว่าจะกลับมาจ่ายปันผลได้แม้ว่าจะต้องลงทุนเพิ่ม           ทั้งนี้ในเบื้องต้นเราคงประมาณการเดิม คาดว่าผลประกอบการมีแนวโน้มดีขึ้นใน 2Q54 และพลิกกลับเป็นบวกใน 2H54 ภาพรวมปี 54 เราคาดว่า ผลการดำเนินงานให้ผลประกอบการพลิกกลับมาเป็นบวก 120 ล้านบาทหลักๆจาก  การเติบโตของธุรกิจ iPSTAR มีการรับรู้รายได้ในตลาดอินเดียเต็มปี (เริ่มรับรู้รายได้ตั้งแต่ ก.ย 53) ตลาดอินเดียเป็นตลาดใหญ่ขนาด capacity ประมาณ 17.5% ของ iPSTAR โดยคาดว่าจะเปิดให้บริการเพิ่มเท่าตัวจาก ณ สิ้นปี 53 ที่ 1005 Mbps เป็น 2,200 Mbps ณ สิ้นปี 54 และเพิ่มเป็น 3 พัน Mbps ในปี 55  นอกจากนี้ THCOM ได้รับงานประมูลเช่าช่องสัญญาน iPSTAR จากรัฐบาลออสเตรเลีย (NBN) มูลค่า 3.2พันล้านบาท (รับรู้รายได้ 5 ปี) โดยจะเริ่มรับรู้รายได้ตั้งแต่ใน 2H54  และ ล่าสุดเมื่อวาน iPSTAR ที่มาเลเซียซึ่งการเซ็นสัญญา 10ปี ซึ่งเรายังไม่ได้นับรวมในประมาณการโดยเรายังคงคำแนะนำ “เก็งกำไร”  เราคาดว่าผลประกอบการของบริษัทมีโอกาสพลิกกลับมามีกำไร ในขณะที่เบื้องต้นเรายังคงมูลค่าที่เหมาะสมในปี 54 ที่ 8.90 บาท โดยอิงวิธี DCF ที่ส่วนลด 12%   (เราอยู่ระหว่างการทบทวนประมาณการ โดยรวมมูลค่าจากโครงการ IPSTAR ที่มาเลเซีย และ ดาวเทียมไทยคม 6 )   BECL สิ่งที่ได้จากงานประชุม Opportunity Day (30 พ.ค.)           1. กำไรสุทธิ 1Q54 เท่ากับ 539 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 38%YoY (138 ล้านบาท) เนื่องจากกำไรจากการขายที่ดินที่บางปะอินจำนวน 100 ล้านบาท (30 ไร่ และเหลือที่ดินรอขายอีก 90 ไร่)รับเงินปันผลจาก TTW จำนวน 74 ล้านบาท (ปกติเข้าไตรมาส 2 แต่ปีนี้จ่ายนผลเร็ว)           กำไรก่อนรายการพิเศษลดลง 7%YoY ที่ 365 ล้านบาท ตั้งแต่ 1 มี.ค. ส่วนแบ่งค่าผ่านทางจากกทพ.ลดลงจาก 50% เป็น 40% เฉพาะเส้นทางในเมือง (65% ของรายได้ค่าผ่านทางรวม) แต่ปริมาณจราจรรอบนอกที่เติบโตดีทำให้รายได้จากค่าผ่านทางทรงตัวที่ 1.97 พันล้านบาท           2. ส่วนต่อขยายเส้นทางศรีรัช-วงแหวนรอบนอกที่ยื่นประมูลไปเมื่อ 28 พ.ค.ที่ผ่านมาจะทราบผลราว 3-5 เดือนข้างหน้า  คาดวงเงินลงทุนราว 1.7-1.8 หมื่นล้านบาท หากประมูลได้คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างอย่างเร็วภายในต้นปี 55 และเริ่มเปิดใช้ราวปี 59 ยังไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดผลตอบแทนที่คาดจะได้รับเนื่องจากอยู่ในข้อเสนอที่ยื่นประมูล           3. แม้ผลการดำเนินงานมีแนวโน้มลดลงจากส่วนแบ่งจากกทพ.ที่ลดลง แต่จะพยายามจ่ายเงินปันผลให้ได้ไม่ต่ำกว่าระดับที่เคยจ่าย (1.3 บาทต่อหุ้นในปี 53)   ความเห็นและคำแนะนำ           1.การเติบโตในอดีตไม่น่าประทับใจ ช่วง 5 ปีย้อนหลัง (2548-2553) กำไรสุทธิเติบโตเฉลี่ยปีละ 3% จากรายได้เฉลี่ยโตเพียงปีละ 3%           2.ปี 54 ผลการดำเนินงานจะลดลงอย่างมีนัยสำคัญเนื่องจากส่วนแบ่งรายได้จากก.ท.พ.ลดลง แต่จะชดเชยด้วยผลตอบแทนจากธุรกิจที่เข้าไปลงทุน           ปี 52-53 เริ่มรับรู้เงินปันผลจาก TTW  (BECL ถือหุ้น 9.24%) จำนวนปีละ 114-118 ล้านบาท (6% ของกำไรสุทธิปี 53) ปี 54 AYS คาดเงินปันผลจาก TTW เพิ่มขึ้น 37% ที่ระดับ 162 ล้านบาท           ปี 54 จะเริ่มรับรู้กำไรจากเงินลงทุนใน SEAN ประมาณ 280 ล้านบาท (AYS คาด SEAN มีกำไร 1.7-2.0 พันล้านบาทในปี 54-55 โดยรับรู้ผ่าน Equity Method)           โครงการโรงไฟฟ้าไซยะบุรียังไม่สร้างประโยชน์ AYS คาดมูลค่าการลงทุน 1 แสนล้านบาท สูงกว่า SEAN ร่วม 3-4 เท่าตัว และใช้เวลาก่อสร้าง 8 ปี หากพิจารณาตามสัดส่วน BECL ต้องลงทุนทั้งสิ้น 7,500 ล้านบาท (ผู้บริหารคาดจะใช้เงินลงทุนปีละ 200 ล้านบาทในปี 54-55 แสดงว่าน่าจะเพิ่มการลงทุนอย่างมีนัยสำคัญหลังปี 55)           3.หากต้องการรักษาการจ่ายเงินปันผลที่ระดับ 1.3 บาทต่อหุ้น จะต้องเพิ่มระดับการจ่าย (Payout) จาก 50-60% ของกำไรสุทธิในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา เป็น 75-80% ของกำไรสุทธิในปี 54 และ 55 ตามลำดับ (อิงกับประมาณการของนักวิเคราะห์ใน Bloomberg) ซึ่งน่าจะทำได้เนื่องจากฐานะการเงินดี ด้วยกระแสเงินสดอิสระราว 3-4 พันล้านบาทต่อปี และอัตราส่วนหนี้ต่อทุนเพียง 1.3 เท่า           4.ราคาหุ้นปัจจุบันซื้อขายที่ 10.3xP/E ใกล้ระดับสูงสุดที่เคยซื้อขายในรอบ 3 ปี อีกทั้งกำไรต่อหุ้นและ ROE ปี 54-55 ยังมีแนวโน้มลดลง ราคาหุ้นจึงไม่ถูก อย่างไรก็ตามเนื่องจากมีอัตราผลตอบแทนเงินปันผลระดับ 7% จึงมี Downside Risk จำกัด           5.ความเสี่ยงมากที่สุดในการพิจารณาลงทุนหุ้นตัวนี้  อยู่ที่โอกาสต่อสัญญาสัมปทานหลังสิ้นสุดสัญญาในปี 63 เนื่องจากสินทรัพย์ของโครงการเกือบทั้งหมดจะถูกโอนไปยังก.ท.พ. AYS ประเมินว่ามีกรณีเดียวที่จะไม่ได้ต่อสัญญาคือก.ท.พ.ตัดสินใจบริหารโครงการเอง และถ้าได้ต่อสัญญา ส่วนแบ่งค่าผ่านทางที่ต้องเจรจาใหม่อาจทำให้ผลประโยชน์ของ BECL เปลี่ยนไป การที่ราคาหุ้น Derate จากระดับ 10x-14xP/E ในปี 47-50 มาซื้อขายที่ 6x-10xP/E ในปี51 จนถึงปัจจุบัน เชื่อว่าเป็นการสะท้อนความเสี่ยงนี้ นอกเหนือไปจากส่วนแบ่งรายได้ค่าผ่านทางที่ลดลง   Raimon Land คงเป้ารายได้ปีนี้ 1 พันล้านบาทและปีหน้าไม่ต่ำกว่า 1 หมื่นล้านบาท              บมจ.ไรมอนแลนด์ (RAIMON) ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ คาดรายได้ในปีนี้ราว 1 พันล้านบาท ขณะที่ในปีหน้าคาดว่ารายได้จะไม่ต่ำกว่า 1 หมื่นล้านบาท ซึ่งเติบโตจากปีนี้มาก เนื่องจากจะมีการโอนโครงการเดอะริเวอร์ กรุงเทพฯ นายกิตติ ตั้งศรีวงศ์ ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารและการจัดการ RAIMON กล่าวกับผู้สื่อข่าว ว่ารายได้ในปีนี้จะลดลงจากปีก่อน เนื่องจากมีการปรับมาตรการบัญชีใหม่ ขณะที่ปีหน้ารายได้จะโตมาก จากการโอนโครงการเดอะริเวอร์ ซึ่งขณะนี้มียอดขายแล้ว 1.03 หมื่นล้านบาท หรือราว 73% ของมูลค่าโครงการ สำหรับรายได้ในไตรมาส 2/54 คาดว่าจะรับรู้รายได้ราว 300-400 ล้านบาทจากยอดขายที่รอการโอนอยู่ ด้านนายอูแบร์ วิริออท กรรมการผู้อำนวยการ RAIMON กล่าวถึง กรณีกระแสข่าวเรื่องการขายหุ้น RAIMON ว่า จะไม่ขายหุ้นที่ถืออยู่เนื่องจากต้องการลงทุนในระยะยาว อย่างไรก็ตามบริษัทจะเปิดกว้างในการหาพันธมิตรทางธุรกิจมากกว่า (ที่มา: รอยเตอร์)   ความเห็นและคำแนะนำ :           แนวโน้มการขายโครงการคอนโดมิเนียมระดับ High-end ของ RAIMON ซึ่งถือว่าเป็นผลิตภัณฑ์หลักรูปแบบเดียวของบริษัทอยู๋ในระดับปานกลางและเน้นสร้างยอด Pre-Sale เพิ่มเติมแบบค่อยเป็นค่อยไป ยกตัวอย่างเช่นภายหลังการปรับเปลี่ยนนโยบายบัญชีรับรู้รายได้จากตามความคืบหน้าของงานก่อสร้างเป็นการรับรู้รายได้เมื่อโอนกรรมสิทธิ์ แนวโน้มผลประกอบการปี 54 ของ RAIMON จะแสดงผลขาดทุน (ผลประกอบการ 1Q54 แสดงผลขาดทุน 41 ล้านบาท) เนื่องจากการโอนกรรมสิทธิ์โครงการในปี 54 มีเพียงโครงการคอนโดมิเนียม Northpoint พัทยาและ The Heights ภูเก็ต แต่ผลประกอบการในปี 55 ของ RAIMON มีแนวโน้มจะพลิกฟื้นกลับมาเป็นผลกำไรสุทธิได้อย่างมีนัยสำคัญจากการเริ่มต้นรับรู้รายได้จากโครงการขนาดใหญ่ “The River” (มูลค่าโครงการ 15 พันล้านบาท) อย่างไรก็ตามเราประเมินว่า การกระจุกตัวของรายได้ในปี 55 อยู่ในโครงการที่มีมูลค่าสูงดังเช่น The River มีความเสี่ยงสูงในแง่ของการคาดการณ์ผลประกอบการและการโอนโครงการ The River ที่ล่าช้ากว่าแผนจะส่งผลลบต่อฐานะทางการเงินของบริษัทซึ่งปัจจุบันมีอัตราส่วนหนี้สินสุทธิต่อทุนถึง 3.8 เท่า ซึ่งจะส่งผลลบอีกทอดหนึ่งไปยังแผนการพัฒนาโครงการใหม่ในอนาคตซึ่งบริษัทกำหนดไว้เบื้องต้นอีก 5 โครงการ           เรามองว่าราคาหุ้น RAIMON ที่เคลื่อนไหวผันผวนและปริมาณซื้อขายรายวันของหุ้น RAIMON ที่เพิ่มมากขึ้นตั้งแต่เดือน เม.ย. 54 เป็นผลจากการคาดการณ์แนวโน้มผลประกอบการปี 55 ที่จะเติบโตอย่างมีนัยสำคัญจากปี 54 ในขณะที่หุ้นกลุ่มที่อยู่อาศัยส่วนใหญ๋โดยเฉพาะรายใหญ่ยังคงซื้อ ขายกันบนแนวโน้มผลประกอบการปี 54 การลงทุนในหุ้น RAIMON ควรเป็นเก็งกำไรเท่านั้น TTA แจ้งการได้รับหนังสือจากกลุ่มผู้ถือหุ้นเพื่อขอให้เรียกประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ   TTA ได้แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์เมื่อวานนี้ (30 พ.ค.) ความว่า                                        1. เมื่อวันที่ 27 พ.ค. 54 บริษัทฯได้รับหนังสือจากกลุ่มผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ จำนวนรวม 75 ราย กล่าวอ้างว่าถือหุ้นในบริษัทฯ รวมกันเป็นจำนวนทั้งสิ้น 72 ล้านหุ้น (10.1%.ของจำนวนหุ้นที่ชำระแล้วของบริษัทฯ)เพื่อขอให้เรียกประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ และได้มีการเสนอระเบียบวาระการประชุมเพื่อพิจารณาและอนุมัติ ดังนี้ก) พิจารณาและอนุมัติการออกและการเสนอขายใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญของบริษัทฯ ให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วนการถือหุ้น โดยคณะกรรมการของบริษัทฯ อาจจะพิจารณารายละเอียดอื่นๆตามความเหมาะสมและเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมาย ทั้งนี้ เพื่อช่วยเพิ่มสภาพคล่องและเงินทุนหมุนเวียนให้กับบริษัทฯ รวมทั้งช่วยสร้างเสริมให้บริษัทฯ มีฐานเงินทุนที่เข้มแข็งขึ้น           ข) พิจารณาและอนุมัติการเปลี่ยนรอบปีบัญชีของบริษัทฯ จากเดิมเริ่มต้นในวันที่ 1 ตุลาคม และสิ้นสุดในวันที่ 30 กันยายน ของทุกปี เป็น เริ่มต้นในวันที่ 1 มกราคม และสิ้นสุดในวันที่ 31 ธันวาคมของทุกปีทั้งนี้ เพื่อให้รอบปีบัญชีของบริษัทฯ เป็นไปตามรอบปีบัญชีของบริษัททั่วไปเพื่อมิให้เกิดความสับสนแก่นักลงทุนทั่วไปในการทำความเข้าใจงบการเงิน ของบริษัทฯ และสามารถเทียบเคียงได้กับบริษัทอื่นๆ ที่ประกอบธุรกิจประเภทเดียวกันโดยภายหลังจากที่บริษัทฯ ได้รับหนังสือดังกล่าวจากกลุ่มผู้ถือหุ้นแล้ว บริษัทฯ จะดำเนินการตรวจสอบความถูกต้องในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการยื่นหนังสือของกลุ่มผู้ถือหุ้นดังกล่าวซึ่งรวมถึงการตรวจสอบความถูกต้องในการ  ถือครองหุ้นของผู้ถือหุ้นแต่ละราย และจะดำเนินการต่างๆตามที่กำหนดในกฎและกฎหมายที่เกี่ยวข้องในเรื่องดังกล่าวต่อไป   ความเห็นและคำแนะนำ           1.การออกวอแรนท์ให้กับผู้ถือหุ้นเดิมไม่ได้เพิ่มสภาพคล่องและเงินทุนหมุนเวียนให้กับบริษัทแต่อย่างใดจนกว่าจะมีการใช้สิทธิ แต่หากตั้งราคาใช้สิทธิไว้ต่ำ หรือสภาพ In-The-Money จะส่งผลต่อ Dilution Effect เมื่อพิจารณาจากผลการดำเนินงานที่ยังไม่ถึงจุดต่ำสุด หากมี Dilution Effect เกิดขึ้นน่าเป็นผลลบต่อราคาหุ้น           2.ฐานะทางการเงินยังอยู่ในเกณฑ์ดียังไม่มีความจำเป็นต้องเพิ่มทุนแต่อย่างใด ปัจจุบันอัตราส่วนหนี้สินสุทธิต่อทุนที่ 0.4 เท่า แม้ปี 54 จะมีกำไรสุทธิเพียง 776 ล้านบาท แต่เนื่องจากมีค่าเสื่อมราคาปีละเกือบ 3 พันล้านบาท  AYS คาดว่าจะมีกระแสเงินสดจากการดำเนินงานกว่า 4 พันล้านบาท และมีหนี้สินทางการเงินสุทธิ 8.5 พันล้านบาทหรือ 2 เท่าของกระแสเงินสดจากการดำเนินงานปี 54           3.ด้วยราคาหุ้นถูกว่ามูลค่าทางบัญชีมาก (มูลค่าทางบัญชี ณ 2Q54 ที่ 44 บาทต่อหุ้น) ขณะที่ซื้อขายเพียง 0.5xP/BV  ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยกลุ่มเดินเรือในภูมิภาค (0.8xP/BV) และ PSL (1.1xP/BV) จะสนับสนุนการเข้าลงทุนระยะสั้นหากค่าระวางเรือเริ่มฟื้นตัว                  โดย บมจ. หลักทรัพย์กรุงศรีอยุธยา ประจำวันที่ 31 พ.ค. 2554  

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook