เยียวยาประกันสังคมล่าสุด พร้อมโอนเงิน "นายจ้าง-ลูกจ้าง" มาตรา 33 เริ่ม 4 ส.ค. 64

เยียวยาประกันสังคมล่าสุด พร้อมโอนเงิน "นายจ้าง-ลูกจ้าง" มาตรา 33 เริ่ม 4 ส.ค. 64

เยียวยาประกันสังคมล่าสุด พร้อมโอนเงิน "นายจ้าง-ลูกจ้าง" มาตรา 33 เริ่ม 4 ส.ค. 64
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นายจ้าง-ลูกจ้าง ประกันสังคมมาตรา 33 ใน 10 จังหวัด 9 กิจการ รับเงินเข้าพร้อมเพย์ 4 ส.ค. 64

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยถึงความคืบหน้ากรณีการจ่ายเงินเยียวยากลุ่มแรงงานและผู้ประกอบการตามมาตรการบรรเทาผลกระทบโควิด-19 ที่อยู่ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 10 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร, นครปฐม, นนทบุรี, ปทุมธานี, สมุทรปราการ, สมุทรสาคร, นราธิวาส, ปัตตานี, ยะลา และสงขลา ในกลุ่ม 9 ประเภทกิจการ ได้แก่ กิจการก่อสร้าง, กิจการที่พักแรมบริการด้านอาหาร, กิจกรรมศิลปะ ความบันเทิงและนันทนาการ, กิจกรรมบริการด้านอื่นๆ, สาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า, สาขาขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์, สาขากิจกรรมการบริหารและบริการสนับสนุน, สาขากิจกรรมวิชาชีพ วิทยาศาสตร์และกิจกรรมทางวิชาการ และสาขาข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร

โดยกระทรวงแรงงานได้เร่งรัดการจ่ายเงินเยียวยาให้ผู้ประกันตนตั้งแต่วันที่ 4 ส.ค. 64 พร้อมดำเนินการให้แล้วเสร็จไม่เกินวันที่ 6 ส.ค. 64 ผ่านระบบพร้อมเพย์เนื่องจากดำเนินการได้วันละ 1 ล้านบัญชี โดยผู้ประกันตนที่มีสิทธิ์ได้รับเงินเยียวยาจำนวน 2.87 ล้านคน และจะทยอยโอนครั้งต่อไปให้กับนายจ้างและผู้ประกันตนมาตรา 33 ทุกๆ วันศุกร์จนถึงวันที่ 29 ต.ค. 64

ด้าน น.ส.ลัดดา แซ่ลี้ รองโฆษกสำนักงานประกันสังคม กล่าวว่า วิธีการจ่ายเงินเยียวยาสำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 ที่ได้รับเยียวยาจากรัฐบาลคนละ 2,500 บาท จะโอนผ่านบัญชีพร้อมเพย์เลขประจำตัวประชาชนเท่านั้น ส่วนนายจ้างจะได้รับการเยียวยา จากรัฐบาล ตามจำนวนลูกจ้าง หัวละ 3,000 บาท สูงสุดลูกจ้างไม่เกิน 200 คน โดยนายจ้างบุคคลธรรมดา จะโอนเงินผ่านบัญชีพร้อมเพย์เลขประจำตัวประชาชนเช่นกัน และนายจ้างสถานะนิติบุคคล จะโอนเข้าบัญชีธนาคารตามชื่อนิติบุคคลนายจ้าง

สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 39 และ มาตรา 40 ในขณะนี้ ยังไม่มีกำหนดการจ่ายเงินแต่อย่างใด อยู่ระหว่างขั้นตอนการจัดทำรายละเอียดกับสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งจะประชาสัมพันธ์ให้ทราบในภายหลัง สอบถามเพิ่มเติมได้ที่สายด่วน 1506 ตลอด 24 ชั่วโมง

ข่าวเยียวยาประกันสังคม เพิ่มเติม

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook