ตอบคำถามเงินเยียวยาเกษตรกร 15,000 บาท ตรวจสอบสิทธิ์-ยื่นอุทธรณ์ยุ่งยากมั้ย?

ตอบคำถามเงินเยียวยาเกษตรกร 15,000 บาท ตรวจสอบสิทธิ์-ยื่นอุทธรณ์ยุ่งยากมั้ย?

ตอบคำถามเงินเยียวยาเกษตรกร 15,000 บาท ตรวจสอบสิทธิ์-ยื่นอุทธรณ์ยุ่งยากมั้ย?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ คลายทุกข้อสงสัยเกี่ยวกับมาตรการเยียวยาเกษตรกร 15,000 ล้านบาท และการยื่นเรื่องอุทธรณ์ ในโครงการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 

จากมาตรการเยียวยาเกษตรกร 15,000 บาท ให้กับเกษตรกรจำนวนกว่า 10 ล้านคน งบประมาณราว 150,000 ล้านบาทนั้น โดย ธ.ก.ส. ได้เริ่มทยอยจ่ายเงินให้เกษตรกรที่ผ่านเกณฑ์ไปแล้วเมื่อวันที่ 15 พ.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งก็มีเกษตรกรบางรายเกิดคำถามที่ว่าทำไมตนยังไม่ได้รับเงินเยียวยา รวมถึงข้อสงสัยในกรณีที่ต้องการยื่นอุทธรณ์นั้นจะมีขั้นตอนอะไรบ้าง Sanook Money มีข้อมูลดีๆ จากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่จะมาตอบคำถามเกี่ยวกับเงินเยียวยาเกษตรกรมาฝากกัน ถ้าพร้อมแล้วลุยเลย!

1. คำถาม: ในกรณีมีการอุทธรณ์จะมีขั้นตอนอย่างไร
คำตอบ: การยื่นอุทธรณ์มี 2 แบบ คือ ผ่านระบบเยียวยาเกษตรกรที่เว็บไซต์ www.moac.go.th และยื่นอุทธรณ์ที่หน่วยงานส่วนภูมิภาค เมื่อการยื่นอุทธรณ์ทางออนไลน์และออฟไลน์ ข้อมูลจะถูกนำเข้าสู่ระบบอุทธรณ์เงินเยียวยาเกษตรกร โดยจะมีขั้นตอนการตรวจสอบดังนี้

1tn

  • ระบบอุทธรณ์เงินเยียวยาเกษตรกร จะส่งต่อให้หน่วยงานที่รับผิดชอบส่วนภูมิภาค ตรวจสอบข้อมูลภายใน 3 วัน นับจากวันขึ้นทะเบียน
    • ถ้าตรวจสอบแล้วได้รับการอนุมัติ เกษตรกรจะได้รับสิทธิ์เงินเยียวยา
    • ถ้าตรวจสอบแล้วไม่ได้รับการอนุมัติ เกษตรกรไม่ได้รับสิทธิ์เงินเยียวยา
    • ถ้าตรวจสอบแล้วไม่สามารถดำเนินการได้ จะส่งข้อมูลดังกล่าวให้หน่วยงานต้นสังกัด ตรวจสอบข้อมูลภายใน 5 วัน นับจากภูมิภาคดำเนินการต่อ
  • หน่วยงานต้นสังกัดตรวจสอบข้อมูลภายใน 5 วัน นับจากภูมิภาคดำเนินการ จะดำเนินการตรวจสอบชุดข้อมูลที่ส่วนภูมิภาคส่งมา
    • หากตรวจสอบแล้วได้รับการอนุมัติ เกษตรกรได้รับสิทธิ์เงินเยียวยา
    • หากตรวจสอบแล้วไม่ได้รับการอนุมัติ เกษตรกรไม่ได้รับสิทธิ์เงินเยียวยา
    • หากตรวจสอบแล้วไม่สามารถพิจารณาได้ จะส่งต่อให้คณะกรรมการเยียวยาฯ ตรวจสอบข้อมูลภายใน 12 วัน
  • คณะกรรมการเยียวยาฯ ตรวจสอบข้อมูลภายใน 12 วัน จะเป็นขั้นตอนพิจารณาอนุมัติครั้งสุดท้าย
    • หากตรวจสอบแล้วได้รับการอนุมัติ เกษตรกรได้รับสิทธิ์เงินเยียวยา
    • หากตรวจสอบแล้วไม่ได้รับการอนุมัติ เกษตรกรไม่ได้รับสิทธิ์เงินเยียวยา

สำหรับกระบวนการทำงานของระบบอุทธรณ์เงินเยียวยานั้น หากฉายให้เห็นภาพจะเป็นดังนี้

2tn

  • เกษตรกรเข้ามาร้องเรียน (มาด้วยตนเอง, โทรศัพท์)
  • เจ้าหน้าที่รับเรื่อง (บันทึกข้อมูลบนระบบ)
  • ระบุหน่วยงานเจ้าของเรื่องและรายละเอียด (ทั้งหมด 8 หน่วยงาน)
  • ระบบทำการจำแนกข้อมูลส่งให้หน่วยงานที่รับผิดชอบ
  • หน่วยงานรับผิดชอบวิเคราะห์ข้อมูล
  • สามารถชี้แจงได้หรือไม่
    • ได้
      • ตอบคำถามและชี้แจงผ่านระบบ
      • เจ้าหน้าที่ ตอบปัญหา / ชี้แจงเกษตรกร
    • ไม่ได้
      • หน่วยงานรับผิดชอบส่งข้อมูลให้คณะกรรมการฯ ผ่านระบบ
      • คณะกรรมการฯ รับเรื่องดำเนินการ

2. คำถาม: สถานที่สำหรับไปขออุทธรณ์
คำตอบ: เกษตรจังหวัด/อำเภอ

  • ประมงจังหวัด/อำเภอ
  • ปศุสัตว์จังหวัด/อำเภอ
  • หม่อนไหม (ภูมิภาค)
  • การยางแห่งประเทศไทย (ภูมิภาค)
  • เกษตรและสหกรณ์จังหวัด
  • สำนักงานอ้อยและน้ำตาลทราย (ภูมิภาค)
  • ยาสูบแห่งประเทศไทย (ภูมิภาค)

3. คำถาม: การจ่ายเงินเยียวยานี้ จ่ายเป็นรายครอบครัวหรือรายบุคคล
คำตอบ: เป็นรายบุคคลตามที่ขึ้นทะเบียนไว้กับหน่วยงานที่รับขึ้นทะเบียน เช่น กรมส่งเสริมการเกษตร กรมประมง กรมปศุสัตว์ เป็นต้น

4. คำถาม: แผนการดำเนินการ การเยียวยาเกษตรกร เป็นอย่างไร
คำตอบ: รวบรวมรายชื่อเกษตรกรที่เข้าเกณฑ์

  • *รอบแรก* ตัดยอด ณ 30 เม.ย. 63
  • *รอบสอง* 1-15 พ.ค. 63
    • โดยคาดการณ์ว่า หากไปคัดกรองจากฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งหมด หากไม่ซ้ำซ้อนและมีสิทธิ์ได้รับการเยียวยาโควิด-19 แล้ว
      • รอบแรก จะได้รับ 5,000 บาท ก่อนตั้งแต่ 15 พ.ค. 63
      • รอบสอง จะได้รับ 5,000 บาท ภายในสิ้นเดือน พ.ค. 63

5. คำถาม: หากมีบัญชีธนาคาร ธ.ก.ส. ซึ่งไม่ได้ใช้มานานแล้ว และตรวจสอบในเว็บไซต์ www.เยียวยาเกษตรกร.com แล้วมีหมายเลขบัญชีดังกล่าว ต้องการเปลี่ยนแปลง แต่ทำไม่ได้ ต้องทำอย่างไร?
คำตอบ: ในกรณีนี้ให้เข้าไปตรวจสอบอีกครั้ง ซึ่ง ธ.ก.ส. ได้ดำเนินการเปิดบัญชีให้แล้ว

istock-1178095816

6. คำถาม: มีความประสงค์ที่จะแก้ไขข้อมูลบัญชีธนาคาร เพื่อรับเงินเยียวยาในกรณีที่ผ่านการพิจารณา
คำตอบ: ให้ติดต่อไปที่ ธ.ก.ส. สาขาที่สะดวก โทรสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม 0-2555-0555

7. คำถาม: ถ้าไม่มีบัญชี ธ.ก.ส. แล้วจะดำเนินการอย่างไร
คำตอบ: สามารถแจ้งได้ที่เว็บไซต์ www.เยียวยาเกษตรกร.com หากไม่สะดวกให้ติดต่อไปที่ ธ.ก.ส. สาขาที่สะดวก โทรสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่เบอร์ 0-2555-0555

8. คำถาม: ลูกหลานเกษตรกรที่ถูกปฏิเสธจากโครงการเราไม่ทิ้งกัน ซึ่งลงทะเบียนว่าเป็นเกษตรกร จะมีสิทธิ์รับเงินเยียวยาเกษตรกรนี้หรือไม่
คำตอบ: ลูกหลานเกษตรกรผู้นั้นต้องผ่านการพิจารณาตามหลักเกณฑ์ดังนี้ ต้องขึ้นทะเบียนไว้กับหน่วยงานที่รับขึ้นทะเบียนตามโครงการของกระทรวงเกษตรฯ ต้องไม่เป็นผู้ได้รับบำนาญ ไม่เป็นผู้ได้สิทธิ์ประกันสังคม จึงจำได้สิทธิ์การเยียวยาเกษตรกร

9. คำถาม: เกษตรกรยังต้องใช้หลักฐานอะไรเพิ่มเติมหรือไม่ ตอนรับเงิน หรือว่าเงินจะเข้า บัญชีธนาคารของเกษตรกรโดยอัตโนมัติ
คำตอบ: หากเกษตรกรได้แจ้งหมายเลขบัญชีธนาคารในเว็บไซต์ www.เยียวยาเกษตรกร.com ของ ธ.ก.ส. แล้ว และได้รับสิทธิ์การเยียวยาเกษตรกร โดยไม่ต้องใช้หลักฐานใดๆ เพิ่มเติม ซึ่งเงินเยียวยาจะโอนเข้าสู่บัญชีนั้นโดยอัตโนมัติ หากแจ้งหมายเลขบัญชีแล้วยังไม่มีการโอนเงินเข้า ให้ติดต่อกับ ธ.ก.ส. โดนตรงเพื่อดำเนินการแก้ไขหมายเลขบัญชีให้ถูกต้อง

10. คำถาม: กรณีเกษตรกรที่ต้องการสละสิทธิ์ อาทิ วุฒิสมาชิก จะต้องดำเนินการอย่างไร
คำตอบ: สามารถทำได้โดย ทำหนังสือแจ้งมายังกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และอีกช่องทางได้แก่การขอสละสิทธิ์ทางเว็บไซต์ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กำลังพัฒนา)

istock-1156936764

11. คำถาม: กรณีผู้รับจ้างกรีดยางจะได้รับเงินเยียวยาหรือไม่
คำตอบ: จะได้ในรอบที่ 2 โดยผู้รับจ้างกรีดยางนั้น ต้องได้ขึ้นทะเบียนไว้กับหน่วยงานของการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ทั้งนี้ขอให้ไปติดต่อสอบถามรายชื่อได้ที่หน่วยงาน กยท. ในพื้นที่

12. คำถาม: ครัวเรือนเกษตรกรมีสมาชิก 5 คน พ่อขึ้นทะเบียนเกษตรกร ลูกมีอาชีพเสริมเป็นหมอนวดรับเงินโครงการเราไม่ทิ้งกันแล้ว หัวหน้าครัวเรือนที่เป็นเกษตรกรจะได้รับเงินเยียวยาหรือไม่
คำตอบ: ได้รับสิทธิ์ เนื่องจากโครงการฯ จะให้สิทธิ์เยียวยาแก่เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนไว้กับหน่วยงานที่กำหนดไว้

13. คำถาม: กรณีพ่อขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมเกษตร (ด้านพืช) และลูกขายเลี้ยงโค 5 ตัว ไปขึ้นทะเบียนกับกรมปศุสัตว์จะได้สิทธิ์เยียวยาหรือไม่
คำตอบ: กรณีนี้ ทั้งพ่อ และลูกชายจะได้สิทธิ์เยียวยา ทั้งนี้ทั้ง 2 คนต้องไม่ได้รับสิทธิ์เยียวยาในโครงการเราไม่ทิ้งกันและไม่เป็นผู้ได้รับบำนาญ ไม่เป็นผู้ได้สิทธิ์ประกันสังคม

14. คำถาม: เกษตรกรที่ได้เงินรอบแรกนี้มีหลักเกณฑ์อะไร รอบต่อๆ ไป ใช้หลักเกณฑ์อะไรและจะได้เมื่อไหร่
คำตอบ: จะใช้หลักเกณฑ์เดียวกัน คือ ต้องเป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนกับหน่วยงานที่กำหนด ต้องไม่ได้รับสิทธิ์เยียวยาในโครงการเราไม่ทิ้งกัน และไม่เป็นผู้ได้รับบำนาญ และไม่เป็นผู้ได้สิทธิ์ประกันสังคม โดยจะได้ในรอบแรกวันที่ 15 พฤษภาคม 2563

15. คำถาม: เกษตรกรที่ได้รับเงินเยียวยานี้แล้ว ยังมีสิทธิ์ได้รับเงินชดเชยอื่นๆ อีกหรือไม่ เช่น ชดเชยภัยแล้ง ชดเชยรายได้
คำตอบ: เกษตรกรยังได้รับสิทธิ์เงินชดเชยอื่นได้ตามเงื่อนไขที่กำหนดเช่นเดิม

istock-585308636

16. คำถาม: หัวหน้าครัวเรือน ปลูกพืชเลี้ยงสัตว์ มีสมาชิกในครัวเรือน ทำงานราชการ รับจ้าง เป็นพ่อค้า แม่ค้า จะมีสิทธิ์ได้รับเงินเยียวยาหรือไม่
คำถาม: หัวหน้าครัวเรือนรายนี้ยังมีสิทธิ์ได้รับเงินเยียวยา ทั้งนี้ต้องไม่ได้รับสิทธิ์เยียวยาในโครงการเราไม่ทิ้งกัน และไม่เป็นผู้ได้รับบำนาญ และไม่เป็นผู้ได้สิทธิ์ประกันสังคม

17. คำถาม: กรณีครัวเรือนเกษตรกร มีสมาชิกที่ได้รับเงินในโครงการเราไม่ทิ้งกันแล้ว หัวหน้าครัวเรือนที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรจะได้รับเงินเยียวยาหรือไม่
คำตอบ: กรณีนี้ หัวหน้าครัวเรือนยังได้รับเงินเยียวยา หากตัวหัวหน้าครัวเรือนไม่ได้รับสิทธิ์เยียวยาในโครงการเราไม่ทิ้งกัน และไม่เป็นผู้ได้รับบำนาญ และไม่เป็นผู้ได้สิทธิ์ประกันสังคม

18. คำถาม: กรณีกลุ่มที่ไปปรับปรุงทะเบียน หรือขึ้นทะเบียนใหม่ไม่มีเอกสารสิทธิ์จะได้รับเงินเยียวยาหรือไม่ เพราะกลุ่มแรกที่มีทะเบียนเกษตรกรและมีการ Update แล้วปี 62 ปี 63 ไม่มีเอกสารสิทธิ์ได้รับการเยียวยา
คำตอบ: เกษตรกรที่ไปปรับปรุงทะเบียน หรือขึ้นทะเบียนใหม่หลังจากวันที่ 30 เม.ย. 63 จะถูกจัดเป็นกลุ่มเกษตรกรในกลุ่มที่ 2 ซึ่งตามมติ ครม. วันที่ 28 เม.ย. 63 เกษตรกรกลุ่มที่ 2 ที่จะได้รับเงินเยียวยาต้องเป็นเกษตรกรที่ดำเนินการในพื้นที่ถูกต้องตามกฎหมาย

19. คำถาม: โดนตัดสิทธิ์เราไม่ทิ้งกัน เพราะเป็นหัวหน้าครัวเรือนเกษตรกร/สมาชิกที่ช่วยทำเกษตร แต่พอมาเช็กสิทธิ์เยียวยาเกษตรแล้วไม่มีรายชื่้อจะต้องทำอย่างไร
คำตอบ: ให้อุทธรณ์ตามช่องทางที่ภาครัฐจัดให้

20. คำถาม: การแจ้งข้อมูลเท็จ มีความผิดหรือไม่
คำตอบ: การแจ้งข้อมูลเท็จในทะเบียนเกษตรกร ถือเป็นความผิดทางอาญา ตามมาตร 137 และมาตรา 267 แห่งประมวลกฎหมายอาญา

  • มาตรา 137 ผู้ใดแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงาน ซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • มาตรา 267 ผู้ใดแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารมหาชน หรือเอกสารราชการ ซึ่งมีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นพยานหลักฐาน โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น หรือประชาชนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

อ่านเรื่อง เงินเยียวยาเกษตรกร ต่อที่นี่

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook