แง้มดูรายได้ "ไอคอนสยาม - ICONSIAM" ก่อนเปิดตัวแบบอภิมหามหึมาอลังการ

แง้มดูรายได้ "ไอคอนสยาม - ICONSIAM" ก่อนเปิดตัวแบบอภิมหามหึมาอลังการ

แง้มดูรายได้ "ไอคอนสยาม - ICONSIAM" ก่อนเปิดตัวแบบอภิมหามหึมาอลังการ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ทอล์กออฟเดอะทาวน์ ในช่วงสุดสัปดาห์นี้ คงหนีไม่พ้นศูนย์การค้า “ไอคอนสยาม” ที่มีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการไปเมื่อวานนี้ (วันศุกร์ที่ 9 พ.ย. 2561)

โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ทรงเป็นประธานในพิธีเปิด และจะเปิดให้บริการแก่ประชาชนและนักท่องเที่ยวตั้งแต่วันนี้ (เสาร์ที่ 10 พ.ย. 2561) เป็นต้นไป

>> 9 สิ่งที่เป็นที่สุด แห่งมหาปรากฏการณ์ ICONSIAM ที่คนไทยต้องรู้

>> 7 สิ่งมหัศจรรย์แห่ง “ไอคอนสยาม” ความอลังการที่ไม่ไปไม่ได้แล้ว!

>> “ICONSIAM” ไอคอนสยาม อภิมหาแลนด์มาร์คริมเจ้าพระยา เปิดตัวอลังการ พร้อมเปิดให้เข้าชม 10 พ.ย.

>> ที่สุดแห่งปี รวมตัวซุปตาร์ จากทั่วโลก ฉลองเปิดห้าง ICONSIAM

>> ส่องภาพ 4 หนุ่ม F4 ลุคหล่อเนี้ยบในงาน ICONSIAM โดดเด่นออร่าจับ!

วันนี้ Sanook! Money จึงอยากชวนมาแง้มดูตัวเลขผลประกอบการของ ไอคอนสยาม - ICONSIAM กันดูซะหน่อยว่าก่อนจะเริ่มต้นเดินหน้าทางธุรกิจอย่างเป็นทางการ มีแง่มุมอะไรที่น่าสนใจบ้าง แต่ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกันในเบื้องต้นก่อนว่าไอคอนสยาม คืออะไร ทำไมถึงมีการคาดการณ์กันว่าจะกลายเป็นหัวใจสำคัญของระบบเศรษฐกิจย่านฝั่งธนบุรี ให้มีอัตราการเติบโตเทียบเท่าหรือมากกว่าฝั่งพระนครเลยทีเดียว

ไอคอนสยาม เป็นโครงการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชยกรรมแบบผสมริมแม่น้ำเจ้าพระยา โดยความร่วมมือของ สยามพิวรรธน์ เครือเจริญโภคภัณฑ์ และแมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น (ในเครือเจริญโภคภัณฑ์) ที่ตั้งอยู่บนพื้นที่ 55 ไร่ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา สร้างในพื้นที่อันเคยเป็นที่ตั้งของโรงสีสิบเก้า และตลาดศิรินทร์ โดยพื้นที่โครงการอยู่ระหว่างโรงแรมเพนนินซูล่า กรุงเทพ และโรงแรมมิลเลเนียม ฮิลตัน กรุงเทพ นอกจากนี้ยังอยู่ตรงข้ามกับโรงแรมรอยัล ออร์คิด เชอราตัน และโรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล กรุงเทพ

ไอคอนสยาม มีมูลค่าการลงทุน 54,000 ล้านบาท นับเป็นการลงทุนสูงที่สุดในประวัติศาสตร์ด้านอสังหาริมทรัพย์ของไทยเมื่อช่วงเปิดตัว โดยครึ่งหนึ่งเป็นเงินลงทุนของบริษัทพันธมิตรทั้ง 3 ส่วนอีกครึ่งหนึ่งเป็นสินเชื่อที่ ธนาคารกสิกรไทย และ ธนาคารธนชาต เป็นผู้สนับสนุน ซึ่งผู้ร่วมทุนทั้งสามบริษัทได้วางแผนเชื่อมโยงโครงการเข้ากับโรงแรม ศูนย์การค้า และแหล่งท่องเที่ยวริมแม่น้ำเจ้าพระยา โดยความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน

เท่าที่ Sanook! Money ลองค้นหาข้อมูลดูคร่าวๆ พบบริษัทที่น่าจะเป็นตัวแทนที่ฉายให้เห็นภาพในเชิงธุรกิจของ ไอคอนสยาม อยู่อย่างน้อย 3 บริษัท คือ บริษัท ไอคอนสยาม จำกัด บริษัท ดิ ไอคอนสยาม เจ้าพระยา ริเวอร์ โฮลดิ้งส์ จำกัด และบริษัท ไอคอนสยาม รีเทล จำกัด

บริษัท ไอคอนสยาม จำกัด จัดตั้งขึ้นเมื่อเดือนพฤษภาคม 2554 ปัจจุบันมีทุนจดทะเบียนอยู่ที่ 7,900 ล้านบาท มีคณะกรรมการทั้งสิ้น 7 คน ประกอบด้วย

1. นายอำรุง สรรพสิทธิ์วงศ์
2. นายปิยะวัฒน์ ฐิตะสัทธาวรกุล
3. นายณรงค์ เจียรวนนท์
4. นางพาสินี ลิ่มอติบูลย์
5. นางเกตุวลี นภาศัพท์
6. นายสุเวทย์ ธีรวชิรกุล
7. นางชฎาทิพ จูตระกูล

โดยมีวัตถุประสงค์ในการดำเนินธุรกิจด้วยการให้เช่าอาคารและให้บริการสาธารณูปโภค ซึ่งนับจนถึงสิ้นปี 2560 มีขนาดสินทรัพย์รวมอยู่ที่กว่า 14,500 ล้านบาท และด้วยความที่ยังไม่ได้เปิดดำเนินการทางธุรกิจจึงมีผลประกอบการขาดทุนมาโดยตลอดอันเนื่องมาจากรายจ่ายส่วนใหญ่ด้านการก่อสร้างนั่นเอง 

ปี 2558 ขาดทุน 161 ล้านบาท ปี 2559 ขาดทุนเกือบ 230 ล้านบาท และปี 2560 ขาดทุนไป 373 ล้านบาท

บริษัท ดิ ไอคอนสยาม เจ้าพระยา ริเวอร์ โฮลดิ้งส์ จำกัด จัดตั้งขึ้นเมื่อเดือนตุลาคม 2558 ปัจจุบันมีทุนจดทะเบียนอยู่ที่ 11,500 ล้านบาท โดยมีคณะกรรมการชุดเดียวกับบริษัท ไอคอนสยาม จำกัด แต่แจ้งว่าดำเนินธุรกิจในด้านการลงทุนในบริษัทและกิจการต่างๆ หรือที่เรียกว่าเป็น Holding Company นั่นเอง ขณะที่ขนาดสินทรัพย์มีประมาณ 5,700 ล้านบาท ณ สิ้นปี 2560

และก็แน่นอนว่ายังคงเผชิญกับการขาดทุนอยู่ โดยปี 2559 ขาดทุน 420 ล้านบาท ส่วนปี 2560 ขาดทุนไป 582 ล้านบาท

บริษัท ไอคอนสยาม รีเทล จำกัด จัดตั้งขึ้นเมื่อเดือนพฤษภาคม 2559 ปัจุบันมีทุนจดทะเบียนอยู่ที่ 2,110 ล้านบาท มีคณะกรรมการทั้งสิ้น 7 คน ประกอบด้วย

1. นายสุพจน์ ชัยวัฒน์ศิริกุล
2. นายวิชิต บ้านไกรทอง
3. นายชลชาติ เมฆสุภะ
4. นางสาวนราทิพย์ รัตตประดิษฐ์
5. นายวิสิษฐ์ มาลัยศิริรัตน์
6. นายธานินทร์ พรศิริธิเวช
7. นางสาวปวีณา จิตตินันทน์

มีวัตถุประสงค์ในการดำเนินธุรกิจด้วยการให้บริการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ อยู่ในหมวดธุรกิจ ตัวแทนขายสื่อโฆษณา โดยเมื่อปีที่แล้วแจ้งว่าขาดทุน 2.6 ล้านบาท 

ถ้านับเฉพาะทุนจดทะเบียนทั้ง 3 บริษัทรวมกันก็เกิน 2 หมื่นล้านบาทเข้าไปแล้ว ยิ่งเมื่อเห็นชื่อพันธมิตรร่วมทำคลอดโครงการไอคอนสยาม ที่มีทั้งกลุ่มสยามพิวรรธน์ ซึ่งถือเป็นขาใหญ่แห่งวงการค้าปลีกในบ้านเรา ร่วมกับกลุ่มซีพี ที่ไม่มีใครในประเทศนี้ไม่รู้จักกลุ่มธุรกิจนี้อย่างแน่นอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่เครือเจริญโภคภัณฑ์ส่ง MQDC (บริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด) ที่เปรียบเสมือนหัวหอกด้านพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ของตนเองมาควบคุมดูแลคอนโดมิเนียม 2 แห่งที่อยู่ภายในโครงการไอคอนสยาม เพื่อหมายมั่นปั้นมือจะสร้างให้เป็นแลนด์มาร์คเทียบเท่าระดับโลกกันเลยทีเดียว

ปิดท้ายเนื้อหากันด้วยไฮไลท์จุดเด่นความน่าสนใจ และวิธีการเดินทางไปยัง ไอคอนสยาม แล้วมาติดตามกันว่าปรากฏการณ์ด้านธุรกิจครั้งยิ่งใหญ่นี้จะมีความเคลื่อนไหวหรือมีอะไรน่าตื่นตาตื่นใจกันอีกบ้าง

ไอคอนสยาม น่าสนใจอย่างไร

จุดเด่นของไอคอนสยามอย่างแรกก็คือ มีขนาดพื้นที่กว้างขวางถึง 750,000 ตารางเมตร ติดริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาย่านคลองสาน แบ่งเป็น 2 สัดส่วน คือ พื้นที่ 500,000 ตารางเมตร และ ICONLUX (ไอคอนลักซ์) 25,000 ตารางเมตร รวมทั้งยังมีคอนโดมิเนียมพักอาศัยมาตรฐานระดับโลก 2 อาคาร คือ Magnolias Waterfront Residences คอนโดมิเนียมสูง 70 ชั้น กับ The Residences at Mandarin Oriental Bangkok สูง 52 ชั้น

ไฮไลท์แบรนด์และสโตร์ที่เป็นปรากฏการณ์ "ที่สุด" และ "ครั้งแรก" อาทิ

- สยาม ทาคาชิมายะ โดย "ทาคาชิมายะ" ห้างสรรพสินค้าระดับตำนานที่ได้รับการยอมรับอย่างสูงจากประเทศญี่ปุ่น เปิดสาขาแรกในประเทศไทยบนพื้นที่ขนาด 36,000 ตารางเมตร ครอบคลุม 7 ชั้น ครบครันไปด้วยสินค้าที่หลากหลายสำหรับทุกเพศทุกวัย ทั้งหมดกว่า 500 แบรนด์ ในจำนวนนี้เป็นแบรนด์ญี่ปุ่นชื่อดังมากถึง 180 แบรนด์ และมีกว่า 80 แบรนด์ เข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยเป็นครั้งแรก โดยเป็นสาขานอกประเทศญี่ปุ่นที่มีขนาดพื้นที่ใหญ่ที่สุด

- Apple Store แห่งแรกในประเทศไทย ซึ่งจะเป็นจุดศูนย์รวมให้ผู้คนมาแลกเปลี่ยนความคิด เรียนรู้ และสร้างสรรค์อะไรใหม่ๆ ไปด้วยกัน และจะเป็นที่ที่สร้างแรงบันดาลใจและจุดประกายความคิดสร้างสรรค์ให้กับคนในชุมชน ที่สำคัญ Apple ICONSIAM ไม่ได้เป็นแค่ร้าน เพราะมีการเตรียมกิจกรรมที่น่าสนใจเอาไว้มากมาย ตั้งแต่โปรแกรมที่จะสร้างแรงบันดาลใจดีๆ ไปจนถึงเซสชั่นแบบลงมือปฏิบัติจริง

>> พาชมความยิ่งใหญ่ "Apple ICONSIAM" แอปเปิลสโตร์สาขาแรกของเมืองไทย

- @Cosme ร้านสเปเชียลตี้สโตร์เครื่องสำอางที่ประสบความสำเร็จที่สุดในประเทศญี่ปุ่น เปิดสาขาแรกในประเทศไทย บนพื้นที่มากกว่า 300 ตารางเมตร

- H&M เปิดสโตร์ในรูปแบบอาคารของตัวเอง Triplex Store 3 ชั้นสุดอลังการเป็นครั้งแรก

- Urban Revivo แห่งแรกในประเทศไทย

- JD Sports ร้านมิลติแบรนด์สปอร์แฟชั่นชื่อดังระดับโลก สาขาแรกในประเทศไทย

- Nike Kicks Lounge แห่งแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บนพื้นที่มากว่า 210 ตารางเมตร นำเสนอสินค้าที่แตกต่างจาก Nike Store อื่นๆ

- Adidas Original Store ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย

- ICONACTIVE พื้นที่สำหรับที่สุดของไลฟ์สไตล์ที่เป็นมากกว่าสปอร์ตแฟชั่น ครั้งแรกในประเทศไทย พื้นที่กว่า 1,350 ตารางเมตร นำเสนอเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย แอคเซสเซอรี่ แบรนด์ดังจากทั่วโลกกว่า 40 แบรนด์

- Jumbo Seafood ร้านอาหารซีฟู้ดชื่อดังจากสิงคโปร์ สาขาแรกในประเทศไทย

- ไอคอนคราฟต์ แหล่งรวมงานหัตถศิลป์ฝีมือคนไทย โดยความร่วมมือกับกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงอุตสาหกรรม และศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ พื้นที่กว่า 2,500 ตารางเมตร ที่เนรมิตขึ้นเป็นพิเศษในไอคอนสยาม เพื่อนำเสนอคุณค่าความเป็นไทยสู่ทุกสายตาทั่วโลก ด้วยการรวบรวมงาน นวัตศิลป์และงานคราฟต์แบบร่วมสมัยหลากหลายประเภทของคนไทยมาไว้ในที่เดียว เปิดโอกาสให้ช่างฝีมือไทยได้ต่อยอดความสามารถ เพิ่มคุณค่าในผลงาน ตลอดจนเพิ่มโอกาสและเพิ่มพื้นที่จัดแสดงและจำหน่ายผลงานของตนในโครงการที่จะเป็นจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก

- ตลาดสุขสยาม โครงการที่รวมเอาความงามด้านศิลปะ งานฝีมือ รวมถึงอาหารการกิน จากทุกภาคของประเทศไทยมาอยู่รวมกันที่ชั้นล่าง ด้วยพื้นที่ขนาด 15,000 ตารางเมตร ซึ่งมีร้านค้าชุมชนกว่า 3,000 ร้านทั่วประเทศ

- ทรูไอคอน ฮอลล์ ศูนย์ประชุมและโรงมหรสพอเนกประสงค์ ประกอบด้วยโถงประชุมหลัก พื้นที่ 3,006 ตารางเมตร ความจุสูงสุด 3,000 ที่นั่ง และห้องประชุมย่อยอีก 14 ห้อง (ร่วมทุนกับ ทรู คอร์ปอเรชั่น)

- โรงภาพยนตร์ไอคอน ซีเนคอนิค ในเครือเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ จำนวน 14 โรง ในจำนวนนี้มีโรงภาพยนตร์ 4DX และ IMAX ระบบละ 1 โรง

- ริเวอร์ มิวเซียม แบงค็อก พิพิธภัณฑ์มาตรฐานสากลแห่งแรกของประเทศไทยที่ตั้งอยู่ภายในศูนย์การค้า โดยได้รับความร่วมมือจากกรมธนารักษ์ และกรมศิลปากร

นอกจากนั้น ยังมีอาณาจักรยนตรกรรมระดับพรีเมียมลักชัวรี่ ที่รวบรวมสุดยอดยานยนต์เทคโนโลยีล้ำสมัย และประสบการณ์ที่แปลกใหม่ เหนือระดับจากหลากหลายค่ายดัง ไม่ว่าจะเป็น Rolls-Royce, Maserati, Mini และ BMW Motorrad, Porsche, และ Toyota โดยเฉพาะ BMW ร่วมเปิดประสบการณ์ใหม่ในการชมรถยนต์ครั้งแรกในเอเชีย ด้วยเทคโนโลยี VR หรือเวอร์ชวลเรียลลิตี้ แสดงภาพรถเสมือนจริงผ่านแว่นแบบพิเศษ ให้คุณสามารถเดินชมรถยนต์บีเอ็มดับเบิลยูได้รอบคัน เปลี่ยนสีตัวถัง กำหนดออปชั่น เปิดประตูเข้าไปดูภายในห้องโดยสาร ทดลองใช้ฟีเจอร์ต่างๆ หรือเปลี่ยนฉากเป็นกลางวันหรือกลางคืนก็สามารถทำได้

ไอคอนสยาม ไปยังไง

สำหรับการเดินทางไปไอคอนสยาม มี 4 ทางเลือก ดังนี้

  • รถไฟฟ้า BTS สถานีสะพานตากสิน หรือสถานีกรุงธนบุรี
  • รถประจำทางทาง สาย 57, 3, 105, 120, 111, 84, 6, 88, 149, 177
  • เรือด่วนเจ้าพระยา ธงฟ้า ธงส้ม ธงเขียว และธงเหลืองจาก 33 ท่า
  • บริการรถและเรือรับ-ส่งไปไอคอนสยามฟรี

เส้นทาง Shuttle Boat ของไอคอนสยาม มี 4 ท่าเรือสำหรับเดินทางไปยังไอคอนสยาม ตั้งแต่เวลา 09.00 น. – 23.00 น. ยกเว้นท่าเรือสาทร ที่ให้บริการตั้งแต่เวลา 08.00 น. – 23.30 น.

– ท่าเรือราชวงศ์-ไอคอนสยาม

– ท่าเรือสี่พระยา-ไอคอนสยาม

– ท่าเรืออาคาร กสท.บางรัก-ไอคอนสยาม

– ท่าเรือสาทร-ไอคอนสยาม

ทั้งนี้ สำหรับประชาชนที่เดินทางโดยรถยนต์สามารถมาได้ตามเส้นทางดังนี้

ทางด่วนพิเศษศรีรัช

– มาจากบางนา-คลองเตย ลงทางออกสาทร เลี้ยวซ้ายเข้าถนนเจริญราษฎร์ ข้ามสะพานตากสิน เลี้ยวซ้ายเข้าถนนเจริญนคร

– มาจากแจ้งวัฒนะ ลงทางออกสีลม เลี้ยวซ้ายเจอแยกสุรศักดิ์ เลี้ยวขวาเข้าถนนสุรศักดิ์ แล้วเลี้ยวขวาข้ามสะพานตากสิน เลี้ยวซ้ายเข้าถนนเจริญนคร

ฝั่งพระนคร

– จากถนนสุขุมวิท เลี้ยวซ้ายเข้าถนนวิทยุ ตรงมาเข้าถนนสาทร ขึ้นสะพานตากสิน เลี้ยวซ้ายเข้าถนนเจริญนคร

– จากถนนเจริญกรุง เลี้ยวขวาเข้าถนนสีลม เลี้ยวขวาเข้าถนนสุรศักดิ์ แล้วเลี้ยวขวาเข้าถนนสาทร ข้ามสะพานตากสิน เลี้ยวซ้ายเข้าถนนเจริญนคร

– จากถนนราชดำเนิน เลี้ยวเข้าถนนวรจักร ข้ามสะพานพระปกเกล้า ถึงวงเวียนเล็ก เลี้ยวซ้ายเข้าถนนสมเด็จเจ้าพระยา ตรงมาเข้าถนนเจริญนคร

– จากแยกคลองเตย เลี้ยวเข้าถนนพระราม วิ่งตรงมาข้ามสะพานพระราม 3 ชิดซ้ายทางออกถนนเจริญนคร เพื่อวนลงถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน จากนั้นเลี้ยวซ้ายเข้าถนนพระราม 3 จากนั้นเลี้ยวซ้ายเข้าถนนเจริญนคร

ฝั่งธนบุรี

– จากถนนเพชรเกษม มุ่งหน้าสู่วงเวียนใหญ่ ชิดซ้ายสู่ถนนลาดหญ้า แล้วเลี้ยวขวาเข้าถนนเจริญนคร

– จากถนนราชพฤกษ์ ก่อนถึงสถานี BTS กรุงธนบุรี (S7) ชิดซ้ายเข้าสู่ทางคู่ขนาน เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ถนนเจริญนคร

– จากถนนราษฎร์บูรณะ ถึงแยกบุคคโล วิ่งตรงเข้าสู่ถนนเจริญนคร

– จากถนนอิสรภาพ เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ถนนลาดหญ้า เลี้ยวขวาเข้าสู่ถนนเจริญนคร

อัลบั้มภาพ 18 ภาพ

อัลบั้มภาพ 18 ภาพ ของ แง้มดูรายได้ "ไอคอนสยาม - ICONSIAM" ก่อนเปิดตัวแบบอภิมหามหึมาอลังการ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook