ตรวจสอบด่วน! ขอคืนภาษี แต่ยังไม่ได้เงินคืน เช็คที่นี่

ตรวจสอบด่วน! ขอคืนภาษี แต่ยังไม่ได้เงินคืน เช็คที่นี่

ตรวจสอบด่วน! ขอคืนภาษี แต่ยังไม่ได้เงินคืน เช็คที่นี่
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ขอคืนภาษีแล้ว จะได้เงินคืนเมื่อไหร่? เริ่มจากการยื่นแบบเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับการยื่นแบบกระดาษตามสำนักงานสรรพากรเขตต่างๆ ในปีภาษี 2566 จะต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.90/91 ปีภาษี 2566 ได้ตั้งแต่วันนี้ ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2567 เฉพาะแบบที่ยื่นผ่านอินเทอร์เน็ต

เงินคืนภาษี คืออะไร ใครขอคืนภาษีได้บ้าง

ในทุกปีประชาชนที่มีรายได้ทุกคนจะต้องยื่นภาษีกับทางกรมสรรพากร โดยมีการกำหนดอัตราเงินได้สุทธิ 150,000 บาทขึ้นไป โดยการที่จะได้ เงินคืนภาษี นั้น ผู้ที่มีสิทธิจะได้เงินภาษีคืนจะต้องถูกหักภาษีเกินกว่าที่ต้องจ่าย ที่มีการหักภาษี ณ ที่จ่ายไปล่วงหน้า แต่เมื่อถึงเวลายื่นภาษีกลับพบว่าตัวคุณเองมีรายสุทธิได้อยู่ในเกณฑ์ที่ไม่ต้องเสียภาษี ในกรณีนี้จึงสามารถยื่นขอเงินภาษีคืนได้

ขอคืนภาษี ผ่านช่องทางไหน

  • บัญชีพร้อมเพย์ที่ผูกกับเลขประจำตัวบัตรประชาชน

  • บัญชีเงินฝากธนาคารกรุงไทยและธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.)

  • ผู้ขอคืนที่ไม่สามารถลงทะเบียนพร้อมเพย์ด้วยเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก กรมสรรพากรจะออกหนังสือ ค.21 (หนังสือแจ้งคืนเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา) พร้อมเช็ค โดยจัดส่งทางไปรษณีย์ตามที่อยู่บนแบบแสดงรายการให้ผู้ขอคืน เพื่อนำไปเข้าบัญชีเงินฝากที่สาขาธนาคารเท่านั้น

เงินคืนภาษี กี่วันได้

กรมสรรพากรจะดำเนินการ คืนเงินภาษี ภายใน 3 เดือน กรณีมีเอกสารชัดเจนแสดงว่า ได้มีการเสียภาษีไว้เกิน ผิด ซ้ำหรือไม่มีหน้าที่ต้องเสีย นับแต่วันที่ได้รับคำร้องขอคืนภาษีด้วยแบบ ภ.ง.ด.90/91 ที่แจ้งความประสงค์ขอคืนเงินภาษี หรือแบบ ค.10 หากลืมยื่นเรื่องขอคืนภาษีหลังจากทำยื่นภาษีไปแล้ว ผู้จ่ายภาษีสามารถทำเรื่องขอเช็คภาษีเงินคืนย้อนหลังได้ แต่ระยะเวลาขอคืนเงินภาษีต้องไม่เกิน 3 ปี นับจากวันที่ครบกำหนดการยื่นภาษี

ล่าสุด นายวินิจ วิเศษสุวรรณภูมิ รองอธิบดีกรมสรรพากร ในฐานะโฆษกกรมสรรพากร เผยถึงกรณีการขอคืนภาษี จะสามารถได้รับเงินคืนเร็วสุดกี่วัน โดยจะขึ้นอยู่เกณฑ์ความเสี่ยงของผู้ยื่น หากไม่พบปัญหา จะได้คืนภาษีภายใน 3-4 วัน

ผู้ขอคืนภาษี สามารถเลือกรับเงินคืนได้ 3 ช่องทาง ดังนี้

  • บัญชีพร้อมเพย์ สะดวก รวดเร็ว

  • บัญชีเงินฝากธนาคารกรุงไทยและธ.ก.ส. สะดวก รวดเร็ว

  • ผู้ขอคืนที่ไม่สามารถลงทะเบียนพร้อมเพย์ด้วยเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก กรมสรรพากรจะออกหนังสือ ค.21 (หนังสือแจ้งคืนเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา) พร้อมเช็ก โดยจัดส่งทางไปรษณีย์ตามที่อยู่บนแบบแสดงรายการให้ผู้ขอคืน เพื่อนำไปเข้าบัญชีเงินฝากที่สาขาธนาคารเท่านั้นวิธีตรวจสอบสถานะของการคืนภาษี

สำหรับผู้ที่ยื่นภาษีไปแล้ว และมีเงินคืนจากการหัก ณ ที่จ่าย ซึ่งได้ขอคืนภาษีไว้ และถึงวันนี้ยังไม่ได้รับเช็คคืนภาษีจากกรมสรรพากร ท่านสามารถเข้าไปตรวจสอบสถานะของการคืนภาษีได้ ว่าขณะนี้ถึงขั้นตอนไหน และทางกรมสรรพากรเรียกเอกสารเพิ่มเติมหรือไม่ เพราะมีบางท่านที่ยังไม่ได้รับเงินคืนเพราะยังไม่ได้ส่งเอกสารเพิ่มเติมตามที่กรมแจ้งนะครับ

วิธีขอคืนภาษี ต้องทำยังไง

ทั้งนี้ท่านสามารถเข้าไปตรวจสอบสถานะในเว็ปไซต์ของกรมสรรพากรที่ https://rdserver.rd.go.th/ แล้วคลิกที่เมนูบริการ ตรวจสอบสถานะการคืนภาษีและนำส่งเอกสาร ภ.ง.ด.90/91 ได้เลย

เงินคืนภาษีได้เมื่อไหร่

หลังจากคลิกเข้ามาจะพบหน้า "สอบถามข้อมูลการคืนภาษี" เพียงคลิก My Tax Account

คืนเงินภาษี

กรอก เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร หรือ ชื่อผู้ใช้งาน e-filing พร้อม รหัสผ่าน และ เลข Laser ID หลังบัตรประจำตัวประชาชน จากนั้นกด เข้าสู่ระบบ

เช็กขั้นตอนคืนภาษีเมื่อคลิกเข้าสู่ระบบแล้ว จะเจอหน้า ยืนยันตัวตนด้วยรหัส OTP ผ่านเบอร์โทรศัพท์มือถือที่ใช้ปัจจุบัน หากมีเบอร์ใหม่ สามารถเลือกกรอกเบอร์ได้เลย คลิก ขอรหัส OTP

ขอคืนภาษี

จากนั้นจะพบหน้าข้อมูลส่วนตัว ชื่อ ที่อยู่ เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร ข้อมูลภาษี จากนั้นให้คลิกที่ ติดตามสถานะและส่งเอกสาร

คืนภาษี

 เพียงเท่านี้ก็สามารถ ตรวจสอบสถานะการขอคืนภาษี ได้แล้ว 

คืนเงินภาษี

กรณียื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด.90, 91) ขอคืนภาษี และยังไม่ได้รับเงินคืน ติดต่อสอบถามข้อมูลได้ที่ศูนย์สารนิเทศสรรพากร (RD Intelligence Center) โทร. 1161 หรือ งานคืนภาษี สำนักงานสรรพากรพื้นที่ ทั่วประเทศ

สรุป ขั้นตอนตรวจสอบคืนภาษี

  1. เข้าเว็บกรมสรรพากร https://www.rd.go.th/272.html

  2. เลือก "สอบถามการคืนภาษี" (E-Refund)

  3. กรอกเลขประจำตัวผู้เสียภาษี และชื่อ-สกุล

  4. กดสอบถามเพื่อเช็คสถานะ

  5. ดูช่องทางรับเงินคืน

ใครอยากรู้สถานะ ขอคืนภาษี ไปตรวจสอบกันได้เลย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook