ค้าทองคำสุดบูม แต่ช่างทองขาดตลาด

ค้าทองคำสุดบูม แต่ช่างทองขาดตลาด

ค้าทองคำสุดบูม แต่ช่างทองขาดตลาด
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ช่างทองคำรูปพรรณขาดตลาด ท่ามกลาง การค้าทองคำในระบบเทรดปัจจุบันทั้งกองทุน อีทีเอฟทอง สัญญาทองในตลาดล่วงหน้า รวม ทั้งทองคำแท่งสุดคึกคัก ผลสำรวจศูนย์วิจัยทองคำ พบช่างทองมีไม่เพียงพอต่อความต้องการ 4 ปี ลดลงฮวบกว่า 45% เหตุค่าแรงไม่จูงใจ ช่างทองกลับไปทำนามีรายได้ดีกว่า ช่วงรัฐบาลรับประกันราคาพืชผล สมาคมค้าทองคำ

ดร.พิบูลย์ฤทธิ์ วิริยะผล เลขานุการอนุกรรมการส่งเสริมวิชาชีพช่างทำทองรูปพรรณ เปิดเผยว่า จากการที่ศูนย์วิจัยทองคำรวบรวมข้อมูลวิจัยจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ค้าทองคำรายใหญ่ พบว่า 67% ของกลุ่มตัวอย่างเชื่อว่า ช่างทองมีไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้งาน ขณะที่ 22%

เชื่อว่าจำนวนช่างทองมีความพอเพียงต่อความต้องการ มีเพียง 11% ที่ไม่แน่ใจว่าเพียงพอหรือไม่ ทั้งนี้ ผู้ค้ามีความเห็นที่สอดคล้องกันว่า ช่างทำทองคำรูปพรรณที่มีขนาดเล็กมีความขาดแคลนมากที่สุด โดยเฉพาะ ขนาด 1-2 สลึง มากถึง 81.8%

โดยจากผลสำรวจพบว่า ในช่วงกว่า 4 ปีที่ผ่านมาจำนวนช่างทองมีแนวโน้มลดจำนวนลงกว่า 45% ของจำนวนที่มีอยู่เดิม ที่เคยมีการ สำรวจในช่วงก่อนปี 2552 ที่มีจำนวน 2-3 หมื่น คน ซึ่งปัจจัยหลักในการเกิดปัญหามี 3 ประการ ได้แก่ 1.ปัญหาด้านอุปสงค์ในช่วงที่ราคาทองคำปรับตัวขึ้นสูง

โดยระหว่างปี 2553-2555 ราคา ทองคำปรับตัวเพิ่มขึ้นเร็ว ทำให้ความต้องการซื้อทองรูปพรรณลดและหันไปนิยมซื้อทองคำแท่งเพื่อการลงทุนแทน 2.ค่าแรงไม่จูงใจพอ ขณะที่เป็นงานที่ต้องอาศัยการสั่งสมทักษะ 1-2 ปี ซึ่งเป็นปัญหาด้านข้อจำกัดในวิชาชีพอย่างระยะเวลาในการพัฒนา

และได้อัตราค่าแรงเดิม และ 3.ปัญหาด้านการทดแทนของเครื่องจักร โดย 89% ของกลุ่มตัวอย่างคิดว่าประเทศไทยควรจัดให้มีการพัฒนาช่างทองอย่างเป็นระบบ นอกจากจะตอบสนองความต้องการทองคำในประเทศ สร้างอาชีพและแรงงานอาชีพแล้ว

ยังตอบรับความต้องการของประเทศเพื่อนบ้าน อย่าง พม่า ลาว และกัมพูชา ที่นิยมทองรูปพรรณของไทยเพื่อตอบรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่กำลังจะมาถึง

"ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมาจำนวนช่างทองมีแนวโน้มลดจำนวนลงถึง 45% ของจำนวนที่มีอยู่เดิม เพราะมีช่างทองจำนวนมากกลับมาประกอบอาชีพเกษตรกรรม โดยเฉพาะข้าว หลังจากที่รัฐบาลมีโครงการรับประกันราคา ทำให้มีรายได้มากกว่าอาชีพช่างทอง ส่งผลต่อช่างทองคำรูปพรรณที่มีขนาดเล็กมีความขาดแคลน โดยเฉพาะการผลิตทองรูปพรรณ ขนาด 1-2 สลึง ขาดแคลนหนัก"

ขณะนี้ได้จัดตั้งคณะอนุกรรมการส่งเสริม วิชาชีพช่างทำทองรูปพรรณขึ้นมา ปัจจุบันอยู่ในระหว่างการหารือกับภาครัฐบาลและเอกชนในการสนับสนุนพัฒนาช่างทองรูปพรรณเพิ่ม โดยหน่วยงานนี้จะประสานงานเพื่อพัฒนาบุคคลที่จะมาเป็นช่างทอง ซึ่งแบ่งหลักสูตรออกเป็น 3 ช่วง

ได้แก่ หลักสูตรระยะสั้น อาทิ การออกแบบลวดลาย โดยใช้ระยะเวลา 6 เดือน และหลักสูตรขั้นสูง ซึ่งจะสอนการทำทองรูปพรรณที่เป็นระดับมาสเตอร์ หรือการทำทองที่มีเอกลักษณ์ เฉพาะถิ่น อาทิ ทองสุโขทัย เป็นต้น โดยคาดว่า น่าจะเริ่มต้นได้ในช่วงสิ้นปีนี้หรือปีหน้า

"จากปัญหาการขาดแคลนช่างทอง ทางสมาคมค้าทองคำจะประสานกับกระทรวงศึกษาธิการ เปิดหลักสูตรพัฒนาวิชาชีพช่างทองรูปพรรณ เพื่อทำการพัฒนาช่างทองรุ่นใหม่ รวมทั้งพัฒนาเทคโนโลยีในการผลิต ให้ผลิตทองคำรูปพรรณให้มากขึ้น รองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือเออีซี ในปี 2558 โดยสมาคมค้าทองคำจะรุกตลาดเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะ ลาว พม่า และกัมพูชา ที่นิยมทองรูปพรรณของไทย"

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook