รู้ทันความหิว กับเกรลินฮอร์โมน (Ghrelin Hormone)

รู้ทันความหิว กับเกรลินฮอร์โมน (Ghrelin Hormone)

รู้ทันความหิว กับเกรลินฮอร์โมน (Ghrelin Hormone)
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หลายครั้งที่ความหิวทำให้รำคาญใจ ตั้งใจจะลดน้ำหนักเท่าไหร่ แต่ความหิวก็เป็นอุปสรรคเสมอ ความจริงแล้ว ความหิวซึ่งเป็นศัตรูตัวฉกาจของการลดน้ำหนักนี้ เป็นกระบวนการหลั่งฮอร์โมนที่เกิดขึ้นในร่างกายของเรานั่นเอง

ซึ่งฮอร์โมนความหิว หรือชื่อหนึ่งที่เรียกเป็นทางการว่า เกรลินฮอร์โมน (Ghrelin Hormone) โดยถูกหลั่งออกมาจากเซลล์กระเพาะอาหาร เพื่อส่งสัญญาณบอกสมอง ให้สั่งมือไปหาอาหารมาเข้าปาก ซึ่งช่วงเวลาก่อนมื้ออาหาร จะเป็นช่วงที่ระดับของเกรลินขึ้นสูง และเมื่อเรารับประทานอาหารเข้าไป ระดับของเกรลินก็จะค่อยๆ ลดลงไปเรื่อยๆ และจะสูงขึ้นมาอีกครั้งในช่วงเวลาก่อนมื้ออาหารต่อไป

ดังนั้นวิธีการที่จะจัดการกับความหิวที่ได้ผลและมีประสิทธิภาพมากที่สุด คือการควบคุมเกรลินฮอร์โมน ให้ไม่สูงเกินไปและไม่ถูกหลั่งออกมาเร็วเกินไป ซึ่งทำได้ง่ายๆ ได้ดังต่อไปนี้

• เพิ่มโปรตีนดีในมื้ออาหาร ซึ่งการรับประทานอาหารที่มีโปรตีนดีสูง เช่น ไข่ขาว ปลา ถั่ว จะช่วยยับยั้งการหลั่งของเกรลินได้ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทานในมื้อเช้า

• หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง เพราะมื้ออาหารที่มีไขมันสูง จะส่งผลยับยั้งฮอร์โมนหิวหรือเกรลินได้ไม่ดีเท่าอาหารไขมันต่ำ นั่นหมายความว่า ยิ่งรับประทานอาหารมันๆ เท่าไหร่ ก็จะยิ่งหิวง่ายขึ้นเท่านั้น

• อย่านอนดึก การนอนหลับไม่เพียงพอส่งผลกระตุ้นการผลิตของเกรลิน ลองสังเกตดูว่าในวันที่คุณนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ นอกจากจะง่วงเพลียแล้ว ยังมักจะหิว และกินเก่งขึ้นด้วย

• รับประทานมื้อเล็กแต่บ่อยขึ้น การแบ่งอาหารเป็นมื้อที่เล็กลง แต่บ่อยขึ้น เช่น ทุก 3-4 ชั่วโมง จะช่วยกระตุ้นเปปไทด์ YY3-36 ซึ่งจะไปยับยั้งการหลั่งของเกรลินอีกต่อหนึ่ง แถมการทานมื้อเล็กๆ ก็จะช่วยเพิ่มให้ร่างกายได้เผาผลาญพลังงานอย่างต่อเนื่องอีกด้วย

• หาทางจัดการกับความเครียด เช่น ออกกำลังกาย นวด นั่งสมาธิ ฟังเพลง ในเวลาที่คุณมีความเครียดหรือวิตกกังวล เกรลินจะถูกผลิตเพิ่มขึ้น ส่งผลให้คุณหิวง่ายขึ้นในยามเครียดนั่นเอง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook