รู้หรือไม่? เป็นช่างสักที่ญี่ปุ่นต้องมีใบประกอบวิชาชีพแพทย์

รู้หรือไม่? เป็นช่างสักที่ญี่ปุ่นต้องมีใบประกอบวิชาชีพแพทย์

รู้หรือไม่? เป็นช่างสักที่ญี่ปุ่นต้องมีใบประกอบวิชาชีพแพทย์
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ทุกวันนี้การสักเริ่มได้รับการยอมรับในหมู่คนรุ่นใหม่มากขึ้น ไม่ว่าผู้หญิงหรือผู้ชายต่างก็สักด้วยเหตุผลเรื่องความสวยงาม ไม่ใช่เพื่อความขลังหรือแสดงอิทธิพลอย่างแต่ก่อน และมุมมองของผู้คนต่อการสักตามร่างกายก็มีแนวโน้มที่ดีขึ้น ซึ่งนำไปสู่อนาคตของอาชีพช่างสักที่สดใสขึ้นเช่นกัน แต่ดูเหมือนว่าที่ญี่ปุ่นจะแตกต่างออกไป…

ที่ญี่ปุ่น “การสัก” จัดว่าเป็นการปฏิบัติทางการแพทย์มาตั้งแต่ปี 2001 ด้วยเหตุผลที่ต้องมีการลงเข็มบนผิวหนัง ดังนั้นการเป็นช่างสักที่ถูกต้องตามกฎหมายญี่ปุ่นจึงจำเป็นต้องมีใบประกอบวิชาชีพแพทย์ ต่างจากประเทศอื่นที่มีใบประกอบวิชาชีพของช่างสักโดยเฉพาะ ทำให้มีช่างสักญี่ปุ่นจำนวนไม่น้อยที่ทำงานอย่างผิดกฎหมาย เพราะแน่นอนว่าคงมีช่างสักไม่กี่คนที่จบหมอมาก่อน ซึ่งนายไทกิ มาสุดะ คือหนึ่งในช่างสักจำนวนมากที่ไม่มีใบรับประกอบวิชาชีพแพทย์และถูกจับเมื่อปี 2015

นายไทกิ มาสุดะ เป็นช่างสักชาวญี่ปุ่นจากโอซาก้าที่เคยถูกปรับเป็นจำนวนเงิน 3 แสนเยน ข้อหาเปิดร้านสักโดยไม่มีใบประกอบวิชาชีพแพทย์ ศาลในเขตโอซาก้าตัดสินให้นายมาสุดะมีความผิด แต่ได้ลดค่าปรับลงกึ่งหนึ่งเหลือ 150,000 เยน โดยทนายของนายมาสุดะบอกว่าศาลได้ข่มขู่ช่างสักมากกว่า 3,000 คนทั่วประเทศ และว่าจะอุทธรณ์ไปยังศาลชั้นสูงด้วย จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้นายมาสุดะและกลุ่มผู้สนับสนุนต้องการเรียกร้องให้รัฐบาลทำใบประกอบอาชีพช่างสัก เพื่อกำหนดมาตรฐานให้อาชีพช่างสักเหมือนกับในประเทศอื่น ๆ และเพื่อไม่ให้การสักกลายเป็นอาชีพใต้ดินที่อยู่นอกกฎหมายไป แต่ความพยายามของเขาก็ยังไม่เป็นผล

 

อย่างที่รู้กันดีว่าที่ญี่ปุ่นเมื่อพูดถึงรอยสักมักจะโยงไปถึงยากูซ่าหรือภาพลักษณ์ของอาชญากรเสมอ และแม้ว่าทุกวันนี้คนญี่ปุ่นรุ่นใหม่จะเริ่มสักมากขึ้น แต่ทัศนคติที่คนญี่ปุ่นส่วนใหญ่มีต่อการสักก็ยังไม่ค่อยเปลี่ยนไปจากแต่ก่อนเท่าไหร่

ยกตัวอย่างจากแบบสำรวจด้านล่างนี้ เมื่อลองสอบถามชายหญิงญี่ปุ่นเกี่ยวกับการใช้โรงอาบน้ำหรือออนเซนสาธารณะร่วมกับคนที่มีรอยสัก (ตอบได้มากกกว่าหนึ่งคำตอบ) ผลออกมาดังนี้

 

ผู้หญิงกว่า 1 ใน 3 และผู้ชายเกือบ 2 ใน 3 ไม่ต้องการแชร์โรงอาบน้ำหรือออนเซนกับคนที่มีรอยสัก และมีผู้หญิงเพียง 24% และผู้ชายแค่ 12% ที่ยอมต่อเมื่อมีการปกปิดรอยสักด้วยเทปหรือพลาสเตอร์

ปัจจุบันแม้ว่าจะมีโรงอาบน้ำหรือออนเซนบางแห่งที่อนุญาตให้ผู้ที่มีรอยสักใช้บริการได้ หรือให้ใช้ได้หากมีการปกปิดรอยสักด้วยเทปหรือพลาสเตอร์ก่อน แต่ว่าส่วนใหญ่แล้วยังคงไม่อนุญาตอยู่ดี และนอกจากออนเซนแล้วยังมีสถานที่อื่นอย่างเช่นฟิตเนสที่ไม่ต้อนรับผู้ที่มีรอยสักด้วย นักท่องเที่ยวที่มีรอยสักก็ต้องระวังในจุดนี้ให้ดี

ก็ต้องดูกันต่อไปว่าอนาคตของช่างสักญี่ปุ่นและมุมมองของคนญี่ปุ่นที่มีต่อการสักจะมีโอกาสเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นหรือไม่ แต่ดูจากรูปการณ์แล้วคงจะยังต้องใช้เวลาอีกพักใหญ่ทีเดียว

ที่มา: en.rocketnews24

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook