พิกัดศักดิ์สิทธิ์ 3 สถานที่ไหว้พระพิฆเนศ ในกรุงเทพ

พิกัดศักดิ์สิทธิ์ 3 สถานที่ไหว้พระพิฆเนศ ในกรุงเทพ

พิกัดศักดิ์สิทธิ์ 3 สถานที่ไหว้พระพิฆเนศ ในกรุงเทพ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

วันสำคัญตามคติความเชื่อเรื่องพระพิฆเนศ (พระพิฆเนศวร์) เทพฮินดูที่คนไทยศรัทธา เช่น วันคเณศชยันตี หรือวันคล้ายวันประสูติแห่งองค์พระคเณศ ซึ่งปีนี้ตรงวันที่ 25 มกราคม 2566 รวมไปถึง วันคเณศจตุรถี หรือวันเฉลิมฉลองแด่องค์พระคเณศที่เสด็จมายังโลกมนุษย์ (ในช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน) สำหรับเหล่าลูกพระคเณศหรือผู้ที่มีความศรัทธาต่อองค์พระพิฆเนศ ต่างจัดเตรียมเครื่องไหว้สักการะเป็นพิเศษเพื่อประกอบพิธีกรรมต่อรูปเคารพที่ตั้งไว้ตามบ้านเรือนของตน

แต่หากท่านใดตั้งใจเดินทางไปยังเทวสถานที่ประดิษฐานองค์พระพิฆเนศเพื่อการนี้โดยเฉพาะ Sanook Horoscope ขอแนะนำพิกัดศักดิ์สิทธิ์ในกรุงเทพที่ผู้ศรัทธาสามารถเดินทางไปได้ด้วยตนเอง ...ไม่เฉพาะแค่ในวันสำคัญ แต่ไปได้ในทุกวันที่ท่านตั้งใจสักการะหรืออธิษฐานขอพร (ชื่อ พระพิฆเนศ เขียนแตกต่างตามที่ระบุไว้ในสถานที่นั้น ๆ)

 เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ thailandtourismdirectory.go.thเทวสถานโบสถ์พราหมณ์

เทวสถานพระมหาวิฆเณศวร์

โบสถ์พราหมณ์ พระนคร

ตั้งอยู่ในเทวสถานสำหรับพระนคร หรือที่คนทั่วไปเรียกกันว่า “โบสถ์พราหมณ์” (ด้วยเป็นเทวสถานที่มีพราหมณ์เป็นผู้ดูแลและพระราชพิธีสำคัญสำหรับพระนคร) เป็นสถานที่ปฏิบัติบูชาตามประเพณีพระนครโบราณ สร้างในสมัยรัชกาลที่ 1 ภายในประกอบด้วย เทวสถานพระอิศวร เทวสถานพระมหาวิฆเณศวร และเทวสถานพระนารายณ์  ทางเทวาสถานแนะนำให้การเข้าสักการะเริ่มจากการสักการะพระพิฆเนศวรก่อนเป็นลำดับแรก เพราะพระคเณศนับเป็นองค์ประธานของหมู่เทพ ซึ่งเทพทุกองค์ให้พรไว้ว่า หากผู้ใดไม่ได้นมัสการพระพิฆเนศวร์ก่อนเทพองค์อื่นๆ ก็จะไม่รับฟังคำอธิษฐานของผู้นั้น

เทวสถานพระมหาวิฆเณศวร์ เป็นโบสถ์หลังกลาง ภายในมีเทวรูปพระพิฆเนศวรห้าองค์ ทั้งหมดทำด้วยหิน คือ หินเกรนิต 1 องค์ หินทราย 1 องค์ หินเขียว 2 องค์ และสำริด 1 องค์ เนื่องจากเป็นสถานที่สำคัญราชพิธี จึงขอให้สักการะภายในเทวสถาน เป็นไปตามข้อกำหนด ดังนี้

  • ห้ามจุดธูป และเทียนภายในอาคาร
  • ห้ามบันทึกภาพ และวิดีโอภายในโบสถ์ทั้งสาม
  • ห้ามเข้าทรง
  • ห้ามใช้โทรศัพท์
  • ห้ามสวมหมวก
  • ห้ามสวมรองเท้า
  • ห้ามรับประทานอาหาร และเครื่องดื่ม 

สถานที่ : เทวสถานสำหรับพระนคร (โบสถ์พราหมณ์)

เวลาทำการ : 09.30-15.30 น.

ที่ตั้ง : เลขที่ 268 ถนนดินสอ แขวงสำราญราษฎร์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

แผนที่ : https://goo.gl/maps/iK4SjapuZokri9U37

เวปไซต์ : devasthanbangkok

 

ศาลพระพิฆเนศ ถนนรัชดาภิเษก สี่แยกห้วยขวางศาลพระพิฆเนศ ถนนรัชดาภิเษก สี่แยกห้วยขวาง 

ศาลพระพิฆเนศ ห้วยขวาง

ถนนรัชดาภิเษก สี่แยกห้วยขวาง

พระพิฆเนศวร์ปางยืนประทานพร บริเวณหัวมุมสี่แยกห้วยขวาง บนถนนรัชดาภิเษก หนึ่งในเทวสถานที่เคารพศรัทธาของทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติที่หลั่งไหลมากราบไหว้ขอพรจำนวนมาก เล่าขานกันมานักต่อนักว่าขอพรสิ่งใดมักได้ดั่งใจหวัง ในวันสำคัญตามคติความเชื่อผู้คนจะหนาแน่นเป็นพิเศษ นิยมชุดไหว้ตามที่มีการจัดเตรียมเช่าซื้อกันโดยรอบ  เดินทางสะดวกด้วย MRT สถานีห้วยขวาง (ทางออกที่ 4)

เคล็ดการขอพรคือ การกระซิบบอกสิ่งที่ปรารถนาที่ข้างหู “หนูมุสิกะ”หรือหนูบริวารที่ฐานเทวรูปพระพิฆเนศ โดยปิดหูไว้อีกข้างหนึ่ง ด้วยเชื่อเป็นการพึ่งพาบริวารของพระองค์ให้เป็นสื่อกลางในการส่งสารหรือคำขอถึงพระองค์เพื่อความสำเร็จ 

สถานที่: ศาลพระพิฆเนศ สี่แยกห้วยขวาง

เวลาทำการ : 24 ชั่วโมง (นิยมไหว้พระพิฆเนศวร์ วันอังคาร และวันพฤหัส)

ที่ตั้ง : สี่แยกห้วยขวาง ถนนรัชดาภิเษก เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ

แผนที่ : https://goo.gl/maps/QxUj25Wsnk3WvMiu8

เว็บไซต์ : เทวาลัยพระพิฆเนศ-สี่แยกรัชดา

ศาลพระพิฆเนศวร เซ็นทรัลเวิลด์ศาลพระพิฆเนศวร เซ็นทรัลเวิลด์

ศาลพระพิฆเนศวร

ถนนปทุมวัน เซ็นทรัลเวิลด์

ศาลพระพิฆเนศวร บริเวณศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ นับเป็น 1 ใน 8 สิ่งศักดิ์สิทธิ์แห่งแยกราชประสงค์ ที่เลื่องลือเรื่องขอความสำเร็จ และความราบรื่นในทุกเรื่องของชีวิต ก่อนตั้งศาลแห่งนี้ ที่นี่มีประวัติยาวนาน แต่เดิมเป็นที่ตั้งของ พระราชวังปทุมวัน และ วังเพ็ชรบูรณ์ ซึ่งเป็นที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์ในรัชกาลที่ 5  มีประวัติความสูญเสียครั้งใหญ่มาหลายต่อหลายครั้ง จึงมีการัดพิธีกรรมทางพราหณ์เพื่อแก้เคล็ด เช่นเดียวกันบริวณ์ด้านหน้า ห้างเซ็นทรัลเวิลด์ที่ประดิษฐาน2 องค์เทพศักดิ์สิทธิ์ หนึ่งคือองค์พระตรีมูรติ อีกองค์คือพระพิฆเนศ กระทั่งเป็นที่เคารพสักการะของทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศมาถึงปัจจุบัน  

สถานที่ : ศาลพระพิฆเนศวร เซ็นทรัลเวิลด์

เวลาทำการ :  24 ชั่วโมง

ที่ตั้ง : บริเวณเซ็นทรัลเวิลด์ ฝั่งอิเซตัน (เดิม) ถนนพระรามที่ 1 เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร

แผนที่ : https://goo.gl/maps/fnT1E68XVQFqiXQF9

 

อ่านเพิ่มเติม

 

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook