ดูแลตัวเองให้ห่างไกล "มะเร็งปากมดลูก"

ดูแลตัวเองให้ห่างไกล "มะเร็งปากมดลูก"

ดูแลตัวเองให้ห่างไกล "มะเร็งปากมดลูก"
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

มะเร็งปากมดลูกเป็นโรคร้ายที่ไม่ใช่เรื่องไกลตัวของผู้หญิง เพราะเป็นโรคที่พบเป็นอันดับต้นๆ ของโรคมะเร็งในสตรี แต่ผู้หญิงส่วนใหญ่หลายคนก็ยังละเลยที่จะเรียนรู้ และป้องกันโรคร้ายนี้ โดยเฉพาะผู้หญิงวัยสาวที่อาจมองว่าโรคนี้ไม่เกิดขึ้นในวัยเราหรอก หรือคนที่คิดว่าไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ หรือไม่ใช่คนเปลี่ยนคู่นอนบ่อยไม่มีทางเป็นโรคนี้ ขอบอกว่าคุณคิดผิด

มะเร็งปากมดลูกเกิดขึ้นได้อย่างไร

มะเร็งปากมดลูกเกิดจากการติดเชื้อ HPV ที่เซลล์บริเวณปากมดลูก ซึ่งจะเริ่มเกิดการอักเสบขึ้น แต่ผู้หญิงร้อยละ 60 ที่ติดเชื้อและมีอาการอักเสบนี้ ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายจะสามารถรักษาอาการให้หายได้เองในระยะเวลา 2-4 ปี แต่ก็มีผู้หญิงอีกร้อยละ 15 ที่เกิดความผิดปกติของเซลล์ไปสู่ขั้นที่รุนแรงมากขึ้น และเมื่อมาถึงจุดนี้ ผู้หญิงร้อยละ 30-70 จะมีความผิดปกติของเซลล์รุนแรงมากขึ้นอีกหากไม่ได้รับการตรวจและรักษาให้หายขาด เพราะเชื้อ HPV จะเข้าไปทําให้กลไกควบคุมการเจริญเติบโตของเซลล์เสียไป ขั้นตอนนี้จะใช้ระยะเวลาประมาณ 10 ปี และเข้าสู่การเป็นมะเร็งปากมดลูก

 

ใครๆ ก็สามารถติดเชื้อ HPV ได้

ผู้หญิงหลายคนมักคิดว่าตนเองคงไม่ติดเชื้อ HPV เพราะคิดว่าการติดเชื้อ HPV จะเกิดขึ้นกับผู้หญิงที่มีคู่นอนหลายคน หรือมีสุขภาพไม่แข็งแรงเท่านั้น แต่ความจริงแล้ว เชื้อ HPV สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน และการติดเชื้อ HPV มักไม่แสดงอาการในช่วงแรกเริ่ม และใช้ระยะเวลายาวนานเป็นสิบปีในการค่อยๆ กลายเป็นมะเร็งปากมดลูก

 

คนที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ HPV คือ

-    คนที่มีคู่นอนติดเชื้อนี้มาก่อน

-    คนที่มีคู่นอนหลายคน

-    คนที่มีคู่นอนและคู่นอนมีเพศสัมพันธ์กับคนอื่นมากกว่า 1 คน

-    คนที่มีระบบภูมิต้านทานในร่างกายอ่อนแอ (เช่น ในช่วงตั้งครรภ์  หรือคนที่มีเชื้อ HIV หรือเอดส์)

-    คนที่มีเพศสัมพันธ์แบบผัวเดียวเมียเดียว แต่คู่ติดเชื้อมาจากการมีเพศสัมพันธ์กับคนอื่นมาก่อน

 

ปัจจัยอื่นๆ ที่ส่งผลต่อการเกิดมะเร็งปากมดลูก

การจะเป็นมะเร็งปากมดลูกหรือไม่นั้น นอกจากการติดเชื้อ HPV บางชนิดแล้ว ยังต้องผนวกกับปัจจัยอื่นๆ ได้แก่

-    สูบบุหรี่เป็นประจํา

-    ทานอาหารให้โทษกับร่างกายและอาหารที่มีสารเคมีประกอบ

-    ทานยาคุมกําาเนิดมาเป็นเวลานานติดต่อกันกว่า 5 ปี

-    มีลูกคนแรกตอนอายุน้อยมาก

-    มีลูกหลายคน

-    ติดเชื้อ HIV หรือเอดส์ ซึ่งมีผลทําให้ภูมิคุ้มกันในร่างกายอ่อนแอ

-   ฝ่ายชายมีพฤติกรรมทางเพศที่มีคู่นอนหลายคน ทําให้มีโอกาสนําเชื้อ HPV มาติดฝ่ายหญิงได้มากขึ้น

-    แม่ พี่สาว หรือน้องสาวเคยเป็นมะเร็งปากมดลูกเพราะเชื้อ HPV เกิดขึ้นในระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ ดังนั้นผู้ที่มีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกตั้งแต่อายุยังน้อยก็จะมีช่วงเวลาที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ HPV ยาวนานกว่า รวมถึงคนที่เปลี่ยนคู่นอนบ่อยก็จะมีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อ HPV มากกว่าคนผัวเดียวเมียเดียว

 

พฤติกรรมที่ช่วยให้ห่างไกลมะเร็งปากมดลูก

นอกเหนือจากการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่เหมาะสมจะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปากมดลูก พฤติกรรมการกินและการใช้ชีวิตก็มีผลต่อโรคมะเร็งเช่นกัน

-    ทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงอาหารมันและสารเคมีปนเปื้อน

-    ไม่สูบบุหรี่ เคี้ยวยาเส้น ดื่มแอลกอฮอล์หรือเครื่องดื่มมึนเมา

-    ปกป้องตัวเราจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ทุกชนิด

-    หาความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติของโรคมะเร็ง เพราะการที่เซลล์ในร่างกายจะเปลี่ยนแปลงผิดปกติจนกลายเป็นเนื้อร้ายหรือมะเร็งนั้น เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างช้าๆ ใช้เวลานานนับปีกว่าอาการของโรคจะรุนแรงขึ้นเป็นลําดับจนถึงขั้นสุดท้ายที่รักษาไม่ได้

หากเราดูแลหมั่นสังเกตตัวเองแต่เนิ่นๆ เราก็จะมีโอกาสค้นพบและกําจัดความผิดปกตินี้ได้ก่อนที่เชื้อจะเติบโตเป็นเนื้อร้ายและกระจายไปทั่วร่างกายของเรา

 

เราควรตรวจมะเร็งปากมดลูกบ่อยแค่ไหน

ผู้หญิงที่เคยมีเพศสัมพันธ์มาแล้ว ควรรับการตรวจภายในทุกคนทุก 1-2 ปี และตรวจคัดกรองเพื่อหามะเร็งในระยะเริ่มแรก และระยะก่อนเป็นมะเร็งอย่างน้อยทุกๆ 3 ปี สําหรับผู้ที่ไม่สะดวกไปรับบริการก็ควรตรวจอย่างน้อยทุกๆ 5 ปี หากผลตรวจปกติ 2-3 ครั้ง ก็สามารถเว้นระยะห่างออกไปได้

สําหรับผู้หญิงที่มีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด ควรมาพบแพทย์ตรวจ แม้จะหมดประจําเดือนไปแล้วหรือไม่มีเพศสัมพันธ์มานานแล้วก็ตาม

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook