8 สัญญาณอันตราย “มะเร็งตับ”

8 สัญญาณอาการ “มะเร็งตับ” ที่เราต้องสังเกตตัวเอง

8 สัญญาณอาการ “มะเร็งตับ” ที่เราต้องสังเกตตัวเอง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ในเมืองไทยพบผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากโรคมะเร็งตับมากถึง 14,000 คนต่อปี  มีอัตราการเป็นมะเร็งตับต่อ 100,000 ประชากรเป็นอันดับที่ 8 ของโลก ที่แย่ไปกว่านั้น ผู้ป่วยมะเร็งตับยังมีโอกาสรอดจากมะเร็งตับนั้นมีเพียง 13% เท่านั้น นั่นหมายความว่าผู้ป่วยมะเร็งตับมีโอกาสที่จะเสียชีวิตมากถึง 87% เลยทีเดียว ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกว่ามะเร็งตับเป็นสาเหตุการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งเป็นอันดับ 1

มะเร็งตับ มีสาเหตุมาจากอะไร?

  • ส่วนใหญ่แล้วสาเหตุของมะเร็งตับ มาจากพฤติกรรมในการใช้ชีวิต การดื่มกินอาหารของเราเองนี่แหละ ไม่ว่าจะเป็น
  • ดื่มแอลกอฮอล์จัด
  • ทานอาหารสุกๆ ดิบๆ ที่เสี่ยงต่อพยาธิใบไม้ตับ
  • ทานอาหารที่อาจมีส่วนประกอบของดินประสิว เช่น ปลาร้า ปลาส้ม แหนม ไส้กรอก กุนเชียง เนื้อเค็ม
  • ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบี และซี โดยเฉพาะผู้ที่เป็นโรคนี้แล้วไม่ยอมไปรับการรักษา จนปล่อยให้ตับติดเชื้อเรื้อรัง ตับอักเสบเป็นเวลานานๆ
  • รับสารพิษ “อะฟลาทอกซิน” เป็นเวลานาน (พบได้ในถั่วที่เก็บรักษาไม่ดี และอาหารแห้งอื่นๆ)
  • รับสารเคมีบางชนิดเป็นเวลานาน เช่น การรับฮอร์โมนเพศชายเป็นเวลานาน
  • เป็นผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 หรือเป็นผู้ที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน/เป็นโรคอ้วน

สัญญาณอาการอันตรายของโรคมะเร็งตับ

สาเหตุที่โรคมะเร็งตับอันตราย และน่ากลัวกว่าที่เราคิด เพราะระยะแรกๆ จะยังไม่แสดงอาการอะไรเลย จนกระทั่งเริ่มมีอาการมากๆ ซึ่งสามารถสังเกตตัวเองได้ ดังนี้

  1. ปวดท้องบริเวณท้องขวาส่วนบน

  2. ท้องบวมขึ้น

  3. น้ำหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ

  4. เบื่ออาหาร

  5. อ่อนเพลีย

  6. มีไข้โดยไม่ทราบสาเหตุ

  7. คลำพบก้อนที่บริเวณตับ (ท้องขวาส่วนบน)

  8. ตัว และตาเหลือง

ปัจจัยใดที่ช่วยเสริมให้เกิด 'มะเร็งตับ' ?

ปัจจัยเสริมที่เป็นสาเหตุให้เกิดโรคมะเร็งตับนั้นก็มีอยู่หลายอย่างด้วยกัน โดยเบื้องต้นจะมาจากภาวะตับแข็งด้วยสาเหตุต่างๆ มีปัจจัยที่พบได้บ่อย คือ การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ซี และภาวะตับแข็งจากการดื่มสุรา นอกจากนั้นาภาวะตับแข็งก็ยังอาจเกิดการที่ไขมันไปเกาะตับ , ภาวะที่มีโลหะสะสมอยู่ในตับ อาทิ ทองแดง เหล็ก , ภาวะที่ภูมิคุ้มกันต่อต้านตับของตนเอง , การรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนสารอะฟลาทอกซินจากเชื้อราที่พบในอาหารแห้ง เช่น ถั่วลิสง หรือพริกแห้งป่น , ภาวะโรคเบาหวานและการได้รับสารกำจัดศัตรูพืชเข้าสู่ร่างกาย โดยปัจจัยเหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุที่เสริมให้เกิดมะเร็งตับได้ง่ายขึ้น

ใครที่ต้องเข้ารับการตรวจคัดกรอง 'มะเร็งตับ' ?

ถึงแม้เราจะยังไม่ทราบว่าตัวเราเองนั้นเป็นมะเร็งตับในระยะเริ่มต้นหรือไม่ แต่การเข้ารับการตรวจคัดกรองก็เพื่อให้ผู้ที่พบว่าป่วยเป็นมะเร็งตับได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีเสียตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อช่วยเพิ่มโอกาสที่จะหายจากโรคนี้และลดอัตราการเสียชีวิตให้ได้มากที่สุด ซึ่งบุคคลที่สมควรเข้ารับการตรวจคัดกรองมีดังนี้

  1. ผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีชนิดเรื้อรัง หรือมีญาติทางสายเลือดตรงป่วยเป็นมะเร็งตับ
  2. ผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบชนิดซีเรื้อรังและได้มีการตรวจพบพยาธิสภาพอของเนื้อตับว่ามีพังผืดอยู่มาก
  3. ผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบี เป็นเพศชายที่มีอายุมากกว่า 40 ปี และเพศหญิงที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป
  4. ผู้ป่วยทุกรายที่มีอาการตับแข็ง โดยที่การเกิดมะเร็งนั้นจะไม่ได้ขึ้นอยู่กับสาเหตุหลักของการเกิดภาวะที่ทำให้ตับแข็ง

มะเร็งตับ มีวิธีรักษาอย่างไรบ้าง

การรักษาโรคมะเร็งตับ สามารถเลือกวิธีที่เหมาะสมกับสภาวะความรุนแรงของโรค  ขนาดและลักษณะของเซลล์มะเร็ง สุขภาพของผู้ป่วย และอื่นๆ

วิธีรักษาได้แก่ ผ่าตัด ฉายรังสี เคมีบำบัด และการผ่าตัดปลูกถ่ายตับ (ขนาดก้อนในตับต้องน้อยกว่า 5 เซนติเมตร และผู้ป่วยอายุน้อยกว่า 70 ปี)

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook