ข้อควรระวัง ก่อนกิน “ยาแก้แพ้”

ข้อควรระวัง ก่อนกิน “ยาแก้แพ้”

ข้อควรระวัง ก่อนกิน “ยาแก้แพ้”
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

คัดจมูก น้ำมูกไหลเมื่อไร หลายคนเลือกที่จะหันไปใช้บริการ “ยาแก้แพ้” เพื่อลดอาการดังกล่าว แต่หลายคนก็ยังไม่ทราบถึงอันตรายที่แฝงมากับยาแก้แพ้เม็ดเล็กจิ๋วเหล่านี้ หากใช้อย่างไม่ถูกวิธี แถมยาแก้แพ้ก็ยังมีหลายชนิดให้เลือกบริโภค ดังนั้นมาทำความรู้จักยาแก้แพ้กันให้มากขึ้นกันเถอะ

ยาแก้แพ้ แก้อะไรบ้าง?

ยาแก้แพ้ ช่วยรักษาอาการแพ้หลายประเภท ตั้งแต่อาการแพ้อากาศเล็กๆ น้อยๆ อย่าง คัดจมูก น้ำมูกไหล ไปจนถึงรักษาเยื่อจมูกอักเสบจากอาการภูมิแพ้ อาการแพ้จากอาหาร และสิ่งแวดล้อมต่างๆ จนมีอาการผื่นแดง คันตามผิวหนัง ไอ จาม ปากบวม หน้าบวม อาการเมารถ เมาเรือ และอื่นๆ

ยาแก้แพ้ มีกี่ประเภท

ยาแก้แพ้ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ แบบที่ทานแล้วง่วง และแบบที่ทานแล้วไม่ง่วง

  1. ยาแก้แพ้ชนิดที่ทำให้ง่วง (ยาแก้แพ้รุ่นเดิม)

ใช้รักษาอาการเยื่อจมูกอักเสบเนื่องจากภูมิแพ้ ที่มีอาการคัน จาม น้ำมูกไหล ผื่นลมพิษ ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง อาการคันผื่นขึ้นเนื่องจากแมลงกัดต่อย สัมผัสพืชพิษ หรือสัมผัสสารเคมีบางอย่าง นอกจากนี้ยังสามารถบรรเทาอาการเมารถ เมาเรือได้

ตัวอย่างชื่อยาแก้แพ้ที่ทานแล้วง่วง : คลอเฟนิรามิน ไดเฟนไฮดรามีน ไดเมนไฮตริเนต ไฮดรอกไซซีน ทริโปรลิดีน บรอมเฟนิรามีน คีโตติเฟน ออกซาโทไมด์ ฯลฯ

ถึงแม้ว่าจะทานแล้วง่วง แต่ยาแก้แพ้รุ่นเดิมแบบนี้ จะสามารถรักษาอาการเมารถ เมาเรือได้ดีกว่า ออกฤทธิ์ได้เร็วกว่าแบบที่ทานแล้วไม่ง่วง แต่ก็หมดฤทธิ์เร็วกว่าด้วยเช่นกัน

ที่ยาแก้แพ้ชนิดนี้ทำให้ง่วง เพราะยาสามารถดูดซึมผ่านสมองได้มากกว่านั่นเอง

ข้อควรระวังในการทานยาแก้แพ้ชนิดที่ทำให้ง่วง

- ไม่ควรใช้ยาติดต่อกันนาน ๆ

- ไม่ควรใช้ในผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับการควบคุมเครื่องจักร ขับรถ

- ห้ามใช้ร่วมกับยากล่อมประสาท ยานอนหลับ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

- ระวังการใช้ในเด็กเล็ก โดยเฉพาะที่อายุต่ำกว่า 6 ขวบ เพราะอาจทำให้เกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

- หญิงมีครรภ์ที่ต้องการใช้ยาควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้ง

- ไม่ควรซื้อยามารับประทานเองควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งก่อนใช้

  1. ยาแก้แพ้ชนิดที่ไม่ทำให้ง่วง (ยาแก้แพ้รุ่นใหม่)

ยากลุ่มนี้สามารถใช้รักษาอาการต่างๆ ได้คล้ายกับยากลุ่มดั้งเดิม ให้ผลดีกว่าในการลดผื่นลมพิษแบบเฉียบพลัน และลดอาการคันได้เร็วกว่ายาอื่นในกลุ่มเดียวกัน แต่อาจให้ผลบรรเทาอาการน้ำมูกไหล อาการเมารถ เมาเรือได้ไม่ดีเท่ากลุ่มดั้งเดิม

ตัวอย่างชื่อยาแก้แพ้ที่ทานแล้วง่วง : เซทิริซีน เลโวเซทิริซีน เฟโซเฟนาดีน ลอราทาดีน

ยาแก้แพ้ชนิดใหม่ ที่ทานแล้วไม่ง่วง แม้ว่าประสิทธิภาพในการแก้อาการเมารถ เมาเรือจะด้อยกว่ายาแก้แพ้รุ่นเก่า แต่ก็สามารถรักษาผื่นแดง ผื่นลมพิษบางชนิด และแก้อาการคันผิวหนังได้ดีกว่า และถึงแม้ว่าจะออกฤทธิ์ช้ากว่าแบบที่ทานแล้วง่วง แต่ก็ออกฤทธิ์ได้ยาวนานกว่า

อย่างไรก็ตาม เมื่อเกิดอาการแพ้ สิ่งที่สำคัญที่ต้องทำเป็นอันดับแรก คือสังเกตว่าสิ่งใดที่ทำให้แพ้ และหลีกเลี่ยงเมื่อต้องเจอตัวการที่ทำให้แพ้ เลือกใช้ยาแก้แพ้อย่างถูกต้อง หมั่นออกกำลังกาย กินอาหารที่มีประโยชน์ พักผ่อนให้เพียงพอ และถ้าต้องการจะใช้ยาเพื่อที่ต้องการจะให้นอนหลับนั้น แต่ในทางที่ถูกต้องนั้น ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเมื่อต้องการใช้ยาจะเป็นการดีที่สุดค่ะ

อ่านต่อ >> กินยาแก้แพ้ แทนยานอนหลับ เสี่ยงผลข้างเคียงไม่รู้ตัว

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook