สารพิษที่เพิ่มอัตราการเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็ง ตอนที่ 2

สารพิษที่เพิ่มอัตราการเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็ง ตอนที่ 2

สารพิษที่เพิ่มอัตราการเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็ง  ตอนที่ 2
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

รศ.พญ.ปรียานุช แย้มวงศ์
ภาควิชาอายุรศาสตร์
Faculty of Medicine Siriraj Hospital
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

เมื่อเร็วๆ นี้พบว่า ภรรยาที่มีสามีสูบบุหรี่มักจะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งหลายชนิดได้ง่าย แสดงว่าผู้ที่หายใจควันบุหรี่โดยมิได้สูบเองก็มีอันตรายและโอกาสเป็นมะเร็งได้ สารอาหารที่ลดอัตราเสี่ยงการเกิดมะเร็ง มีฤทธิ์ตรงข้ามกับสองพวกแรก จึงมีการเรียกสารตรงข้ามพวกนี้ว่า "สารต่อต้านการก่อมะเร็ง" (anticarcinogens) ซึ่งพบว่ามีในธรรมชาติหลายชนิด 
  
1. กากใยอาหาร (dietary fiber) ป้องกันการเกิดมะเร็งทางเดินอาหาร โดยเฉพาะลำไส้ใหญ่ กากใยอาหาร มีบทบาทต่อการลดการเกิดมะเร็งในลำไส้ ดังนี้ 

ใยอาหารมีคุณสมบัติสามารถอุ้มน้ำ (hydrations) ไว้ในตัวเองได้ดีมาก ดังนั้น เมื่อใยอาหารเคลื่อนไปสู่ลำไส้ใหญ่แล้ว ย่อมมีผลทำให้อุจาระอ่อนตัว จึงเป็นการช่วยให้การขับถ่ายของเสียออกนอกร่างกายง่ายขึ้น 

ใยอาหารมีผลในการเพิ่มน้ำหนักของอุจจาระ (Fecal weight) แต่ไปเจือจางองค์ประกอบต่างๆ ในลำไส้ใหญ่ (colonic contents) ซึ่งเชื่อว่าผลเช่นนี้สามารถไปกระตุ้นประสาทของลำไส้ใหญ่ ทำให้การขับถ่ายของเสียออกนอกร่างกายได้มากขึ้น หรืออาจกล่าวได้ว่ากลไกที่เป็นการย่นระยะเวลาการไหลของกากอาหารต่างๆ ภายในลำไส้ใหญ่สั้นลงนั่นเอง 

ใยอาหารมีคุณสมบัติอีกประการหนึ่ง คือ สามารถดูดซึมสารอินทรีย์ (adsorption of organic substances) บางชนิดได้ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สารอินทรีย์ที่อยู่ในลำไส้ใหญ่ ได้แก่ bile acid, bile salt รวมทั้งสารอินทรีย์หลายชนิดที่มีฤทธิ์ก่อมะเร็ง เช่น dimethydrazine, methyazoxymethanol, azoxymethan และ methylnitrosouria เป็นต้น 

ใยอาหารบางชนิด โดยเฉพาะ Non-cellutic polysacharide เมื่ออยู่ในลำไส้สามารถทำปฏิกิริยาหนัก (fermentation)โดยผลจาก bacteria บางชนิด แล้วทำให้ได้ผลิตผลเป็นสารพวกกรดไขมันอิสระชนิดสารสั้น (Short-Chain Free Fatty acid)ได้แก่ acetic acid, propionic acid และ butyric acid เป็นต้น Fatty acid เหล่านี้ ทำให้ภาวะความเป็นกรดด่าง (pH) ในลำไส้ลดต่ำลง เรียกว่าเป็น acidle pH ซึ่งเป็นภาวะที่ไม่เอื้ออำนวยให้เซลล์ของลำไส้ใหญ่กลายเป็นเซลล์มะเร็งได้โดยง่าย เพราะจากการศึกษาพบว่าภาวะความเป็นกรด-ด่างที่สูง หรือ Alkaline pH เท่านั้นที่จะถือว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญในการกระตุ้นหรือส่งเสริมให้เกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่

จากการศึกษาพบว่าหากจำกัดหรือควบคุมระดับของพลังงานในร่างกายให้พอเหมาะแล้ว ย่อมเป็นหนทางหนึ่งที่ช่วยลดระยะเวลาในการไหลผ่านของกากอาหารภายในลำไส้ใหญ่ และช่วยเพิ่มการขับถ่ายออกนอกร่างกาย ทำให้เพิ่มการสูญเสียพลังงานโดยการขับถ่ายอุจจาระ 
  
2. วิตามินเอ รวมทั้งเบต้าแคโรทีน และคาโรทีนอยด์ ควบคุมการ differentiated ของ special epithelial cell ส่วนใหญ่ ได้แก่ mucous secreting columnar epithelium ใน gland และ mucous surface ถ้าขาดวิตามินเอ จะทำให้เซลล์เหล่านี้ถูกแทนที่ด้วย non secreting lecratinized squamous epithelium ที่พบเห็นได้ เช่นใน mucous membrane ของตา, mucoga ของrespiratory, gastrointestinal และ genitourinary tract เรียกภาวะนี้ว่า "Squamous metaplasia" ซึ่งเป็นผลทำให้ลดความต้านทานต่อการติดเชื้อ และการบุกทำลายของสารพิษ และสารก่อมะเร็งทั้งหลาย นอกจากนี้ วิตามินเอยังเป็นสารเอนตี้ออกซิเดนท์ (antioxidant) และมีคุณสมบัติไปจับกับ single oxygen (ส่งเสริมภูมิคุ้มกันของ BCG ในการต่อต้านมะเร็งให้ดียิ่งขึ้น) 
  
3. วิตามินอี หรืออัลฟาโทโคเฟอรอล (alpha tocopherol) เป็นสารแอนตี้ออกซิแดนท์ ธรรมชาติที่สำคัญที่สุดของร่างกาย มีบทบาทในการทำลายสารพวกฟรีแรดิกัล (Free radicals) ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เซลล์ตาย เซลล์เสื่อมสภาพ เซลล์กลายพันธุ์ และการเกิดมะเร็ง โมเลกุลของวิตามินอีละลายฝังอยู่ในชั้นฟอสโพไลปิดของเยื่อหุ้มเซลล์ จึงป้องกันขบวนการออกซิเดชั่นของไลปิดบนเยื่อเป็นอย่างดี 
  
4. วิตามินซี มีผลต่อการป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง ดังนี้ 

ช่วยลดอัตราเสี่ยงจากการเกิดมะเร็ง โดยวิตามินซีจะทำปฏิกิริยากับอนุมูลอิสระ superoxide และ hydroxyl เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปฏิกิริยาลูกโซ่ ซึ่งมาจากการสลายตัวของไขมันไม่อิ่มตัว (polyansatersated fatty acid) และยังทำปฏิกิริยาโดยอ้อมในการป้องกันการสลายตัวของไขมันในเยื่อหุ้มเซลล์ โดยช่วยในการสังเคราะห์วิตามินอีที่ติดกับผนังเซลล์ขึ้นมาใหม่ เป็นการป้องกันการทำลายเนื้อเยื่อบุเซลล์ 

ช่วยป้องกันการเกิดมะเร็ง โดยวิตามินซีจะช่วยในการทำลายเป็นพันธะของสารก่อมะเร็งโดยตรง ป้องกันขบวนการเกิดเซลล์มะเร็ง เนื่องจากคุณสมบัติที่เป็นแอนตี้ออกซิเดนท์ โดยจับกับอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้น บทบาทสำคัญ คือ มีฤทธิ์ยับยั้งปฏิกิริยาระหว่างไนไตร์ท และอะมินทุติยะภูมิ มีผลให้เกิดไนโตรซามีน ซึ่งเป็นสารทำให้เกิดโรคมะเร็งได้นั้นเป็นไปได้น้อยลง และวิตามินซี ยังช่วยกระตุ้นให้มีภูมิต้านทานทาน โดยเพิ่มประสิทธิภาพของ Lymphocytes นอกจากนี้ วิตามินซี ยังมีส่วนช่วยเสริมสร้างความแข็งแรง หรือ crosslinks ให้แก่โมเลกุล collagen ของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน จึงสามารถช่วยกระตุ้นให้เนื้อเยื่อมีการสร้าง capsule (encapsulation) ล้อมรอบเซลล์มะเร็งที่เกิดขึ้นในรูปของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน จึงป้องกันการขยายตัวของเซลล์มะเร็ง ถ้าโชคดีมะเร็งขนาดเล็กอาจถูกล้อมจนไม่สามารถแบ่งตัวจนกลายเป็น cyst ไป 
  
5. สารธรรมชาติอื่นๆ มีรายงานจากการวิจัย พบว่ามีสารยับยั้งการเกิดมะเร็ง เช่น 

อัลลิซิน (allicin) และสารพวกซัลไฟต์ (sulfides) ในน้ำมันที่สกัดจากหัวหอมและกระเทียม 

แทนนิน (tannin) เช่น อิปีแกลโลแครทตินแกลเลท (epigallocatechingallate) จากใบชา โปลีฟีนอล (polyphenols)จากผักผลไม้รสฝาด 

อินโคล-3-คาร์ฟินอล (indole-3-carbinol) และอินโคล-3-อะซิโตไนไตรท์ (indole-3-acetonitrile) ซึ่งมาจากสารกลูโคบราสลิซิน (glucobrassicin) ในกะหล่ำปลีรอคโคลีและผักใบอื่นๆ 

น้ำมันจากผลส้ม (citrus fruit oils) สามารถลดฤทธิ์ของ benzo (a) pyrene และ 9,12-dimethylbenz (a) anthracene ที่ทำให้เกิดมะเร็งในหนูได้ 

สารคาวีบอลปาล์มปิเตท (kahwcol palmitate) และคาเฟสตอลปาล์มปิเตท (cufestal palmitate) ในเมล็ดกาแฟดิบ ยับยั้งการเกิดมะเร็งเต้านมในหนูได้ 

สารฟลาโลนอยด์ (flavonoids) ในพืชหลายชนิด กระตุ้นการทำงานของเซลล์เพชรฆาต (natural killer cells) ให้ทำลายเซลล์มะเร็งได้ดียิ่งขึ้น

 

ข้อบัญญัติ ประการ ดังต่อไปนี้ 

1. รับประทานอาหารที่มีกากใยให้มากพอเป็นประจำ เช่น ผัก ผลไม้ ข้าวกล้อง และธัญพืชต่างๆ ที่ไม่ขัดสีจนขาว 

2. รับประทานอาหารที่มีผักสีเขียวเข็ม หรือผลไม้สีเหลือง-แดงบ่อยๆ เพราะว่ามันมีวิตามินเอและซีสูง 

3. พยายามรับประทานผักประเภทกะหล่ำปลี บรอคโคลี ผักกาดขาว ยอดผักกะหล่ำดอก เพราะว่ามี indole-3carbinol มาก และยับยั้งพืชของสารก่อมะเร็ง PHA ได้ 

4. หลีกเลี่ยงอาหารที่เค็มจัด หมักดอง ย่างไฟ รมควัน หรือมีเกลือไนเตรทและไนไตรท์ 

5. ลดอาหารจำพวกไขมันทุกประเภท (การหลีกเลี่ยงอาหารประเภทผัด ทอด และเจียวด้วย) 

6. อย่าให้อ้วนมากเกินไป (รับประทานอาหารพอสมควร ออกกำลังกายเป็นประจำ) 

7. ลดหรืองดสูบบุหรี่ อาหารและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

 

 

ขอบคุณเนื้อหาจาก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
ภาพประกอบจาก unsplash.com

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook