"หัวใจและหลอดเลือด" กับการรักษาด้วยวิธี "ฉีดสีสวนหัวใจ"

"หัวใจและหลอดเลือด" กับการรักษาด้วยวิธี "ฉีดสีสวนหัวใจ"

"หัวใจและหลอดเลือด" กับการรักษาด้วยวิธี "ฉีดสีสวนหัวใจ"
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคร้ายที่ไม่แสดงอาการชัดเจน เกิดได้จากการเกาะตัวของไขมันที่ผนังหลอดเลือด ที่ทำให้หลอดเลือดแดงตีบแคบลง ส่งผลต่อการลำเลียงออกซิเจน ต้นเหตุของภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย แต่โรคนี้สามารถรักษาได้ด้วย “การสวนหัวใจ” เพื่อตรวจสอบและขยายหลอดเลือด

การสวนหัวใจคืออะไร

นายแพทย์ ทัศนัย จันโหนง แพทย์ผู้ชำนาญการด้านอายุรศาสตร์โรคหัวใจ ศูนย์หัวใจ ชั้น 2 โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล ระบุว่า การสวนหัวใจคือการทำหัตถการ ตรวจและรักษาโรคหัวใจด้วยการใส่สายสวนขนาดประมาณ 1-2 มิลลิเมตร เข้าทางหลอดเลือดแดงและฉีดสารทึบรังสีเพื่อตรวจสอบการทำงานของหัวใจ ว่าเกิดการอุดตันหรือตีบตันหรือไม่ จากนั้นจะทำการรักษาด้วย วิธี “ฉีดสีสวนหัวใจ” ซึ่งสามารถทำได้ทำทั้งข้อมือ ข้อพับแขน และขาหนีบ

การสวนหัวใจบริเวณขาหนีบ ไม่จำเป็นต้องใช้ยาสลบ และไม่ต้องเย็บแผลหลังทำหัตถการ โดยผู้ที่เข้ารับการรักษาจะใช้เวลาพักด้วยการนอนราบประมาณ 6-10 ชั่วโมง

การสวนหัวใจบริเวณบริเวณข้อมือหรือข้อพับ สามารถเคลื่อนไหวได้ทันทีหลังทำหัตถการเสร็จแล้ว โดยจะใช้เวลาพักฟื้นเพียง 4-8 ชั่วโมงเท่านั้น

ใครบ้างที่ควรทำการสวนหัวใจ

  • ผู้ที่มีความเสี่ยงภาวะเส้นเลือดหัวใจตีบ เช่น เป็นความดันโลหิตสูง เป็นโรคเบาหวาน
  • ผู้ที่มีอาการเจ็บหรือแน่นหน้าอก ปวดร้าวบริเวณหัวไหล่และแขน
  • เหนื่อยง่าย หัวใจเต้นผิดจังหวะ
  • ผู้ที่กำลังจะได้รับการผ่าตัดหัวใจ

การเตรียมตัวก่อนเข้าสวนหัวใจ

  • แจ้งโรคประจำตัว รวมถึงประวัติการแพ้ยาและแพ้อาหาร
  • กรณีมีประจำเดือน ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบ
  • งดน้ำงดอาหาร 4 ชั่วโมงก่อนเข้าทำหัตถการ
  • รับประทานยาประจำตัวได้ปกติ ยกเว้น ยาเบาหวาน และยาขับปัสสาวะ

การพักฟื้นหลังทำการสวนหัวใจ

  • นอนราบประมาณ 6 – 8 ชั่วโมง หลังทำการตรวจสวนหัวใจ
  • ดื่มน้ำเยอะๆ เพื่อขับสารทึบรังสี
  • หากแผลที่ทำหัตถการมีเลือดไหล ปวด บวม แดง ให้รีบพบแพทย์ทันที
  • งดออกกำลังกายหรือใช้แรงประมาณ 2 สัปดาห์แรก

การสวนหัวใจจะดันไขมันที่อุดตันหลอดเลือด ช่วยให้เลือดสามารถไหลผ่านในจุดที่เคยตีบตันได้สะดวกมากยิ่งขึ้น ผู้ป่วยจะหายใจได้เต็มที่ ไม่เจ็บหน้าอก และลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจากหลอดเลือดหัวใจอุดตันได้ แต่โรคหลอดเลือดตีบเป็นโรคที่ไม่แสดงอาการชัดเจนนัก ดังนั้น หากมีอาการเจ็บหน้าอก หรือปวดร้าวลงไปช่วงแขน แนะนำเข้าพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อพิจารณาอาการที่เกิดขึ้นทันที

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook