6 ลักษณะของผู้ป่วยโรค “ใคร่เด็ก” ที่ควรสังเกต อย่าให้ใกล้ชิดกับบุตรหลาน
คำที่ถูกค้นบ่อย
    Sanook//s.isanook.com/sr/0/images/logo-new-sanook.png60060
    //s.isanook.com/he/0/ud/6/33589/pedophilia.jpg6 ลักษณะของผู้ป่วยโรค “ใคร่เด็ก” ที่ควรสังเกต อย่าให้ใกล้ชิดกับบุตรหลาน

    6 ลักษณะของผู้ป่วยโรค “ใคร่เด็ก” ที่ควรสังเกต อย่าให้ใกล้ชิดกับบุตรหลาน

    2022-04-16T20:48:00+07:00
    แชร์เรื่องนี้

    ดูให้ออก “รักเด็ก” หรือ “ใครเด็ก” พฤติกรรมผิดปกติทางจิตที่ควรระวัง

    โรคใคร่เด็ก คืออะไร

    โรคใคร่เด็ก (Pedophilia) เป็นอาการทางจิตที่ผิดปกติ ที่แสดงออกว่าชอบ หรือรักเด็ก แต่เป็น “ความรักที่เกินขอบเขต” รักแบบคลั่งไคล้ ต้องการให้เด็กเป็นของตัวเอง จนนำไปสู่การนำเด็กมาเป็นเหยื่อบำบัดความใคร่ทางเพศ

    เด็กที่มีความเสี่ยงตกเป็นเหยื่อของผู้ป่วยโรคใคร่เด็ก

    เด็กก่อนวัยเริ่มเจริญพันธุ์ไม่ถึง 13 ปี ได้แก่

    • เด็กทารก
    • เด็กอนุบาล
    • เด็กประถม

    6 ลักษณะ “ผู้ป่วยโรคใคร่เด็ก”

    1. ส่วนมากเป็นผู้ชาย อายุ 35-40 ปี ขึ้นไป
    2. ไม่ค่อยมีความสุขกับคู่ครองวัยเดียวกัน
    3. เกิดความรู้สึก หรือมีจินตนาการทางเพศกับเด็กเท่านั้น
    4. พยายามเข้าใกล้เด็กด้วยวิธีการตีสนิท หลอกล่อ ให้รางวัล ให้ขนม ให้เงิน เพื่อให้เด็กเชื่อใจ หรือเพื่อตีสนิท
    5. ส่วนใหญ่เกิดจากคนในครอบครัว หรือคนใกล้ชิด เช่น เพื่อนบ้าน หรือญาติ
    6. ชอบมีความสัมพันธ์ทางเพศซ้ำแล้วซ้ำอีกกับเด็ก ทั้งคนเดิมหรือกับเด็กคนใหม่

    รูปแบบการกระทำทางเพศกับเด็ก

    ไม่มีการสัมผัสร่างกาย

    • แอบดูเด็กอาบน้ำ
    • พูดจาลวนลาม
    • เปลือยกาย หรือให้เด็กดูอวัยวะเพศ
    • ดูภาพ หรือคลิปลามก เพื่อกระตุ้นอารมณ์ทางเพศ

    สัมผัสร่างกาย แต่ไม่ได้ล่วงล้ำเข้าไปในอวัยวะเพศ

    • กอดจูบ ลูกคลำอวัยวะเพศเด็ก
    • ให้เด็กจับอวัยวะเพศ เพื่อสำเร็จความใคร่

    ล่วงละเมิดทางเพศ

    • บังคับ หรือข่มขู่ให้เด็กเก็บเป็นความลับ
    • กระทำชำเราซ้ำๆ
    • ทำร้ายร่างกาย หรือฆ่า

    โทษทางกฎหมายของผู้ป่วยโรคใคร่เด็ก

    ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีการกำหนดโทษ และลงโทษโดยคำนึงถึงความผิดปกติทางจิตของผู้ป่วยโรคใคร่เด็ก และอาจไม่เข้าข่ายเป็นผู้ป่วยทางจิตเวช ผู้ทำความผิดจึงมีความผิด และรับโทษตามประมวลกฎหมายอาญา

    อย่างไรก็ตาม หากผู้ป่วยโรคใคร่เด็กกระทำความผิดบางอย่าง สามารถรับโทษตามการกระทำนั้นๆ ได้ เช่น 

    • ครอบครองสื่อลามกอนาจารเด็ก จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
    • ส่งต่อสื่อลามกอนาจารเด็ก จำคุกไม่เกิน 7 ปี หรือปรับไม่เกิน 140,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
    • เผยแพร่สื่อลามกอนาจารเด็ก จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
    • กระทำอนาจารเด็กอายุไม่เกิน 13 ปี ไม่ว่าเด็กจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม จำคุก 1-10 ปี หรือปรับ 10,000-200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
    • กระทำอนาจารเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี ไม่ว่าเด็กจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับ 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
    • กระทำชำเราเด็กอายุไม่เกิน 13 ปี ไม่ว่าเด็กจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม จำคุก 7-20 ปี หรือปรับ 140,000-400,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
    • กระทำชำเราเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี ไม่ว่าเด็กจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม จำคุก 5-20 ปี หรือปรับ 100,000-400,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

    หากพบผู้ป่วยโรคใคร่เด็ก หรือต้องสงสัยว่าจะป่วยเป็นโรคใคร่เด็ก สามารถติดต่อได้ที่ มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก โทร. 024121196 หรือศูนย์ช่วยเหลือสังคม โทร. 1300

    ขอขอบคุณ

    ข้อมูล :สำนักงานกิจการยุติธรรม

    ภาพ :iStock