ไขข้อสงสัย ขวดน้ำดื่มพลาสติก ตากแดดในรถ-แช่แข็ง อันตรายหรือไม่

ไขข้อสงสัย ขวดน้ำดื่มพลาสติก ตากแดดในรถ-แช่แข็ง อันตรายหรือไม่

ไขข้อสงสัย ขวดน้ำดื่มพลาสติก ตากแดดในรถ-แช่แข็ง อันตรายหรือไม่
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

จริงหรือไม่ที่ว่า น้ำในขวดพลาสติกที่ตากแดดอยู่ในรถ หรือแช่ในช่องเย็น อันตรายต่อสุขภาพ มาหาคำตอบกัน

ทำไมถึงบอกว่าขวดพลาสติกใส่น้ำ อันตราย

สารที่พูดถึงว่าอาจก่ออันตรายในร่างกายมนุษย์ คือสารที่มีชื่อว่า ไดออกซิน เป็นสารพิษที่เกิดจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ของสารเคมีจำพวกอโรมาติกที่มีคลอไรด์เป็นองค์ประกอบเท่านั้น ซึ่งเป็นการเผาไหม้ที่อุณหภูมิประมาณ 200-300 องศาเซลเซียส ซึ่งถ้าเผาที่อุณหภูมิสูงหรือน้อยกว่านั้น ก็จะไม่เกิดสารพิษชนิดนี้ และสารพิษชนิดนี้ไม่มีที่ใช้ในอุตสาหกรรมใดๆ ในปัจจุบัน ดังนั้นการเกิดสารพิษชนิดนี้จึงไม่ได้เกิดจากการปนเปื้อนในกระบวนการผลิตจากอุตสาหกรรมใดๆ

ตัวอย่างการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ที่มักจะเกิดขึ้น เช่น เหตุการณ์ไฟไหม้บ้าน เนื่องจากภายในบ้านมีสายไฟที่ทำจากพลาสติกประเภท PVC ที่มีสารอโรมาติกส์คลอไรท์เป็นองค์ประกอบอาจทำให้เกิดสารไดออกซิน (Dioxins) หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ทำจากพลาสติกไม่ติดไฟอย่าง โทรทัศน์หรือโทรศัพท์ หากเกิดการเผาไหม้ก็สามารถเกิดสารพิษชนิดนี้ได้ โดยอันตรายสำหรับสารพิษชนิดนี้คือ เป็นสารก่อมะเร็ง

ขวดน้ำดื่มพลาสติก ตากแดดในรถ-แช่แข็ง อันตรายหรือไม่

อย่างไรก็ตาม ขวดพลาสติกที่บรรจุน้ำดื่มอย่างขวด PET ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในเมืองไทย ไม่ได้มีส่วนผสมของไดออกซิน การนำขวดพลาสติกบรรจุน้ำดื่มไปแช่แข็งในตู้เย็น ก็ไม่ได้ทำให้สารไดออกซินหรือสารอันตรายใดๆ ละลายออกมาจากขวด หรือน้ำแข็งไม่ได้ดูดเอาสารไดออกซินออกมาจากขวดพลาสติกอย่างที่บางคนเข้าใจผิดกัน รวมถึง FDA องค์การอาหารและยา สหรัฐอเมริกา ได้ออกแถลงการณ์ปฏิเสธข้อกล่าวอ้างต่างๆ ว่าจะมีสารเคมีจากพลาสติกแพร่ออกมาสู่อาหารให้เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค และบอกว่าไม่มีหลักฐานว่าขวดพลาสติกหรือภาชนะพลาสติกต่างๆ จะมีสารไดออกซิน

นอกจากนี้ ขวดน้ำดื่มพลาสติกที่ตากแดดทิ้งไว้ในรถยนต์ ก็ไม่ได้มีสารพิษไดออกซิน (Dioxins) สาร Bisphenol A (BPA) หรือสาร PCB (Polychlorinated biphenyl) ในขวดน้ำที่ถูกทิ้งไว้ในรถอุณหภูมิสูงแต่อย่างใด โดยมีการยืนยันจากนักวิชาการหลายคน จากสถาบันพลาสติก และจากการทดสอบวิเคราะห์จากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เมื่อปี พ.ศ. 2557 อธิบดีกรมวิทย์ฯ (ในขณะนั้น) สรุปไว้ว่า "ไม่เคยมีรายงานการตรวจพบไดออกซินในพลาสติก และสารเคมีต่าง ๆ ที่มีการกล่าวอ้างว่าละลายออกมาจากขวดพลาสติกทั้งในสภาวะอุณหภูมิสูงหรือสภาวะการแช่แข็ง ซึ่งไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนว่าเกิดขึ้นได้"

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook