"ลำไส้กลืนกัน" โรคอันตรายของลูกน้อย สุขภาพดีก็เป็นได้

"ลำไส้กลืนกัน" โรคอันตรายของลูกน้อย สุขภาพดีก็เป็นได้

"ลำไส้กลืนกัน" โรคอันตรายของลูกน้อย สุขภาพดีก็เป็นได้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

รศ.นพ. รวิศ เรืองตระกูล
ภาควิชาศัลยศาสตร์
Faculty of Medicine Siriraj Hospital
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

โรคลำไส้กลืนกันเป็นภาวะที่ลำไส้ส่วนหนึ่งเคลื่อนตัวเข้าไปในลำไส้ส่วนที่อยู่ปลายกว่า พบได้บ่อยในเด็กที่มีช่วงอายุระหว่าง 4-12 เดือน และมักเกิดขึ้นในเด็กที่สมบูรณ์แข็งแรงดี ในปัจจุบันไม่พบสาเหตุที่แน่นอนที่ทำให้เกิดโรคนี้ 

ผู้ป่วยที่เป็นโรคลำไส้กลืนกันจะมีอาการโดยเฉียบพลัน โดยเริ่มจากอาการปวดเกร็ง ร้องไห้งอแงกระสับกระส่าย อันเนื่องมาจากการปวดท้อง นอกจากนั้นก็มีอาการอาเจียนร่วมด้วย ซึ่งในตอนแรกจะเป็นนมหรืออาหารที่ทานเข้าไป ไม่นานนักอาการปวดท้องก็จะสงบลง ผู้ป่วยมักจะกลับมาอยู่ในสภาพปกติอยู่ชั่วขณะ จนกระทั่งมีอาการปวดท้องขึ้นมาอีกพร้อมกับอาการอาเจียน ซึ่งในระยะหลังจะมีสีน้ำดีปนเนื่องจากมีการอุดตันของลำไส้ อาการปวดท้องจะเกิดขึ้นเป็นพักๆ  เมื่อลำไส้กลืนกันมากขึ้นก็จะเริ่มมีการขาดเลือด ทำให้ผู้ป่วยถ่ายอุจจาระเป็นเลือด ซึ่งมักมีลักษณะเป็นเลือดสีคล้ำปนออกมากับมูก ในระยะหลังผู้ป่วยมักจะมีไข้และมีอาการซึมลง
 
การตรวจร่างกายอาจคลำพบก้อนซึ่งมีลักษณะคล้ายไส้กรอกภายในช่องท้อง การวินิจฉัยโรคลำไส้กลืนกันสามารถกระทำได้โดย วิธี กล่าวคือ การทำอัลตราซาวน์ (ultrasound) ซึ่งสามารถตรวจพบก้อนลำไส้กลืนกัน และการตรวจด้วยการสวนลำไส้ใหญ่ด้วยสารทึบรังสี (barium enema) ซึ่งนอกจากจะให้การวินิจฉัยโรคนี้ได้อย่างแน่นอนแล้ว ก็ยังมีประโยชน์ในการรักษาโรคลำไส้กลืนกันด้วย

โรคลำไส้กลืนกันนี้เป็นโรคที่พบได้ค่อนข้างบ่อย และเป็นโรคที่อันตรายถึงแก่ชีวิต เนื่องจากเมื่อลำไส้กลืนกันอยู่นานๆ ก็จะเกิดลำไส้ขาดเลือด จนกระทั่งมีการเน่าตายของลำไส้ได้ ฉะนั้นผู้ป่วยโรคนี้จำเป็นจะต้องได้รับการวินิจฉัยและรักษาอย่างเร่งด่วน



การรักษาโรคลำไส้กลืนกันมี วิธี 


วิธีแรก คือ การดันลำไส้ส่วนที่เคลื่อนตัวเข้าไป ให้ออกมาจากลำไส้ส่วนที่กลืนกันอยู่โดยการใช้แรงดันผ่านทางทวารหนัก ซึ่งอาจจะใช้การสวนลำไส้ใหญ่ด้วยสารทึบรังสี barium หรือใช้ก๊าซเป็นตัวดัน ถ้ากระบวนการสวนลำไส้ใหญ่สามารถดันลำไส้ที่กลืนกันออกได้สำเร็จ ก็ไม่จำเป็นจะต้องผ่าตัด ผู้ป่วยส่วนใหญ่สามารถรับประทานอาหารได้ภายใน 1-2 วันหลังจากการสวนลำไส้ใหญ่และสามารถกลับบ้านได้ภายใน 2-3 วัน โดยไม่มีอาการของลำไส้กลืนกันอีก แต่ในกรณีที่ลำไส้มีการกลืนกันเป็นระยะเวลานานจนกระทั่งเกิดการเน่าตาย หรือในกรณีที่การสวนลำไส้ใหญ่ไม่อาจจะดันลำไส้ที่กลืนกันออกได้ ก็จำเป็นจะต้องได้รับรักษาด้วย


วิธีการที่สอง ซึ่งก็คือการผ่าตัด ในการผ่าตัดนั้น ศัลยแพทย์สามารถใช้มือบีบดันให้ลำไส้ส่วนที่กลืนกันคลายตัวออกจากกัน มีเพียงผู้ป่วยส่วนน้อยที่มีการเน่าตายหรือมีการแตกทะลุของลำไส้แล้ว ซึ่งในกรณีเช่นนี้จำเป็นจะต้องตัดลำไส้ส่วนที่เน่าตายออกและทำการต่อลำไส้ส่วนที่ดีเข้าหากัน


โรคลำไส้กลืนกันนี้แม้ว่าจะเป็นโรคที่ร้ายแรงและเฉียบพลัน แต่ผลของการรักษาโรคนี้ดีมาก ปัญหาที่พบได้บ่อยก็คือ บิดา มารดา หรือผู้เลี้ยงดูเด็ก ไม่ทราบว่าผู้ป่วยเป็นโรคนี้ เมื่อเห็นว่าเด็กมีอาการปวดท้อง อาเจียน มีไข้ ก็นึกไปว่าเป็นโรคลำไส้ใหญ่อักเสบติดเชื้อหรือเป็นโรคบิดและได้ไปซื้อยามารับประทานกันเอง จนกระทั่งลำไส้เริ่มมีการขาดเลือดจนถ่ายอุจจาระเป็นเลือดปนมูกถึงจะพาผู้ป่วยมาให้แพทย์ตรวจ ทำให้ได้รับการรักษาที่ช้าเกินไป ดังนั้นเมื่อใดที่ผู้ป่วยเด็กมีอาการดังที่กล่าวมาข้างต้น ก็ควรรีบพาผู้ป่วยมาพบแพทย์เสียแต่เนิ่นๆ เพื่อจะได้ทำการวินิจฉัยและรักษาต่อไป

 

ขอบคุณเนื้อหาจาก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
ภาพประกอบจาก gettyimages (ภาพประกอบไม่เกี่ยวกับเนื้อหา)

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook